Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนเพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ของกรุงเทพมหานคร
Title
The Guidelines for Household Solid Waste Management to enter the Recycling Process of Bangkok
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ด้านการคัดแยกขยะในครัวเรือน ทัศนคติต่อการจัดการขยะมูลฝอยภาคครัวเรือน ความพึงพอใจของประชาชนต่อประสิทธิภาพการจัดการขยะมูลฝอยของสำนักงานเขต (กทม.) และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เพื่อสังเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในกรุงเทพมหานคร และเพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนเพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักสิ่งแวดล้อม สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 409 คน โดยการแจกแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความรู้ด้านการคัดแยกขยะครัวเรือน และ ทัศนคติที่มีต่อการจัดการขยะมูลฝอยภาคครัวเรือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่เหมาะสมกับการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ0.01 ตามลำดับ และ ปัจจัยด้านทัศนคติต่อการจัดการขยะมูลฝอยภาคครัวเรือน และปัจจัยความรู้ด้านการคัดแยกขยะในครัวเรือน สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชนในกรุงเทพมหานครได้ ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้ สำนักงานเขตต้องเข้มงวดในการใช้กฎหมาย โดยกำหนดพื้นที่ตัวอย่างในการนำมาตรการทางกฎหมายมาใช้อย่างเข้มงวดและจริงจัง ควรเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ เช่น ติดตั้งระบบ GPS ที่รถขนขยะ จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้การจัดการขยะเพิ่มขึ้นให้ครบทุกชุมชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนให้อยู่ในระดับที่ดีขึ้น และจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการคัดแยกขยะโดยใช้หลัก 3Rs และการสร้างมูลเพิ่มให้แก่ขยะมูลฝอย โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยและสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนและชุมชน
Abstract
The purposes of the study were 1) to analyze the relationship between household waste separation knowledge, the attitudes toward household solid waste management, people's satisfaction with the efficiency of solid waste management of the District Office (BKK), and household solid waste management behavior of people in Bangkok, were 2) to synthesize factors affecting household solid waste management in Bangkok residents , and were 3) to suggest the guidelines for household solid waste management to enter the recycling process to relevant agencies such as the Environment Department and District Office of Bangkok. This quantitative research was conducted from a sample of 409 residents in Bangkok and used an online questionnaire to collect data. The statistics used in the data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation. The hypothesis was tested using Pearson Correlation Coefficient and Multiple Regression Analysis. The findings showed that household solid waste management's behavior is at a medium level. The hypothesis testing revealed that the knowledge of household waste separation and attitudes towards household solid waste management related to the behavior suitable for household solid waste management of people in Bangkok has been statistically significant at 0.05 and 0.01, respectively. The factors affecting household solid waste management and knowledge of household waste separation can participate in predicting the household solid waste management behavior of people in Bangkok. The study has the suggestion as follows: The district office must be strict in applying the law by defining the sample area in the strict implementation of legal measures. The operational efficiency should be raised by using technology such as installing a GPS on the garbage truck. The district office should establish more waste management learning centers for every community to create public participation and adjust household waste management behavior to a better level. In addition, the workshops should organize to provide the knowledge and skills necessary to separate waste using the 3Rs principle and to create more waste using the circular economy concept to reduce the amount of solid waste and generate income for households and communities.