พฤติกรรมการจัดการขยะของสมาชิกธนาคารขยะเทศบาลนครระยอง ภายใต้แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
Solid waste management behavior of Rayong Municipality waste bank's members under the circular economy principle
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะของสมาชิกธนาคารขยะเทศบาลนครระยอง ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะดังกล่าวตลอดจนศึกษาแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการขยะของสมาชิกธนาคารขยะเทศบาลนครระยอง ภายใต้แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง สมาชิกธนาคารขยะเทศบาลนครระยอง จำนวน 218 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test , F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการจัดการขยะ ภายใต้แนวคิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยรวมอยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ เพศ ระดับการศึกษา และอาชีพของสมาชิกธนาคารที่ต่างกัน มีพฤติกรรมการจัดการขยะ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนสมาชิกธนาคารขยะที่มีรายได้ต่างกัน มีพฤติกรรมการจัดการขยะแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ปัจจัยด้านความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ และเจตคติที่มีต่อการจัดการขยะของสมาชิกธนาคาร มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะ ส่วนปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะ การรับรู้ประโยชน์ในการคัดแยกขยะ และการมีระบบสนับสนุนการจัดการขยะจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะของสมาชิกธนาคาร แนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการขยะ ได้แก่ ควรมีนโยบายส่งเสริมด้านการคัดแยกขยะจากต้นทาง มีการประชาสัมพันธ์และเพิ่มช่องทางในการส่งเสริมให้เกิดความรู้และเจตคติให้กับประชาชน
The purpose of this research were to study solid waste management behavior of Rayong Municipality waste bank’s members, analyze factors related to such behavior, as well as to suggest approaches for boosting waste management behavior among Rayong municipal waste bank’s members under the circular economy principle. This study was a quantitative research that was conducted on a sample group of 218 people. A questionnaire was used to collect data, and the results were evaluated using statistics such as percentage, mean, standard deviation, and hypothesis testing with the t-test, F-test, and Pearson’s correlation coefficient. The results of the study found that waste management behavior under the concept of a circular economy principle overall were at a high level. The hypothesis testing results revealed that the sample group of waste bank’s members with different personal factors such as age, sex, educational level, and careers had no statistically significant differences in waste management behaviors, while the waste bank’s members with different incomes had different behavior at statistical significance 0.05. In addition, knowledge about waste management, and attitudes toward waste management had significant relationship with their waste management behavior. On the other hand, information receiving, and recognizing the benefits of waste separation, a mechanism to support waste management from local authority had no relationship with waste management behaviors. Suggestions for enhancing waste management behaviors are promoting waste separation from the source, increasing public relations and channels to promote knowledge and attitudes of the local people.