รูปแบบการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19
Guidelines for Promoting the Consumption of Eco-friendly Products during the COVID-19 Pandemic
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ นโยบาย และมาตรการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19, วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 และเสนอรูปแบบการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนสำคัญในการกำหนดนโยบาย ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 3 หน่วยงาน ได้แก่ ผู้แทนจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, ผู้แทนจากมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และผู้แทนจากบริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) ประกอบกับการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มผู้บริโภคจำนวน 416 คน ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญ แล้วใช้ CIPP-I Model ในการเสนอรูปแบบการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ผลการศึกษาพบว่า ในสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 มาตรการส่งเสริมต่าง ๆ ถูกลืมเลือนไป เนื่องจากผู้บริโภคคำนึงถึงความปลอดภัยจากโควิด-19 และความสะดวก มากกว่าการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม โดยมีผู้บริโภคเพียง 20.7% ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น เมื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า 1) ด้านปัจจัยทั่วไป ผู้บริโภคที่มีช่วงอายุต่างกัน จะมีทัศนคติและพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 2) ด้านทัศนคติ ผู้บริโภคมีทัศนคติกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมระดับมาก โดยที่ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงบวก ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และ 3) ด้านส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ผลิตภัณฑ์, ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการขาย สัมพันธ์กับพฤติกรรมในระดับต่ำ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และราคาสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในระดับต่ำมาก ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ดังนั้น รูปแบบการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมควรเน้นไปที่วัยของผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุระหว่าง 18-30 ปี ในการสื่อสารให้เห็นข้อดีและประโยชน์ที่สังคมจะได้รับโดยรวม ด้วยการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ผ่านสื่อออนไลน์เป็นหลัก เนื่องจากเป็นกลุ่มที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่าย อีกทั้ง สื่อออนไลน์เป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมในสถานการณ์โควิด-19 นอกจากนี้ ควรบูรณาการความร่วมมือกันทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน อาทิ ผู้ผลิต, แพลตฟอร์มซื้อขายออนไลน์ ในการผลักดันหรือเพิ่มแรงจูงใจ เช่น การบังคับใช้กฎหมาย, การให้ส่วนลดหรือโปรโมชันพิเศษ ฯลฯ เพื่อสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดผลกระทบอันดีเป็นลูกโซ่ต่อทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถขับเคลื่อนไปสู่การบริโภคที่ยั่งยืนได้
The objectives of this independent study were to investigate the situation, policies and measures for promoting the consumption of eco-friendly products during the COVID-19 pandemic, to analyze the factors affecting the consumption of eco-friendly products during the COVID-19 pandemic, and to present the model for promoting the use of eco-friendly products during the COVID-19 pandemic. Data were collected through in-depth interviews with key stakeholders in policy making by using a purposive sampling selection from 3 agencies, including representatives from Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT), Thailand Environment Institute (TEI), and Biodegradable Packaging for Environment Public Company Limited (BPE). In addition, a questionnaire was used as a research instrument to collect data from the sample of 416 consumers, obtained based on an accidental selection. The CIPP-I Model was used to propose a model for promoting the use of eco-friendly products during the COVID-19 pandemic. The major findings indicated that promoting measures during the COVID-19 pandemic have been overlooked because consumers were more concerned about COVID-19 safety and convenience than environmental concerns. The results showed that only 20.7% of consumers used more eco-friendly products. When the related factors were studied, it was found that 1) for general factors, consumers with different ages had different attitudes and behaviors of using eco-friendly products with a significance level of 0.05, 2) consumers’ attitude towards eco-friendly products was at a high level. The attitude was positively correlated with the behavioral consumption of eco-friendly products with a significance level of 0.01, and 3) for marketing mix, it was found that product, place, and promotion were lowly related with behavioral consumption of eco-friendly products with a significance level of 0.01. Price was related with behavioral consumption of eco-friendly products with a significance level of 0.05. Therefore, the guidelines for promoting the use of eco-friendly products should focus on the age of the consumers, particularly those between the ages of 18 and 30, in order to communicate the advantages and benefits that society as a whole will receive through public relations to raise awareness, primarily via online media. This is a group with easy access to technology, and in the COVID-19 situation, online media is a suitable format for social distancing measures. Furthermore, collaboration should be integrated into all sectors, both public and private sectors, such as manufacturing and online trading platforms to encourage or increase the use of eco-friendly products through incentives such as law enforcement, special discounts or promotions, and so on, creating a positive impact on the economy, society, and environment and potentiality to encourage people to consume eco-friendly products in a more sustainable way.