การบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมในการจัดการปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญ: กรณีศึกษาเหตุเดือดร้อนรำคาญ เทศบาลนครระยอง
The Enforcement of Environmental Law in Nuisance Management: A Case Study of Rayong Municipality
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิด หลักการ ทฤษฎี กฎหมายและนโยบายที่นำแนวคิดในการจัดการปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญของเทศบาลนครระยอง พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการบังคับใช้กฎหมายของเทศบาลนครระยอง และเสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายในการจัดการปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญของเทศบาลนครระยอง โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง จากนั้นวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคโดยใช้เทคนิค SWOT Analysis จากการศึกษา พบว่า ผู้บริหารเทศบาลนครระยองให้ความสำคัญในการจัดการปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญเป็นอย่างมาก มีช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนหลายช่องทาง มีขั้นตอนการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ชัดเจนและรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม พบปัญหาในเรื่องของการประสานงาน ระบบอุปถัมภ์ และการแจ้งเหตุเดือดร้อนรำคาญไม่ชัดเจน รวมทั้งการไม่ยอมรับผลการแก้ไขปัญหานำไปสู่การไม่สามารถยุติเหตุเดือดร้อนรำคาญได้ ดังนั้น การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยเหตุเดือดร้อนรำคาญในเขตเทศบาลนครระยองมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการจัดการปัญหาเดือดร้อนรำคาญในระดับดี ซึ่งหากมีการพัฒนาปรับปรุงเทศบัญญัติให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ประชาสัมพันธ์ระเบียบข้อกฎหมายให้ประชาชนทราบ เพิ่มเติมองค์ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยเหตุเดือดร้อนรำคาญในเขตเทศบาลนครระยองมีประสิทธิภาพ
The objective of this study was to study the concepts, principles, theories, laws, and policies applied to manage and resolve nuisance in Rayong Municipality. With a qualitative research, it aims to analyze the municipal law enforcement’s difficulties and defects in order to recommend any guideline for boosting its efficiency and to handle nuisances in the municipality. Moreover, the SWOT Analysis technique was also used in this research to evaluate both primary and secondary data collected from the study. According to the research, it was found that the Rayong Municipality Administration (RMA) has regularly placed a high value on the control of nuisance issues such as response to complaints through a variety of channels, making its rapid and clear fact-checking procedure. However, there were some shortcomings on its implementation leading to ineffective coordination, sponsorship, and unclear notice of nuisances, including a refusal to accept the outcomes of problems precisely. All of theses were finally contributed to the incapacity to resolve the nuisance. Therefore, the Rayong Municipality's implementation of its nuisance law would become sufficient to handle nuisance if it would be tailored to the current contexts by making the rules and regulations available to the existing population and increasing RMA and other competent officers’ awareness and encouraging public participation in the municipality rendering the RMA’s resolution to nuisance more effective.