สาขาวิชาศาสตร์และการจัดการความยั่งยืน

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาศาสตร์และการจัดการความยั่งยืน

หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564

Master of Science Program in Sustainability Science and Management

 

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ศาสตร์และการจัดการความยั่งยืน)

Master of Science (Sustainability Science and Management)

วท.ม. (ศาสตร์และการจัดการความยั่งยืน)

M.S. (Sustainability Science and Management

 

ปรัชญา

          มุ่งสร้างบุคลากรในหลายสาขาวิชาให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์และการจัดการความยั่งยืน และสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมเกี่ยวกับการจัดการความยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อนองค์การให้เติบโตอย่างยั่งยืน ท่ามกลางความท้าทายของระบบนิเวศสังคมที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  

 

วัตถุประสงค์

หลักสูตรมีวัตถุประสงค์เพื่อการผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณสมบัติ ดังนี้

  • มีความรู้และความเข้าใจในศาสตร์และการจัดการความยั่งยืน
  • มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้และเครื่องมือวิเคราะห์และการจัดการความยั่งยืนในระดับองค์การ โดยเน้นองค์การธุรกิจ แต่สามารถประยุกต์ใช้ได้ในองค์การภาครัฐและองค์การไม่แสวงหากำไรด้วย
  • มีภาวะผู้นำและสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงขององค์การไปสู่ทิศทางความยั่งยืน

 

ระบบการจัดการศึกษา

เป็นการศึกษาแบบหน่วยกิตตามระบบทวิภาค โดยปีการศึกษาหนึ่ง ๆ แบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ คือ ภาคการศึกษาที่ 1 และภาคการศึกษาที่ 2 และอาจมีภาคการศึกษาที่ 3 (ภาคฤดูร้อน) ก็ได้ การศึกษาในภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ส่วนการศึกษาภาคฤดูร้อนมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์ แต่มีชั่วโมงการเรียนการสอนของแต่ละวิชาเท่ากับชั่วโมงของภาคการศึกษาปกติ

 

วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

                    ภาคการศึกษาที่ 1         เดือนสิงหาคม – เดือนธันวาคม

                    ภาคการศึกษาที่ 2         เดือนมกราคม – เดือนพฤษภาคม

                    ภาคฤดูร้อน                    เดือนมิถุนายน – เดือนกรกฎาคม

 

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

          – เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าทุกสาขาจากสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ หรือมีวิทยฐานะที่สภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์อนุมัติให้เข้าเป็นนักศึกษา สำหรับประสบการณ์การทำงาน ให้เป็นไปตามประกาศของสถาบัน

          – ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสถาบัน โดยการสอบข้อเขียน และ/หรือ การสัมภาษณ์

          – คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาอาจเปลี่ยนแปลงหรือมีเกณฑ์เพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามประกาศของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ/หรือ ประกาศของคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

 

ผลการเรียนรู้

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes: ELOs) ของหลักสูตรมีความสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ 5 ด้านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ได้แก่ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes: ELOs) 

ELO1

พัฒนา “สำนึกความยั่งยืน” ที่ผลักดันปัจเจกบุคคลและขับเคลื่อนองค์การในการตอบสนองต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกที่สำคัญ และความท้าทายขององค์การต่อความยั่งยืนในอนาคต

Develop “sustainability mindset” that urges individuals and organizations to address complex megatrends underlying organizational challenges for sustainability;

ELO2

วิเคราะห์กลยุทธ์และมาตรการในการจัดการความยั่งยืน โดยพิจารณาผลกระทบ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ

Analyze organizations’ chosen strategies and measures to manage sustainability issues, considering their impact, internal and societal conditions;

ELO3

 

เสนอแนะกลยุทธ์และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความยั่งยืนภายใต้บริบทองค์การหนึ่งใด

Propose relevant strategies and measures for organizations concerning their sustainability management;

ELO4

 

สื่อสารเกี่ยวกับการจัดการความยั่งยืนจากมุมมององค์การและสังคมอย่างมีประสิทธิผล เพื่อกระตุ้น ชัก และผนวกรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์การในการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืน

Communicate effectively about sustainability management from organizational and societal perspectives, motivating, convincing, and incorporating the roles of internal and external stakeholders in sustainability change; and

ELO5

ประยุกต์ใช้กรอบการวิเคราะห์และเครื่องมือในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์การ

Apply analytical frameworks and tools for monitoring and evaluating organizational impacts on sustainability.

 

โครงสร้างหลักสูตร กำหนดจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต

หมวดวิชา

หลักสูตร

หลักสูตร

แผน ก2
(ทำวิทยานิพนธ์)

แผน ข

1. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน

ไม่นับหน่วยกิต

ไม่นับหน่วยกิต

2. หมวดวิชาพื้นฐาน

6 หน่วยกิต

6 หน่วยกิต

3. หมวดวิชาหลัก

12 หน่วยกิต

12 หน่วยกิต

4. หมวดวิชาเลือก

9 หน่วยกิต

18 หน่วยกิต

5. วิทยานิพนธ์

12 หน่วยกิต

6. วิชาการค้นคว้าอิสระ

3 หน่วยกิต

7. สอบประมวลความรู้

โดยสอบข้อเขียน

โดยสอบข้อเขียน

8. การสอบวิทยานิพนธ์

สอบ

9. การสอบปากเปล่า

สอบ

รวม

39 หน่วยกิต

39 หน่วยกิต

 

รายวิชา

ก. หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิต)

                             เป็นกลุ่มวิชาที่มุ่งปรับความรู้พื้นฐานของนักศึกษา เพื่อที่จะให้มีความพร้อมในการศึกษาระดับมหาบัณฑิตของหลักสูตร เป็นวิชาที่เรียนโดยไม่นับหน่วยกิต และไม่นำผลการศึกษามาคำนวณแต้มเฉลี่ย ประกอบด้วย              

สพ 4000

พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา

หน่วยกิต

3(3-0-6)

ND 4000     

Foundation for Graduate Studies

 

แนะนำการเมืองและการปกครอง เศรษฐกิจไทย ธุรกิจไทย สังคมไทย จริยธรรมของนักบริหาร จริยธรรมทางวิชาการ การพัฒนาบุคลิกภาพ สุขภาพกาย สุขภาพจิต รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร การเขียนรายงานทางวิชาการ และเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนา     

An overview of Thai government, Thai economy, Thai business, Thai society, codes of ethics for executives and academics, personality development, physical and mental health, the Constitution of the Kingdom of Thailand, Thai for communication, academic report writing, and sufficiency economy and development.

