Millennium Development Goals-MDGs เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ
เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals-MDGs)
ใน พ.ศ. 2543 เกือบทุกประเทศทั่วโลก ได้มารวมตัวกันในการประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษขององค์การสหประชาชาติที่นคร นิวยอร์ก ในการประชุมครั้งนี้ ผู้นำรัฐได้ตกลงตั้งเป้าหมายในการพัฒนาที่ทุกประเทศจะต้องบรรลุให้ได้ภายใน พ.ศ. 2558 เป้าหมายดังกล่าว เรียกว่า เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals) มีทั้งหมด 8 เป้าหมาย ได้แก่
เป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจนและความหิวโหย
– การลดสัดส่วนประชากรที่มีรายได้ต่ำกว่า 1 เหรียญสหรัฐ ต่อวันลงครึ่งหนึ่งในปี 2533-2558
– ลดสัดส่วนประชากรที่หิวโหยลงครึ่งหนึ่งในช่วงปี 2533-2558
เป้าหมายที่ 2 ให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา
– ให้เด็กทุกคนทั้งชายและหญิงสำเร็จการศึกษาในปี 2558
เป้าหมายที่ 3 ส่งเสริมบทบาทสตรีและความเท่าเทียมกันทางเพศ
– ขจัดความไม่เท่าเทียมทางเพศในการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาภายในปี 2548 และในทุกระดับการศึกษาภายในปี 2558
เป้าหมายที่ 4 ลดอัตราการตายของเด็ก
– ลดอัตราการตายของเด็กต่ำกว่าห้าปี ลงสองในสามในช่วงปี 2533-2558
เป้าหมายที่ 5 พัฒนาสุขภาพสตรีมีครรภ์
– ลดอัตรามารดาตายลงสามในสี่ในช่วงปี 2533-2558
เป้าหมายที่ 6 ต่อสู้โรคเอดส์ มาลาเรีย และโรคสำคัญอื่นๆ
– ชะลอและลดการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ภายในปี 2558
– ป้องกันและลดการเกิดโรคมาลาเรียและโรคสำคัญอื่นๆ ภายในปี 2558
เป้าหมายที่ 7 รักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
– กำหนดนโยบายและแผนพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนและลดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– ลดสัดส่วนประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำดื่มสะอาด และห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะลงครึ่งหนึ่งในปี 2558
– ยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรในชุมชนแออัด 100 ล้านคนทั่วโลกภายในปี 2563
เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในประชาคมโลก
– พัฒนาระบบการค้าและการเงินแบบเปิด ที่ทุกฝ่ายเคารพกฎและกติกาข้อตกลง มีความแน่นอน และไม่เลือกปฏิบัติให้ความสำคัญกับประเทศพัฒนาล้าหลัง
– ให้ความสำคัญกับประเทศที่ไม่มีพรหมแดนติดทะเลและประเทศหมู่เกาะขนาดเล็ก จัดการปัญหาหนี้ของประเทศกำลังพัฒนาด้วยมาตรการภายใน
และระหว่างประเทศเพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาในระยะยาว
– ร่วมมือกับประเทศกำลังพัฒนากำหนดและดำเนินการยุทธศาสตร์สร้างงานให้เยาวชน
– ร่วมมือกับบริษัทยา ดำเนินการให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงยาที่จำเป็นต่อการดำรงชีพในราคาถูก
– ร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ
ที่มา :
ข้อมูล – วารสารสุขภาพจิตประชากร& สังคม ปีที่3 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนธันวาคม 2555-มกราคม 2556
www.ipsr.mahidol.ac.th
ภาพ – http://www.siamintelligence.com/foreign-aid-part-12/