เกษตรอินทรีย์วิถีสู่ความยั่งยืน หรือ เกษตรอินทรีย์วิถียั่งยืน

จากยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ที่มุ่งเน้นสร้างความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เพื่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ ภาคอุตสาหกรรมจึงเป็นเป้าหมายหนึ่งในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยภาคตะวันออกของประเทศไทยเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) เป็นพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่ตอบสนองทุกรูปแบบในการดำรงชีวิต และนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรม ที่เป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรม การลงทุน สถานที่ท่องเที่ยว และเป็นฐานอุตสาหกรรมด้านพลังงาน ที่สำคัญของประเทศ โดยพื้นที่ 3 จังหวัดกลุ่มเป้าหมาย คือ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา ซึ่งมีความพร้อมในด้านทำเลที่ตั้ง ฐานการผลิตขนาดใหญ่ การคมนาคมหลากหลายรูปแบบ และเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยวระดับโลก ทำให้มีศักยภาพในการเติบโตด้านการลงทุนและการขยายตัวของเมืองและประชากรอย่างต่อเนื่องทำให้ความต้องการผลผลิตทางการเกษตรทั้งสำหรับการบริโภคภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เกษตรกรและผู้ประกอบการต้องมีการแข่งขันและเร่งพัฒนาผลผลิตของตนให้เข้าสู่ระบบตลาดได้อย่างทั่วถึงทำให้เกษตรกรหันไปใช้สารเคมีทางเกษตรเพื่อผลักดันผลผลิตให้มีคุณภาพ มีความสมบูรณ์ และป้องกันแก้ไขปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืชที่จะก่อให้เกิดความเสียหายกับผลผลิตของเกษตรกร จึงแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมการใช้สารเคมีของเกษตรกรมีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเพราะต้องการให้ผลผลิตเพียงพอต่อความต้องการของตลาดสามารถแข่งขันกับเกษตรกรรายอื่นได้ โดยต่อสู้กับภาวะปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและความผันผวนของระบบเศรษฐกิจเพื่อให้ดำรงอยู่ได้จนเกิดเป็นผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของการสิ้นเปลืองพลังงานจากการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตร อันตรายจากการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชชนิดต่างๆ ที่เสี่ยงก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังทั้งต่อตัวเกษตรกรผู้สัมผัสใกล้ชิดหรืออาจปนเปื้อนออกไปสู่ผู้บริโภคหรืออาจเกิดสารตกค้างในสิ่งแวดล้อม เช่น มลพิษในดิน มลพิษในแหล่งน้ำ เกิดเป็นปัญหามลพิษต่างๆ จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในวงกว้างต่อไปได้

            ด้วยสภาพปัญหาดังกล่าวทำให้ปัจจุบันมีกระแสความนิยมจากผู้บริโภคที่มีความห่วงใยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของอาหารและผลผลิตทางการเกษตรเป็นอย่างมาก แนวโน้มของการอาหารผักผลไม้อินทรีย์ หรือสินค้าออร์แกนิคจึงมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านเกษตรอินทรีย์มากขึ้น มีการอบรม ส่งเสริม และพัฒนาเกษตรกร และสถาบันการเกษตรอินทรีย์ให้มีความสามารถในด้านบริหารจัดการ การตลาด การสร้างเครือข่าย และส่งเสริมการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการการพัฒนาด้านเกษตรอินทรีย์ยังดำเนินการได้จำกัด เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดองค์ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่เพียงพอสำหรับการบริหารจัดการเกษตรอินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาเกษตรอินทรีย์บนการเติบโตในยุค 4.0 เพื่อคุณภาพชีวิตและการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยมีพื้นที่เป้าหมายของการพัฒนาจำนวน 3 ชุมชน ภายในพื้นที่จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการยกระดับภาคเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม ให้เป็นระบบเกษตรกรรมที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยต่อสุขภาพผู้บริโภค และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเกษตรอินทรีย์บนการเติบโตในยุค 4.0 ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก 2) ศึกษาแนวทางการจัดการเกษตรอินทรีย์ที่ยั่งยืนบนการเติบโตในยุค 4.0 ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก และ3) ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์บนการเติบโตในยุค 4.0 ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ซึ่งวิธีการศึกษาโดยการรวบรวมองค์ความรู้จากการทบทวนนโยบาย มาตรการ และแนวทางที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรอินทรีย์โดยประยุกต์ใช้หลักการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับชุมชนในแต่ละพื้นที่ จากนั้นสำรวจและเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณโดยเก็บแบบสอบถามกับเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ใน 3 จังหวัดในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จังหวัดละ 150 คน รวม 450 ตัวอย่าง เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเกษตรอินทรีย์บนการเติบโตในยุค 4.0 พร้อมทั้งการสัมภาษณ์ สำนักงานเกษตรอำเภอ ต้นแบบเกษตรกรอินทรีย์ ผู้นำเครือข่ายการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหาตามประเด็น (Content Analysis) โดยผลการวิจัยพบว่า

            ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ เช่น การจัดการปัจจัยการผลิตให้มีเพียงพอ เป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และเกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ การจัดการระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสม ศักยภาพในการผลิตผักเกษตรอินทรีย์ ทัศนคติที่ดีต่อการทำเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในเครือข่ายเกษตรอินทรีย์  การตลาดเกษตรอินทรีย์ และความใส่ใจในสุขภาพและของผู้บริโภคผักเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น

            โดยมีแนวทางการพัฒนาเกษตรอินทรีย์บนการเติบโตในยุค 4.0 เช่น การส่งเสริมการผลิต การตลาด โลจิสติกส์ และมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์ ได้แก่ การส่งเสริมการผลิตและสร้างเครือข่ายการพึ่งตนเองทั้งในด้านการส่งเสริมและสนับสนุนปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต่อการผลิตเกษตรอินทรีย์ การสนับสนุนให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตไปสู่การทำเกษตรที่มีความมั่งคงและยั่งยืน การผลักดันโครงการนำร่องเพื่อขับเคลื่อนการบูรณาการการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ และการบูรณาการพัฒนาการผลิตและการตลาด เป็นต้น

ภาพ 3 ภาพ 6 ภาพ 6
ภาพ 1 ภาพ 5 ภาพ 2

Leave a Reply