 

ภส 4001

การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา

หน่วยกิต

3(3-0-6)

LC 4001     

Reading Skills Development in English for Graduate Studies

 

สร้างเสริมความรู้พื้นฐานด้านไวยากรณ์ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาทักษะการอ่าน เช่น การศึกษาของประโยค การหาแกนหลักและส่วนขยายของประโยค เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้และพัฒนาทักษะการอ่านงานเขียนทางวิชาการ เช่น ตำรา บทความวิชาการ โดยเน้นการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญ เพื่อหาข้อสรุป การตีความประโยค การเดาความหมายของคำศัพท์จากบริบท การอ่านแบบข้ามเพื่อหาข้อมูลเฉพาะ การหาความสัมพันธ์ของประโยคและย่อหน้าในงานเขียนและการอ่านเชิงวิเคราะห์

This course is aimed at enhancing students’ understanding of English structure such as sentence types, core parts, headwords and modifiers. This will enable students to develop their English reading skills necessary for academic texts and research papers. Emphasis is placed on developing students’ skills in reading for main ideas, drawing conclusions and making inferences, using context clues to arrive at the meanings of unknown words, skimming and scanning, and developing their discourse competence, including critical reading skills.

 

ภส4002    

การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ

หน่วยกิต

3(3-0-6)

LC 4002     

Integrated English Language Skills Development

 

เนื้อหาและกิจกรรมเน้นการบูรณาการทักษะทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเชิงวิชาการเบื้องต้น

Course contents and teaching activities focus on the integrated skills of listening, speaking, reading and writing with particular emphasis on academic writing at the introductory level.

 

ภส4011    

การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา

หน่วยกิต

3(3-0-6)

LC 4011     

Remedial Reading Skills Development in English for Graduate Studies

 

ฝึกทักษะและกลยุทธ์การอ่านภาษาอังกฤษเชิงวิชาการเพิ่มเติมและซ่อมเสริมทักษะดังกล่าวสำหรับนักศึกษาที่ยังบกพร่องในการเรียนวิชา ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา ทั้งนี้ นักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนในลักษณะเฉพาะบุคคลมากขึ้น

The course is intended to provide additional practices in the reading skills and strategies covered in LC 4001. Students receive individualized attention to enhance their reading skills for academic purposes.

 

ภส 4012  

การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ

หน่วยกิต

3(3-0-6)

LC4012   

Remedial Integrated English Language Skills Development      

 

ฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนเพิ่มเติมและซ่อมเสริมทักษะดังกล่าวสำหรับนักศึกษาที่ยังบกพร่องในการเรียนวิชา ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ เพื่อปรับปรุงความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ด้วยการสอนและฝึกในลักษณะเฉพาะบุคคล

This course is intended to provide additional practice in the four skills-listening, speaking, reading and writing strategies covered in LC 4002. Students receive individualized attention to enhance their communication skills in English.

 *หมายเหตุ: 1) ข้อกำหนดและการยกเว้นการเรียนในหมวดวิชาเสริมพื้นฐาน ให้เป็นไปตามประกาศของคณะ/สถาบัน ยกเว้นข้อกำหนดและการยกเว้นการเรียนวิชาเสริมพื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษาของสถาบันฯ และพื้นฐานภาษาอังกฤษของคณะภาษาและการสื่อสาร ให้เป็นไปตามเงื่อนไขของหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา

               2) ในกรณีที่มีการปรับปรุงหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา การเรียนวิชาเสริมพื้นฐานภาษาอังกฤษที่กำหนดไว้ในหลักสูตรนี้ จะต้องเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามหลักสูตรวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษาที่ปรับปรุงใหม่ด้วย

ข. หมวดวิชาพื้นฐาน (6 หน่วยกิต)

จย 5001

ศาสตร์ความยั่งยืนสำหรับธุรกิจ

หน่วยกิต

3(3-0-6)

SM 5001

Sustainability Science for Business

 

วิชานี้ทบทวนกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีและเชิงวิธีวิทยาของศาสตร์ความยั่งยืนที่เป็นสหวิทยาการในการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างระบบมนุษย์และชีวกายภาพเชื่อมโยงกันในหลายระดับ วิชานี้จะปูพื้นฐานความยั่งยืน อธิบายความท้าทายต่อความยั่งยืนที่เกิดขึ้น และค้นหาเส้นทางสู่อนาคตร่วมกัน โดยเน้นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน นักศึกษาจะได้เรียนรู้คำศัพท์เบื้องต้นและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ประยุกต์ใช้ในการคิดเกี่ยวกับความยั่งยืน รวมถึงการประเมินความสัมพันธ์เชิงระบบที่ก่อให้เกิดการสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของระบบนิเวศต่าง ๆ เช่น มูลค่าการให้บริการของระบบนิเวศ และรอยเท้าทางนิเวศวิทยา เป็นต้น

This course reviews transdisciplinary theoretical and methodological frameworks in sustainability science for analyzing issues that arise from the complex interactions among human and biophysical systems at various scales. The course lays the foundations of sustainability, defines a variety of sustainability-related challenges, and explores ways forward, with a particular emphasis on business and sustainable development.  Students are expected to be equipped with basic literacy in the vocabulary and the tools to think broadly about sustainability as well as to estimate specifically how ecosystems support human wellbeing, such as ecosystem services and ecological footprints.

