ปริญญาเอก (Ph.D.)

หลักสูตรปริญญาเอก สำหรับนักบริหาร ผู้ประกอบการ ผู้ปฏิบัติงานในสายงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม การมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษาที่มีภาวะผู้นำ พัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัย และให้บริการวิชาการ ด้านการบริหารการพัฒนา เพื่อให้บุคลากรของประเทศมีศักยภาพเพียงพอในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน จึงได้พัฒนาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม ภายใต้การดูแลของคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ในการผลิตบุคลากรด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อรองรับการขยายตัวของปัญหาสิ่งแวดล้อมและรองรับความต้องการบุคลากรที่เน้นความเชี่ยวชาญทางด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่กำลังเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยโดยรวมต่อไป

รายละเอียดหลักสูตร

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม

(ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม))

ปร.ด. (การจัดการสิ่งแวดล้อม)

Ph.D. (Environmental Management)

ปรัชญาหลักสูตร
มุ่งผลิตบัณฑิตและสร้างองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกระดับ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
  • ผลิตบัณฑิตด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประยุกต์การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบาย วางแผน และแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตลอดจนพัฒนาบุคคลและสังคมในระดับหน่วยงาน ระดับชุมชน ระดับท้องถิ่น ระดับพื้นที่ ระดับประเทศ และระดับสากล
  • สร้างบัณฑิตระดับปริญญาเอกที่มีความรู้และคุณธรรมและมีประสบการณ์การทำงานในด้านการวิจัย การวิเคราะห์นโยบาย วางแผน และการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรต่าง ๆ ในระดับภูมิภาค ในระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น
  • สร้างสมรรถนะด้านการวิจัยแก่บัณฑิตให้เป็นผู้นำทางวิชาการที่สามารถสร้างและพัฒนาต่อยอด องค์ความรู้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ของภูมิภาค ประเทศ ท้องถิ่น ชุมชน และองค์กร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ด้วยการผลิตบัณฑิตด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีศักยภาพในการวิเคราะห์และสังเคราะห์สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนามาตรฐานสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต และการพัฒนาที่ยั่งยืน มีวิสัยทัศน์ในการวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังจบการศึกษา
  • ราชการ/พนักงานราชการ อาทิ นักวิชาการ/นักบริหารด้านสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานส่วนกลาง อาทิ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงพลังงาน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น หน่วยงานส่วนภูมิภาค อาทิ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด สำนักงานพลังงานจังหวัด และหน่วยงานส่วนท้องถิ่น อาทิ องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาลทุกระดับ
  • สถาบันการศึกษา นักวิชาการ/อาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้บริหาร/ครูอาจารย์ในสถานศึกษา นักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม
  • รัฐวิสาหกิจ อาทิ นักวิจัยและนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม และผู้ดูแลมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม
  • องค์การมหาชน อาทิ นักวิจัยและนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม และผู้ดูแลมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม
  • บริษัทเอกชนและโรงงานอุตสาหกรรม อาทิ ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ผู้จัดการสิ่งแวดล้อม ผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อม
  • สถาบันการศึกษาเอกชน นักวิชาการ/อาจารย์มหาวิทยาลัย นักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม
  • ธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม ธุรกิจส่วนตัว ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ การรับกำจัดของเสียอันตราย การรับซื้อของเก่า การรับขนและกำจัดขยะ การประกอบกิจการโรงไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล/พลังงานแสงอาทิตย์
  • นักวิชาการอิสระภาคประชาชนและบุคลากรขององค์กรอิสระที่ไม่หวังผลกำไร อาทิ เอ็นจีโอ (องค์กรเอกชนเพื่อสาธารณประโยชน์)
ประมาณการค่าใช้จ่ายหลักสูตร

351,000 - 513,000 บาท

*ทั้งนี้อาจมีการปรับเปลี่ยนภายหลัง กรุณาดูรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกาศการรับสมัคร

รายละเอียดหลักสูตร

คุณสมบัติของผู้สมัคร

  • ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าทุกสาขาจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับรองมาตรฐานการศึกษาจากหน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแล หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์อนุมัติให้เข้าเป็นนักศึกษา
  • ผู้สมัครต้องมีผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์ในฐานระดับนานาชาติ ISI/Scimago หรือระดับชาติ TCI กลุ่ม 1 (ไม่รวมวิทยานิพนธ์ของผู้สมัครที่จบมา) หรือมีประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ต่ำกว่า 5 ปี (เฉพาะแบบ 1(1.1) แบบทำวิทยานิพนธ์)
  • ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าทุกสาขาจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับรองมาตรฐานการศึกษาจากหน่วยงานของรัฐที่กำกับดูแล หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์อนุมัติให้เข้าเป็นนักศึกษา โดยมีผลการเรียนดีมากและได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 หรือมีคะแนนเฉลี่ยสะสม 3.50 ขึ้นไป จากการคิดคะแนนระบบ 4.00 ระดับคะแนน (เฉพาะแบบ 2(2.2) แบบเรียนระดับปริญญาโทและปริญญาเอก)
  • ผู้สมัครจะต้องยื่นผลคะแนน TOEFL ITP ที่จัดสอบโดยศูนย์พัฒนาและบริการด้านภาษาและการสื่อสาร คณะภาษาและการสื่อสาร หรือ TOEFL แบบ Internet-based (iBT) หรือ IELTS ซึ่งมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันเปิดภาคแรกที่ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา เพื่อประกอบการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษา หากผู้ผ่านการคัดเลือกได้ผลการสอบ TOEFL แบบ Internet-based (iBT) ตั้งแต่ 79 ขึ้นไป หรือได้ผลการสอบ TOEFL ITP ที่จัดสอบโดยศูนย์พัฒนาและบริการด้านภาษาและการสื่อสาร คณะภาษาและการสื่อสาร ตั้งแต่ 550 ขึ้นไป หรือได้ผลการสอบ IELTS ตั้งแต่ระดับ 6.5 ขึ้นไป จะได้รับยกเว้นการลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา สำหรับผู้ที่มีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้น จะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดในหลักสูตรของคณะภาษาและการสื่อสาร ทั้งนี้ ผลการสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันเปิดภาคการศึกษาแรกที่ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา
  • ทั้งนี้ นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากสถาบันได้ต่อเมื่อได้ผลการสอบ TOEFL แบบ Internet-based (iBT) ตั้งแต่ 60 ขึ้นไป หรือได้ผลการสอบ TOEFL ITP ที่จัดสอบโดยศูนย์พัฒนาและบริการด้านภาษาและการสื่อสาร คณะภาษาและการสื่อสาร ตั้งแต่ 500 ขึ้นไป หรือได้ผลการสอบ IELTS ตั้งแต่ระดับ 6.0 ขึ้นไป หรือผลคะแนน NIDA EPT (English Proficiency Test) ตั้งแต่ 550 ขึ้นไป หรือผ่านการอบรมหลักสูตร Intensive English I และ II ได้ผลคะแนนตั้งแต่ 65 คะแนนขึ้นไป ทั้งนี้ผลคะแนนสอบทุกชนิดต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันยื่นผลคะแนน

ประกาศการรับสมัคร

ทุนการศึกษา

    - ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 1

    ทุนยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษาให้ผู้รับทุนทั้งหมดตลอดหลักสูตร และสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนตัว จะต้องมีผลการศึกษา ระดับปริญญาโท ไม่ต่ำกว่า 3.50 และ ระดับปริญญาตรี ไม่ต่ำกว่า 3.00

    - ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 2

    ทุนยกเว้นค่าหน่วยกิตให้ผู้รับทุนตลอดหลักสูตร จะต้องมีผลการศึกษา ระดับปริญญาโท ไม่ต่ำกว่า 3.25 และ ระดับปริญญาตรี ไม่ต่ำกว่า 2.75

    - ทุนส่งเสริมการศึกษาประเภทที่ 3

    ทุนยกเว้นค่าหน่วยกิตกึ่งหนึ่งให้ผู้รับทุนตลอดหลักสูตร จะต้องมีผลการศึกษา ระดับปริญญาโท ไม่ต่ำกว่า 3.25 และ ระดับปริญญาตรี ไม่ต่ำกว่า 2.50