Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
การจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา: ลิงกับชาวบ้านเขาตังกวน-เขาน้อย จังหวัดสงขลา
Title
Environmental conflict management: Case study of macaque – human conflicts in Tangkuan Hill – Noi Hill, Songkhla Province
บทคัดย่อ
การจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา: ลิงกับชาวบ้านเขาตังกวน-เขาน้อย จังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างลิงกับชาวบ้านเขาตังกวน-เขาน้อยจังหวัดสงขลาและสาเหตุที่มีผลต่อความขัดแย้งลิงกับชาวบ้านเขาตังกวน-เขาน้อย จังหวัด โดยการวิเคราะห์เนื้อหาผ่านทฤษฎีความขัดแย้งวงกลมของมัวร์ โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งประกอบไปด้วย สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 (สงขลา) เทศบาลนครสงขลา และภาคประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเป็นแนวทางการจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา: ลิงกับชาวบ้านเขาตังกวน-เขาน้อย จังหวัดสงขลา ผลการศึกษาพบว่า การจัดการประชากรลิงด้วยการทำหมันที่ผ่านมา ไม่สัมพันธ์กับอัตราการเกิด และยังไม่มีการจัดการด้านพื้นที่ที่ดีพอ ด้านบริบทของสาเหตุความขัดแย้งพบว่า 1) ความขัดแย้งด้านข้อมูล (Data Conflict) ข้อมูลข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ควรมีการลงพื้นรับเรื่องร้องเรียน มากกว่าเพียงติดป้ายเตือนและแจ้งเรื่องการดูแลตนเองในแหล่งท่องเที่ยวมากขึ้น 2) ความขัดแย้งจากผลประโยชน์ (Interest Conflict) ประชากรลิงที่มีจำนวนมากเป็นแหล่งผลประโยชน์ของบางกลุ่มบุคคล 3) ความขัดแย้งด้านโครงสร้าง (Structural Conflict) การจัดการการจัดการหน้าที่ของเทศบาลในการดูแลที่พื้นที่ที่รับผิดชอบ 4) ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ (Relationship Conflict) ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับลิง 5) ความขัดแย้งด้านค่านิยม (Values Conflict) ค่านิยมจากการทำบุญ การให้อาหารสัตว์ การจัดการความขัดแย้งระหว่างลิงกับคน ควรมีการสร้างความร่วมมือและความเข้าใจในการแก้ไขปัญหาลิงร่วมกับหน่วยงานอื่นในจังหวัดสงขลา เพื่อการจัดทำและฟื้นฟูพื้นที่แนวเขตกันชนระหว่างพื้นที่อาศัยของลิงให้เหมาะสม และการทำหมันเพื่อควบคุมประชากรลิงในพื้นที่ ตรวจนับเพื่อติดตามประชากรลิงในพื้นที่ทุก 1-2 ปี เพื่อให้คนและลิงสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
Abstract
Environmental conflict management: Case study of macaque – human conflicts in Tangkuan Hill – Noi Hill, Songkhla Province This independent study aims to examine: 1) the process in solving macaque – human conflicts in Tangkuan Hill – Noi Hill, Songkhla Province; and, 2) the causes which affect macaque – human conflicts. Moore’s Circle of Conflict is used in analyzing and interviewing key informants, who are Protected Area Regional office 6 (Songkhla), Songkhla Municipality, and the public who are the beneficiaries. One of the findings is that the sterilization of the macaques in the past and their birth rate are not correlated. Moreover, there is no adequate management of the areas. The context of causes of the conflict is as follows: 1) Data conflict: Information and public relations activities should be more proactive than simple installation of warning signs. This could be field visits to receive complaints and more announcements on how to be more careful when visiting tourist attractions. 2) Interest conflict: Large population of macaques yields benefits to some groups of individuals.3) Structural conflict: Management of duties of the municipality in charge. 4) Relationship conflict between humans and the macaques 5) Values conflict: Values in merit-making and animal-feeding. The macaque – human conflict-solving should build on creating understanding with regard to the macaques and creating cooperation with other organizations in Songkhla Province. The cooperation should also aim at provision and restoration of the buffer zone of the macaques’ habitat. The sterilization of the macaques should also continue in order to control the population. The monitoring of local macaque population every 1 – 2 years should be encouraged. All these measures would enable humans and macaques to coexist in a sustainable manner.
คำสำคัญ
การจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม, ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสัตว์ป่า, ลิงแสม
Keywords
Environmental conflict management, human-wildlife conflict, Crab-eating Macaque