 

จย 5002

การจัดการธุรกิจกับความยั่งยืน

หน่วยกิต

3(3-0-6)

SM 5002

Business Practices and Sustainability

 

วิชานี้มุ่งให้ความเข้าใจถึงภาพรวมของประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และธรรมาภิบาล ที่เป็นเสาหลักของความยั่งยืนขององค์การธุรกิจ รวมถึงมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับบทบาทขององค์การธุรกิจในการส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมและผลประโยชน์ของสังคม วิชานี้จะกล่าวถึงหลักการและเครื่องมือที่องค์การธุรกิจใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อเป็นแนวทางในการรับมือกับความท้าทายต่อความยั่งยืน นักศึกษาจะเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงไปสู่ตัวแบบความยั่งยืนทั้งในระดับปัจเจกบุคคล องค์การ และทั้งระบบ ตั้งแต่การตระหนักรู้ การวิเคราะห์การดำเนินงาน ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติการดำเนินงาน

This course provides a holistic overview of the environmental, social, and governance (ESG) pillars of corporate sustainability as well as explores different perspectives on the role of corporations in promoting environmental and social benefits.  The course will introduce the predominant principles and tools that corporations use to guide their approach to sustainability challenges.  Students are expected to understand how individuals, organizations and systems can begin to analyze their behaviors and change towards more sustainable practices and models.

 

 ค. หมวดวิชาหลัก (12 หน่วยกิต)

                            เป็นกลุ่มวิชาที่มุ่งให้นักศึกษาพัฒนาทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน โดยกำหนดให้นักศึกษาที่ศึกษาแผน ก2 และแผน ข ลงทะเบียนเรียน จำนวน 12 หน่วยกิต ดังนี้

จย 6001

การพัฒนากรอบการดำเนินงานและกลยุทธ์ความยั่งยืน

หน่วยกิต 

3(3-0-6)

SM 6001

Sustainability Framework and Strategy Development

 

วิชานี้อธิบายแนวทางการจัดการความยั่งยืนที่มีอยู่หลากหลาย ตลอดจนการบูรณาการแนวทางการจัดการความยั่งยืนเหล่านี้กับการจัดการห่วงโซ่คุณค่าขององค์การธุรกิจในเชิงกลยุทธ์ เพื่อก่อให้เกิดผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนสูงสุดและตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง วิชานี้จะครอบคลุมการเรียนรู้เกี่ยวกับกรอบ วิธีการ และเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลในการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่เกี่ยวกับผลกระทบด้านความยั่งยืนตลอดช่วงวัฏจักรชีวิตของธุรกิจ และการเตรียมพร้อมต่อการประยุกต์ใช้กรอบการดำเนินการ วิธีการ และเครื่องมือเหล่านี้ในการส่งเสริมการจัดการความยั่งยืนได้ในทุกอุตสาหกรรม

This course explores different sustainability management approaches and how corporations can integrate them strategically into their business-to-business value chains to maximize their sustainability performance and to meet changing stakeholder expectations.  This course will introduce internationally recognized frameworks, methodologies, and tools of strategically managing sustainability impacts throughout the entire business life cycle.  Students will be prepared for practical application of these solutions in facilitating sustainability management programs in virtually any industry. 

 

จย 6002

ภาวะผู้นำความยั่งยืนและการจัดการการเปลี่ยนแปลง

หน่วยกิต 

3(3-0-6)

SM 6002

Sustainability Leadership and Change Management

 

วิชานี้ครอบคลุมหลักสำคัญของภาวะผู้นำระดับแนวหน้าและการจัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืน ตั้งแต่การบูรณาการความยั่งยืนเข้าเป็นพันธกิจขององค์การใดองค์การหนึ่ง การดำเนินกลยุทธ์ขององค์การ และการต่อยอดการดำเนินการให้ยั่งยืนต่อไป นักศึกษาจะได้เรียนรู้กรณีศึกษาวิธีการที่ผู้ปฏิบัติงานด้านความยั่งยืนในองค์การชั้นนำใช้ในการจัดการกับข้อจำกัดที่มีอยู่จริง เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมขององค์การ นักศึกษาจะได้พัฒนาความรู้และขีดความสามารถในการเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนและการจัดการการเปลี่ยนแปลง ทั้งในระดับบุคคล ระดับระหว่างบุคคล ระดับองค์การและระดับโครงสร้างพื้นฐาน

The course covers the essentials of front-line leadership and change management for sustainability through integrating sustainability into an organization, executing organizational strategy, and committing to it for a lifetime.  This course will expose students to the ways in which leading sustainability practitioners deal with real world constraints to improve environmental and economic performance in their organizations.  Students are expected to advance their knowledge and capabilities in personal, interpersonal, organizational, and infrastructural domains to lead change towards sustainability.

 

จย 6003

การวัดและประเมินผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน

หน่วยกิต 

3(3-0-6)

SM 6003

Sustainability Performance Evaluation and Measurement

 

วิชานี้เป็นการตอบสนองต่อความท้าทายในการวัดและประเมินประสิทธิผลของกลยุทธ์ความยั่งยืนจากมุมมองความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และความยุติธรรมทางสังคม วิชานี้ครอบคลุมหลักการและตัวชี้วัดความยั่งยืน รวมไปถึงทักษะเชิงวิพากษ์ที่จำเป็นในการพัฒนาผลลัพธ์การดำเนินงานด้านความยั่งยืนให้ตอบสนองต่อองค์การและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์การ นักศึกษาจะได้เรียนรู้การกำหนดตัวชี้วัดสำคัญที่ใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานในปัจจุบัน ตลอดจนการกำหนดเกณฑ์การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับแนวปฏิบัติที่ดี

This course addresses the challenges faced by managers in measuring and evaluating the efficacy of sustainability strategies through the three lenses: economic prosperity, environmental impact, and social justice.  The course covers sustainability measurement principles and indicators, as well as the skills needed to critique and improve sustainability outcomes for organizations and their stakeholders.  Students are expected to learn how to identify important indicators used to assess current sustainability and benchmark performance related to commonly held good practice.

