Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
การศึกษาและประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดการขยะ กรณีศึกษา: ชุมชนปากน้ำ 1
Title
A Study and Application of Sufficiency Economy Philosophy in Waste Management: A Case Study of Paknam 1 Community
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์ สภาพปัญหา อุปสรรคของการจัดการขยะ หลักการ แนวคิด ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ถูกนำมาใช้ในบริบทการจัดการขยะ และเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการนำหลักการ แนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เหมาะสมในการจัดการขยะในชุมชนปากน้ำ 1 อำเภอเมือง จังหวัดระยอง การวิจัยดังกล่าวเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสาร และรายงานที่เกี่ยวข้อง และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารหน่วยงานท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาวิเคราะห์ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก (SWOT Analysis) พบว่า ชุมชนมีการดำเนินกิจกรรมด้านการจัดการขยะที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เนื่องจากวิสัยทัศน์และนโยบายของผู้บริหาร ผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง การบริหารจัดการที่ดี แต่ยังพบจุดอ่อน คือ ลักษณะพื้นที่ในชุมชนค่อนข้างแออัด ทำให้รถเก็บขยะเข้าไม่ถึง ในบางพื้นที่ รวมทั้งมีประชากรแฝงและต่างด้าวอาศัยอยู่ ดังนั้นจึงนำมาสู่การสร้างแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพที่มีผลต่อการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ โดยการส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ความเข้าใจในหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการมีส่วนร่วม โดยปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชน ต้องเริ่มจาก การปลูกฝังคุณธรรมให้ประชาชนมีทัศนคติ จิตสำนึกที่ดีต่อส่วนรวม ชุมชนจึงจะสามารถพึ่งพาตนเองด้านการจัดการขยะได้อย่างยั่งยืน
Abstract
This research’s objective was to study a situation, condition, key problems, and threats of waste management, based on the sufficiency economy philosophy principle and concept in order to establish guidelines for developing waste management efficiency upon the philosophy. This research specifically narrowed to waste management in PakNam 1 community, Muang District, Rayong Province. A qualitative research was moreover applied to seek the research’s findings which collected a variety of documents and in-depth interviews with local authorities, community leaders and relevant officials. This research’s analysis mainly applied a SWOT analysis method to find that the community carried out waste management activities in accordance with the sufficiency economy philosophy due to related policies and a strong vision’s community leader however its weakness was found in its overcrowded areas where garbage collection vehicles were inaccessible into such areas as well as a latent population and a foreigner living. According to the findings, the creation of guidelines for feasible application of the sufficiency economy philosophy should be recommended by promoting public awareness on the philosophy and also by making public participation concrete and this would be significantly embeded in community members’ morality and attitude in order to encourage good conscience for the community’s members who would be probably able to depend on themselves in promoting their sustainable waste management.