Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
การจัดการขยะฐานศูนย์ของชุมชนเกาะกก โดยใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
Title
Zero Waste Management of Koh Kok Community Based on Circular Economy Principle
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการขยะฐานศูนย์ของชุมชนเกาะกกโดยใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ใช้วิธีการวิจัยเชิงประเมิน โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและประชาชน จากการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาด้านการจัดการขยะของชุมชนเกาะกก มีดังนี้ 1) ปัญหาด้านการการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2) ปัญหาประชาชนไม่คัดแยกขยะ 3) ปัญหาการประชาสัมพันธ์ ชุมชนเกาะกกจึงได้มีการจัดการขยะฐานศูนย์ของชุมชนเกาะกกโดยใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน แบ่งขยะเป็น 3 ประเภท คือ 1) ขยะอินทรีย์ 2) ขยะรีไซเคิล 3) ขยะทั่วไป การวิเคราะห์การดำเนินงานด้านการจัดการขยะฐานศูนย์ของชุมชนโดยใช้ Balanced Scorecard ทั้ง 4 มิติ พบว่า 1) มิติประสิทธิผล ประชาชนยอมรับการจัดการขยะ แต่การให้ความร่วมมือในการคัดแยกขยะของประชาชนยังค่อนข้างน้อย 2) มิติด้านการบริหารจัดการ แผนงาน/โครงการยังไม่บรรลุเป้าหมายเท่าที่ควร เนื่องจากขาดความร่วมมือในการคัดแยกขยะ ขาดการประเมินผล และการปรับปรุงโครงการให้มีความต่อเนื่อง 3) มิติกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประชาชนอาสาสมัครเข้ามาเป็นผู้นำชุมชน และคณะกรรมการชุมชนร่วมเสนอแนวทางและข้อคิดเห็นในการจัดการขยะ 4) มิติกลุ่มการเรียนรู้และพัฒนา มีการจัดการอบรม และให้ความรู้ รวมถึงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ฯ แต่ขาดความต่อเนื่องของโครงการ และการติดตามประเมินผล การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการขยะ พบว่า 1) ปัจจัยภายใน ผู้นำชุมชนและบุคลากรเป็นแบบอย่างที่ดี และมีการฝึกอบรมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดโครงสร้างองค์กรที่เน้นการทำงานเป็นทีม มีการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ปิดประกาศไว้ ณ ศูนย์การเรียนรู้ฯ แต่ประชาชนยังขาดความตระหนัก และขาดจิตสำนึกสาธารณะ โดยคิดว่าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของภาครัฐ 2) ปัจจัยภายนอก ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกในการสนับสนุนองค์ความรู้และงบประมาณในการจัดทำโครงการการจัดการแยกขวดพลาสติก โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่มีแนวโน้มให้ความสนใจกับการแยกขยะมากขึ้น ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรมีการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากขยะ โดยมีการรณรงค์ให้มีการคัดแยกขยะ มีการอบรมให้ความรู้ประชาชนเรื่องการจัดการขยะอย่างทั่วถึงทุกกลุ่มวัยภายในชุมชนเกาะกกอย่างต่อเนื่อง และควรจัดให้มีการแยกขยะเพิ่มเติม เช่น ขยะอันตราย และขยะมูลฝอยติดเชื้อ
Abstract
This research studied zero waste management in Koh Kok Community based on the Circular Economy Principle by employing assessment research methods. The research examined relevant documents and data was gathered by interviewing local leaders and local people. The study revealed that Koh Kok Community had 3 challenges regarding zero waste management: 1) Lack of supports from other agencies, 2) Residents did not separate their waste, and 3) Lack of information dissemination. Thus, zero waste management based on the Circular Economy Principle was adopted by separating waste into 3 types: organic waste, recycled waste, and general waste. The analysis of community-based zero waste management operations through the use of the balanced scorecard approach with four dimensions found that: 1) The effectiveness: local people adopted waste management, but there was still a low level of collaboration for waste separation. 2) The management: project plans fell short of their objectives due to a lack of collaboration in waste management and the discontinuity of the projects. 3) The stakeholders: local people volunteered to be local leaders and the committee made recommendations and expressed their views on waste management. 4) The learning and development: local people are trained and educated through a learning center. However, there was no follow-up, review, or analysis of waste management factors. The analysis of waste management found that: 1) Internal Factors: Community leaders and personnel served as good role models, continuously undergoing management training, there was a group of local people working as a team, and there was public information at the learning center. However, some local people still lacked awareness as they believed that the government owed a special obligation to the management. 2) External Factors: there were supports from other organizations in promoting the separation of plastic bottles, and the new generation groups were interested in waste separation management. Suggestions are that there should be awareness raising for local people on waste-related issues. Additionally, the community's residents should be trained on how to properly manage waste and there should be a better system on hazardous and infectious waste management.