 

จย 6004

การรายงานและเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน

หน่วยกิต 

3(3-0-6)

SM 6004

Sustainability Reporting and Disclosure

 

วิชานี้อภิปรายบทบาทและนัยของการรายงานและการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในฐานะเครื่องมือที่สำคัญหนึ่งในการสื่อสารและสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เนื้อหาของวิชาจะเป็นการผสมผสานระหว่างทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ โดยจะเน้นแนวทางปฏิบัติขององค์การในการสื่อสารและรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นักศึกษาจะได้เรียนรู้แนวทาง กรอบ และมาตรฐานการรายงานข้อมูลด้านความยั่งยืน เช่น Global Reporting Initiative (GRI), Sustainability Accounting Standards Board (SASB), Integrated Reporting, AA1000 ตลอดจนแนวปฏิบัติด้านการสอบทานที่เกี่ยวข้องกับการรายงานความยั่งยืน และสามารถจัดการเกี่ยวกับการรายงานและเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนขององค์การใดองค์การหนึ่งได้

This course discusses the role and practical implications of sustainability reporting and disclosure as an important tool for stakeholder engagement and communication.  The course offers a mix of theory and applied coursework with more practical approach on how organizations could credibly communicate and be accountable to internal and external stakeholders for their sustainability performance.  Students will gain familiarity on sustainability guidelines, frameworks, and standards, such as Global Reporting Initiative (GRI), Sustainability Accounting Standards Board (SASB), Integrated Reporting, AA1000, and pertinent assurance practices in relation to sustainability reporting, enabling them to manage organizational sustainability reporting and disclosure.

 

ง. หมวดวิชาเลือก

                        เป็นกลุ่มวิชาที่มุ่งให้นักศึกษาพัฒนาทักษะและความรู้เฉพาะทางที่เกี่ยวกับการจัดการความยั่งยืน และวิชาเลือกอื่น ๆ ดังนี้

จย 7001

การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

หน่วยกิต 

3(3-0-6)

SM 7001

Sustainable Supply Chain Management

 

นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับความยั่งยืนในมุมมองของห่วงโซ่อุปทาน และเกี่ยวกับการประยุกต์การประเมินวัฏจักร เพื่อประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์และบริการขององค์การ วิชานี้จะเน้นการคิดเชิงระบบ การทำงานร่วมกันระหว่างสาขาวิชา และการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งจะครอบคลุมถึงผู้ผลิตวัตถุดิบ ลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคและหลังการบริโภค จนถึงสมาชิกอื่นในห่วงโซ่อุปทานที่มีการนำไปใช้ใหม่ นักศึกษาจะสามารถระบุ ประเมิน และเสนอแนะหลักการด้านโลจิสติกส์ที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงแนวปฏิบัติของห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน

This course introduces students to the subject of sustainability from a supply chain perspective, and especially the application of life cycle assessment in evaluating the environmental impacts of products and services. The course encourages system thinking, cross-discipline collaboration and tool application in a full supply chain perspective including multiple actors from raw material suppliers to customers and even to post-consumption, second-cycle supply chain members. Students will be able to identify, assess and suggest environmentally responsible logistic principles and practice of sustainable supply chains.

 

จย 7002

การผลิตอย่างยั่งยืนและเทคโนโลยีเชิงนิเวศ

หน่วยกิต 

3(3-0-6)

SM 7002

Sustainable Manufacturing and Eco-technologies

 

นักศึกษาจะได้เรียนรู้ชุดของเครื่องมือและทักษะที่ใช้กำหนด ประเมินและปรับปรุงการผลิตอย่างยั่งยืนและเทคโนโลยีเชิงนิเวศ  วิชานี้ครอบคลุมแนวคิดของกิจกรรมอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ตลอดจนหลักการและแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการผลิตอย่างยั่งยืนและการดำเนินงานในห่วงโซ่อุปทาน นักศึกษาจะเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคต่าง ๆ และการประยุกต์ใช้ เพื่อลดของเสียและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม พร้อมกับเป็นการลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย อาทิ การลดการใช้พลังงาน วัตถุดิบ วัตถุดิบระหว่างการผลิต เวลาของการผลิตที่สูญเสียไป การผลิตเกินความจำเป็น เป็นต้น

This course provides a set of tools and skills to identify, evaluate, and improve the sustainability of manufacturing and eco-technologies.  The course will cover concepts of industrial and commercial activities, as well as principles and best practices for green sustainable manufacturing and supply chain operations.  Students are expected to learn how various techniques can practically be applied to reduce waste and environmental impact while reducing costs, for example, to reduce energy usage, raw materials, work-in-process, down times, overproduction, etc.

 

จย 7003

การตลาดเพื่อความยั่งยืน

หน่วยกิต 

3(3-0-6)

SM 7003

Sustainability Marketing and Branding

 

วิชานี้มุ่งสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความยั่งยืนกับการตลาด รวมถึงการส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าที่อยู่บนฐานหลักการความยั่งยืน วิชานี้มุ่งพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการทำตลาดของผลิตภัณฑ์และบริการที่ยั่งยืน นักศึกษาจะได้เรียนรู้หลักการตลาดที่สำคัญเพื่อกลยุทธ์และแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในการตลาดเพื่อความยั่งยืน ตลอดจนสามารถประยุกต์ใช้การตลาดเพื่อความยั่งยืนทั้งในองค์การที่มุ่งหวังกำไรและไม่มุ่งหวังกำไร

This course is designed to develop an understanding of relationship between sustainability and marketing, and of how to deliver superior customer value based on sustainability principles.  The course will develop the knowledge and skills necessary to successfully market sustainable products and services.  Students are expected to learn key elements of developing a successful marketing strategy and branding approach for a sustainable market offering, as well as to be able to apply them to a range of profit and non-profit organizations.

 

จย 7004

การเงินและการลงทุนเพื่อความยั่งยืน

หน่วยกิต 

3(3-0-6)

SM 7004

Sustainability Finance & Investment

 

วิชานี้นำเสนอกรอบทฤษฎีและแนวคิดที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ทางการเงินและการลงทุน โดยเฉพาะทฤษฎีเกี่ยวกับการเงินและการลงทุนที่ยั่งยืน ได้แก่ การเป็นเจ้าของกิจการ การเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเงินเพื่อการอนุรักษ์ การปรับทิศทางการลงทุนเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม พันธบัตรสีเขียว ดัชนีสีเขียว การลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบ การประเมินความเสี่ยง ตลอดจนกรณีศึกษาอื่นในหลากหลายอุตสาหกรรม เพื่อนักศึกษาจะได้เข้าใจนัยของความยั่งยืนที่มีต่อภาคเศรษฐกิจที่สำคัญและต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดโลก นอกจากนี้ นักศึกษาจะได้เรียนรู้การตอบสนองของตลาดต่อการเกิดขึ้นของมาตรฐานด้านการเงินและการลงทุนที่ยั่งยืน รวมทั้งสามารถประยุกต์ใช้ตัวแบบการวิเคราะห์ทางการเงินที่ยั่งยืนในการประเมินมูลค่าทางการเงินของโครงการตามความสนใจ

This course provides students with the necessary theoretical and conceptual tools used in financial and investment analysis.  The course navigates theories of sustainable finance and investment, including topics such as active ownership, climate finance, conservation finance, divestment, green bonds, green indices, impact investing, risk assessment, as well as diverse case studies within different industries to understand the implications of sustainability in priority areas of economy and the way they are reshaping global markets.  Additionally, students will be able to better understand how markets react to the new standards of sustainable finance and investment, and to develop a model of sustainable financial analysis to value a financial project of their choice.

 

จย 7005

การประเมินมูลค่าความยั่งยืนและผลกระทบต่อสังคม

หน่วยกิต 

3(3-0-6)

SM 7005

Sustainability-Adjusted Valuation and Societal Impact

 

วิชานี้เป็นการประเมินมูลค่าผลกระทบของการดำเนินงานองค์การในมุมมองความยั่งยืน โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าที่แท้จริงที่มาจากการดำเนินงานขององค์การ วิชานี้ยังอาศัยการประยุกต์ใช้หลักการเงิน เศรษฐศาสตร์จุลภาค นโยบายสาธารณะ และการจัดการการลงทุน เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของกรณีและผลิตภัณฑ์การลงทุนเพื่อความยั่งยืน อาทิ ตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเงินสาธารณะ และการลงทุนเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่พื้นฐาน นักศึกษาจะได้รับความรู้ที่จำเป็นที่จะสามารถนำไปวิเคราะห์ พัฒนาและประยุกต์ใช้ประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล รวมถึงกลยุทธ์การลงทุนเพื่อผลกระทบทางสังคม

The course accounts for a value impact based on organizations’ sustainability performance, specifically how the Environment, Social and Governance (ESG) factors involved in the true value generated by organizations.  This course also draws upon principles of finance, microeconomics, public policy and investment management to evaluate specific cases and investment tools in areas such as environmental markets and climate change, public finance and investing at the base of the pyramid.    Students will gain knowledge necessary to actively engage in the analysis, development and application of ESG and social impact investment strategies.

จย 7006

การวิเคราะห์ข้อมูลความยั่งยืน

หน่วยกิต 

3(3-0-6)

SM 7006

Sustainability Analytics

 

วิชานี้เกี่ยวกับเครื่องมือและเทคนิคล่าสุดสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน ได้แก่การใช้พลังงานและทรัพยากร การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการดำเนินการในห่วงโซ่อุปทาน นักศึกษาจะได้รู้จักวิธีการทางสถิติ เชิงคุณภาพ และเชิงภาพสำหรับการจัดการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน โดยเฉพาะที่เป็นชุดข้อมูลขนาดใหญ่และซับซ้อน นักศึกษาจะสามารถระบุ ประยุกต์ และสะท้อนเกี่ยวกับวิธีการและเครื่องมือในการจัดการข้อมูล ซึ่งรวมถึงการสร้างแบบจำลอง การสร้างและวิเคราะห์ฉากทัศน์อนาคต และวิธีการมีส่วนร่วม ทั้งในบริบทเฉพาะขององค์การและในบริบททางสังคมของการประเมินความยั่งยืน

This course explores the latest tools and techniques in analyzing data on a wide range of sustainability-related data, including energy and resource use, greenhouse gas emissions, and supply chain performance.  The course introduces students to statistical, qualitative, and visual methods of managing sustainability-related data, and especially large and complex data sets.  Students are expected to be able to identify, apply, and critically reflect on several methodologies and data management tools, including modeling, scenario development, and participatory methods, both in a particular organizational setting and in the societal context of sustainability assessment.

 

จย 7007

การจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืน

หน่วยกิต 

3(3-0-6)

SM 7007

Sustainability Risk Management

 

วิชานี้นำเสนอมุมมองในภาพรวมเกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมายทางเศรษฐกิจและนโยบายทางสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์การให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยอาศัยแนวทางและเครื่องมือการจัดการความเสี่ยง อันจะนำไปสู่ผลการดำเนินการในประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลขององค์การ  หัวข้อในวิชานี้ประกอบด้วยความสำคัญและบทบาทของการจัดการความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน กรอบและมาตรฐานต่างๆ ของการจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืน และเครื่องมือการจัดการความเสี่ยงด้านความยั่งยืนขั้นสูง ในที่สุดแล้วนักศึกษาจะสามารถระบุ วัดระดับ และกำหนดกลยุทธ์ในการตอบสนองต่อความเสี่ยงที่รุนแรงที่สุดขององค์การ รวมทั้งมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าองค์การนั้นจะบูรณาการความยั่งยืนและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ากับกลยุทธ์และการกำกับดูแลขององค์การในระยะยาวได้อย่างไร

This course offers a comprehensive view on how to effectively align the profit goals and a company’s environmental and social policies through a risk-based approach and instrument towards organization’s ESG performance.  The course topics include significance and roles of risk management, risk analysis, different sustainability risk management frameworks and standards, and advanced risk management tools.  At the end of the course, students can identify, measure, and respond to the most severe risks of different organizations, as well as have insight how the organization is integrating sustainability and stakeholder expectations into long-term strategy and governance and organization.

 

จย 7008

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการจัดการคาร์บอน

หน่วยกิต 

3(3-0-6)

SM 7008

Climate Change and Carbon Management

 

วิชานี้สร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนโอกาสและความท้าทายที่ส่งผลถึงองค์การที่มุ่งสร้างมูลค่าสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น วิชานี้ยังส่งเสริมความเข้าใจของนักศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจภูมิอากาศที่เกิดขึ้นใหม่และการตอบสนองขององค์การต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในทุกระดับ นักศึกษาจะสามารถนำกรอบและเครื่องมือสำหรับการประเมินมูลค่าตลาด/มูลค่าความเสี่ยงของผลกระทบจากการที่องค์การต้องเปิดรับกับความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล รอยเท้าคาร์บอน การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และผลกระทบจากกฎระเบียบ รวมถึงสามารถวางกลยุทธ์ในการจัดการคาร์บอนเพื่อการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศที่ยั่งยืนได้

This course raises awareness of the issue of climate change and the opportunities/challenges it presents for shareholder value-maximizing organizations.  The course will foster students’ understanding of the emerging climate economy and of organizational responses to climate change.  Students are expected to be able to adopt the frameworks and tools to assess the market value/value-at-risk consequences of organizations’ exposure to climate change risks, their fossil fuel use, carbon footprints, greenhouse gas emissions, and their likely regulatory impacts, as well as to devise carbon management strategies for sustained climate actions.

 

จย 7009

สิทธิมนุษยชนและการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ

หน่วยกิต 

3(3-0-6)

SM 7009

Human Rights and Responsible Business Conduct

 

วิชานี้เน้นสร้างความเข้าใจความรับผิดชอบขององค์การธุรกิจในการเคารพสิทธิมนุษยชน รวมถึงกติกาที่มีอยู่และเกิดขึ้นใหม่ในสายการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ นักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดและแนวปฏิบัติที่แสดงถึงความรับผิดชอบนั้นในบริบทของการประเมินผลกระทบ ผ่านการอภิปรายประเด็นการดำเนินงานของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องการคอรัปชั่นและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นักศึกษาจะสามารถประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและแนวทางการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนในการประเมินผลกระทบของโครงการ หรือในการกำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ โดยพิจารณาประเด็นสิทธิมนุษยชน สังคม และสิ่งแวดล้อม

This course provides a solid understanding of the corporate responsibility to respect human rights, as well as the existing and emerging rules in the field of responsible business conduct.  The course will provide practical insights and tools on operationalizing that responsibility in the impact assessment context through discussions on the intersection of business in all aspects of society, with a more detailed look on corruption and climate.  Students are expected to be able to apply their knowledge of human rights and human rights-based approaches in the impact assessment of business projects or in the design of responsible business practice with regards to human rights, society, and the environment.

 

จย 7010

ความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประเด็นความสำคัญด้านความยั่งยืน

หน่วยกิต 

3(3-0-6)

SM 7010

Stakeholder Engagement and Materiality

 

วิชานี้มุ่งพัฒนาทักษะและความรู้ในสหวิทยาการเกี่ยวกับการกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการสร้างการมีส่วนร่วมในบริบทความยั่งยืนที่แตกต่างกัน วิชานี้ยังครอบคลุมทฤษฎีและการปฏิบัติในการสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะการสะท้อนประเด็นความคาดหวังและความสนใจของแต่ละกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อันจะนำไปสู่การสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างธุรกิจกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นักศึกษาจะสามารถวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์การธุรกิจ ชุมชน รัฐบาล และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสามารถกำหนดประเด็นสำคัญด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมผ่านการสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

This course focuses on developing students’ cross-disciplinary knowledge and skills regarding stakeholder identification, analysis, and involvement in different sustainability contexts.  The purpose of the course is to explore stakeholder engagement theory and practice, and how organizations’ value creation can reflect the expectations and interests of a broader group of stakeholders.  Students are expected to critically examine tensions that shape relationship between corporations, communities, governments, and the natural environment, and ensure the materiality of various social and environmental topics through their engagement.

 

จย 7011

การออกแบบอย่างยั่งยืนและระบบนิเวศนวัตกรรม

หน่วยกิต 

3(3-0-6)

SM 7011

Sustainable Design and the Innovation Ecosystem

 

วิชานี้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกับแรงขับเคลื่อนนวัตกรรมขององค์การธุรกิจ การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ และการสร้างตลาดใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การออกแบบและวางผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด วิชานี้ครอบคลุมหลักการออกแบบ แนวคิดพื้นฐานของ “ระบบนิเวศนวัตกรรม” ตลอดจนกรอบการดำเนินงานและเครื่องมือที่ใช้ในการ

This course looks at the drivers of corporate innovation, strategic shifts, and new markets, and specifically how to design and launch a new product with the lowest environmental footprint.  The course will examine various design principles, the basics of the “Innovation Ecosystem”, as well as frameworks and tools used by organizations in pursuing sustainable business opportunities.  Students will be able to identify and differentiate “true” vs. “fake” sustainability practice, and to assess innovations and create a healthy Innovation Ecosystem.

 

จย 7012

การเปลี่ยนผ่านและปรับเปลี่ยนสู่ความยั่งยืน

หน่วยกิต 

3(3-0-6)

SM 7012

Sustainability Transition and Transformation

 

วิชานี้มุ่งให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านและการปรับเปลี่ยนสู่ความยั่งยืนในบริบทองค์การและอุตสาหกรรม รวมถึงพัฒนาสมรรถนะในการจัดการกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืน วิชานี้ครอบคลุมทฤษฎีของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืน และเครื่องมือสำหรับการปรับเปลี่ยนองค์การและการสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงทักษะในการวิเคราะห์นวัตกรรมและกระบวนการเปลี่ยนผ่าน นักศึกษาจะสามารถดำเนินการนำการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนในระดับองค์การ ตลอดจนสามารถวางกลยุทธ์การปรับเปลี่ยนระบบไปสู่ความยั่งยืน

This course explores transition and transformation to sustainability in both organizational and sectoral contexts, as well as develops competencies in managing transitions strategically.  The course covers theories of sustainability change and tools for organizational transformation and multi-stakeholder collaboration for sustainability transitioning, including skills for analyzing sustainability innovations and transitioning processes.  Students will be able to lead sustainability transitioning at the organizational level and create systemic transformational strategies for social-ecological sustainability.

 

วิชาเลือกอื่นๆ

จย 8001

ปฏิบัติการจัดการความยั่งยืน

หน่วยกิต 

3(0-15-0)

SM 8001

Practicum in Sustainability Management

 

วิชาปฏิบัติการจัดการสิ่งแวดล้อมมุ่งให้นักศึกษาได้มีโอกาสทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาที่จำเป็นต้องมีการประยุกต์ใช้ทักษะและความรู้เกี่ยวกับการจัดการความยั่งยืนในการปฏิบัติงานภายใต้บริบทเฉพาะขององค์การใดองค์การหนึ่ง ภายใต้คำแนะนำและการสนับสนุนของอาจารย์ที่ปรึกษา นอกจากนี้ นักศึกษาจะสามารถพัฒนาสำนึกและทักษะที่จำเป็นอื่นในการทำงานในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความยั่งยืน

This course provides students with the opportunities to work on a capstone interdisciplinary team project, which requires applications of skills and knowledge in real settings of corporations or organizations, under faculty guidance and coaching sessions.  In addition, students are expected to develop soft skills and mindsets in pursuing sustainability-related careers.

 

จย 8002

สัมมนาการจัดการความยั่งยืน

หน่วยกิต 

3(1-4-4)

SM 8002

Seminar in Sustainability Management

 

ในวิชาสัมมนา นักศึกษาจะได้รับมอบหมายให้ค้นคว้าและจัดทำรายงานในประเด็นที่น่าสนใจด้านการจัดการความยั่งยืน ตลอดจนนำเสนอรายงานการศึกษาเพื่อการอภิปรายในชั้นเรียน

In a seminar course, students are assigned to conduct a study, prepare a report on certain topics in sustainability management, and present the study report in a classroom for discussion.

 

จย 8003

การศึกษาตามแนวแนะ

หน่วยกิต 

1(0-3-0) – 3(0-9-0)

SM 8003

Directed Study

 

วิชานี้ออกแบบไว้สำหรับนักศึกษาที่มีความสนใจเพิ่มเติมในหัวข้อเฉพาะเจาะจงนอกเหนือจากการเรียนในรายวิชา การเปิดรายวิชาการศึกษาตามแนวแนะจะกำหนดจากความต้องการของนักศึกษา ภายใต้คำแนะนำและความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาหรืออาจารย์ผู้สอน

This course is designed for students with particular interest on certain topics outside coursework.  The course will be offered upon the students’ request, under the supervision and approval of a faculty advisor or instructor.

 

จย 8004

หัวข้อพิเศษทางการจัดการความยั่งยืน

หน่วยกิต 

1(1-0-2) – 3(3-0-6)

SM 8004

Special Topics in Sustainability Management

 

วิชานี้จะครอบคลุมประเด็นหรือหัวข้อที่น่าสนใจและเกิดขึ้นใหม่ในสาขาวิชาศาสตร์และการจัดการความยั่งยืน และยังไม่ได้ปรากฏในรายวิชาอื่น การเปิดรายวิชาที่เป็นหัวข้อพิเศษนี้จะกำหนดจากอาจารย์ผู้สอน

This course will cover new or emerging issues and topics on sustainability science and management, which are not covered in other courses.  These special topics may be taught in a classroom through this course.

หมายเหตุ: นักศึกษาที่ศึกษาแผน ก2 และแผน ข จะต้องลงทะเบียนเรียนวิชาเลือก (*) ตามที่หลักสูตรกำหนดให้จำนวน 9 หน่วยกิต และนักศึกษาที่ศึกษาแผน ข เลือกลงทะเบียนเรียนวิชาจากหมวดวิชาเลือกของหลักสูตรเพิ่มเติมอีกจำนวน 9 หน่วยกิต โดยสามารถเลือกลงทะเบียนเรียนวิชาในหลักสูตรอื่นของสถาบันทดแทนได้ ไม่เกิน 6 หน่วยกิต ทั้งนี้ การลงทะเบียนเรียนในหมวดวิชาเลือกให้เป็นไปตามความเห็นชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

 

จ. วิชาการค้นคว้าอิสระ (สำหรับแผน ข)

จย 9000

การค้นคว้าอิสระ

หน่วยกิต 

3(0-9-0

SM 9000

Independent Study

 

ในวิชาการศึกษาอิสระ นักศึกษาสามารถเลือกหัวข้อหรือโครงการเกี่ยวกับการจัดการความยั่งยืน ภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการค้นคว้าอิสระ

In an independent study, students choose their own topics or projects on sustainability management, under the supervision of a faculty advisor.

 

 ฉ. วิทยานิพนธ์ (สำหรับแผน ก2)

จย 9004

วิทยานิพนธ์

หน่วยกิต 

12(3-27-6)

SM 9004

Thesis

 

 

แผนการศึกษา

ภาคปกติ ในเวลาราชการ

แผน ก2 ทำวิทยานิพนธ์

 

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

 

สพ 4000

พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา

3 หน่วยกิต

(ไม่นับหน่วยกิต)

ภส 4001

การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา

3 หน่วยกิต

(ไม่นับหน่วยกิต)

จย 5001

ศาสตร์ความยั่งยืนสำหรับธุรกิจ

3 หน่วยกิต

จย 5002

การจัดการธุรกิจกับความยั่งยืน

3 หน่วยกิต

จย 6001     

การพัฒนากรอบการดำเนินงานและกลยุทธ์ความยั่งยืน

3 หน่วยกิต

จย 6002

ภาวะผู้นำความยั่งยืนและการจัดการการเปลี่ยนแปลง

3 หน่วยกิต

 

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

 

ภส 4002    

การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ

3 หน่วยกิต

(ไม่นับหน่วยกิต)

จย 6003

การวัดและประเมินผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน

3 หน่วยกิต

จย 6004

การรายงานและเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน

3 หน่วยกิต

จย70XX-จย80XX

วิชาเลือก (*)

3 หน่วยกิต

จย70XX-จย80XX

วิชาเลือก (*)

3 หน่วยกิต

 

ปีที่ 1 ภาคฤดูร้อน

 

จย70XX-จย80XX

วิชาเลือก (*)

3 หน่วยกิต

จย 9004     

วิทยานิพนธ์  (แผน ก2)

3 หน่วยกิต

 

ปีที่ 2  ภาคการศึกษาที่ 1

 

จย 9004     

วิทยานิพนธ์  (แผน ก2)

9 หน่วยกิต

 

 แผน ข วิชาการค้นคว้าอิสระ

 

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

 

สพ 4000

พื้นฐานสำหรับบัณฑิตศึกษา

3 หน่วยกิต

(ไม่นับหน่วยกิต)

ภส 4001

การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา

3 หน่วยกิต

(ไม่นับหน่วยกิต)

จย 5001

ศาสตร์ความยั่งยืนสำหรับธุรกิจ

3 หน่วยกิต

จย 5002

การจัดการธุรกิจกับความยั่งยืน

3 หน่วยกิต

จย 6001     

การพัฒนากรอบการดำเนินงานและกลยุทธ์ความยั่งยืน

3 หน่วยกิต

จย 6002

ภาวะผู้นำความยั่งยืนและการจัดการการเปลี่ยนแปลง

3 หน่วยกิต

 

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

 

ภส 4002    

การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ

3 หน่วยกิต

(ไม่นับหน่วยกิต)

จย 6003

การวัดและประเมินผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน

3 หน่วยกิต

จย 6004

การรายงานและเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน

3 หน่วยกิต

จย 70XX-จย80XX

วิชาเลือก (*)

3 หน่วยกิต

จย 70XX-จย80XX

วิชาเลือก (*)

3 หน่วยกิต

 

ปีที่ 1 ภาคฤดูร้อน

 

จย 70XX-จย80XX

วิชาเลือก (*)

3 หน่วยกิต

จย 70XX-จย80XX

วิชาเลือก

3 หน่วยกิต

 

ปีที่ 2  ภาคการศึกษาที่ 1

 

จย 70XX-จย80XX

วิชาเลือก

3 หน่วยกิต

จย 70XX-จย80XX

วิชาเลือก

3 หน่วยกิต

จย 9000     

วิชาการค้นคว้าอิสระ

3 หน่วยกิต

หมายเหตุ:

              กรณีที่นักศึกษาไม่ผ่านการศึกษาวิชา ภส 4001 การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา จะต้องลงทะเบียนเรียนวิชา ภส 4011 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา ในภาคการศึกษาถัดไป

              และกรณีที่นักศึกษาไม่ผ่านการศึกษาวิชา ภส 4002 การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ จะต้องลงทะเบียนเรียนวิชา ภส 4012 การซ่อมเสริมการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ ในภาคการศึกษาถัดไป


 ภาคพิเศษ นอกเวลาราชการ

แผน ข วิชาการค้นคว้าอิสระ

 

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1

 

จย 5001

ศาสตร์ความยั่งยืนสำหรับธุรกิจ

3 หน่วยกิต

จย 5002

การจัดการธุรกิจกับความยั่งยืน

3 หน่วยกิต

จย 6001     

การพัฒนากรอบการดำเนินงานและกลยุทธ์ความยั่งยืน

3 หน่วยกิต

จย 6002

ภาวะผู้นำความยั่งยืนและการจัดการการเปลี่ยนแปลง

3 หน่วยกิต

 

ปีที่ 1 ภาคฤดูร้อน

 

จย 6003

การวัดและประเมินผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน

3 หน่วยกิต

 

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2

 

จย 6004

การรายงานและเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืน

3 หน่วยกิต

จย 70XX-จย80XX

วิชาเลือก (*)

3 หน่วยกิต

จย 70XX-จย80XX

วิชาเลือก (*)

3 หน่วยกิต

จย 70XX-จย80XX

วิชาเลือก (*)

3 หน่วยกิต

 

ปีที่ 2  ภาคการศึกษาที่ 1

 

จย 70XX-จย80XX

วิชาเลือก

3 หน่วยกิต

จย 70XX-จย80XX

วิชาเลือก

3 หน่วยกิต

จย 70XX-จย80XX

วิชาเลือก

3 หน่วยกิต

จย 9000     

วิชาการค้นคว้าอิสระ

3 หน่วยกิต

 

 

Leave a Reply