พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
Solid waste management behavior of people inmunicipalities SamnakThon Subdistrict,BanChang District,Rayong Province
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชน ในเขตเทศบาลตำบลสำนักท้อน จังหวัดระยอง และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลสำนักท้อน จังหวัดระยองรวมทั้งปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการจัดการขยะ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test,F-test และวิเคราะห์เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน(Pearson Product Moment Correlation Coefficient) ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีอาชีพ การศึกษา รายได้และจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจ,การมีส่วนร่วม,ทัศนคติและการรับรู้ข่าวสารด้านการจัดการขยะมูลฝอย มีความสัมพันธ์กันกับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้ เทศบาลควรส่งเสริมให้ความรู้สร้างกลยุทธ์ด้านการจัดการขยะให้มีการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด จัดหาถังขยะแบบแยกประเภทให้ครบทุกชุมชน สร้างพื้นที่ส่วนกลางในการคัดแยกขยะ เน้นการสื่อสารประชาสัมพันธ์ด้านการจัดการขยะให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมที่ดีในการจัดการขยะให้มากยิ่งขึ้น
The objectives of this study were 1) to study the solid waste management behavior of the people. in Samnak Thon Subdistrict Municipality, Rayong Province, and 2) to study the factors related to solid waste management behavior of people in Samnak Thon Subdistrict Municipality. Rayong Province, including problems, obstacles and recommendations for waste management This study was a quantitative research. This study was conducted from a sample group of 120 people living in Samnak Thon Subdistrict Municipality, Ban Chang District, Rayong Province. The instruments used for data collection were questionnaires, data were analyzed by using statistics, percentage, mean, standard deviation and hypothesis testing. t-test,F-test and analyzed to find the Pearson Product Moment Correlation Coefficient. The results showed that Solid waste management behavior of people in Samnak Thon Sub-District Municipality, Ban Chang District, Rayong Province overall, was at a high level. The hypothesis testing results showed that Individual factors such as sex, age and length of stay in different areas had no different solid waste management behaviors. statistically significant at the 0.05 level As for people with different occupation, education, income and number of household members have different solid waste management behaviors. with statistical significance at the 0.05 level. Factors on cognition, participation, attitude and awareness of solid waste management. There is a relationship with solid waste management behavior. statistically significant at the 0.05 level The results of the study were suggested as follows: The municipality should promote knowledge and create a waste management strategy to make the most of waste reuse. Provide separate types of bins for every community. Create a common area for waste separation. Emphasis is placed on public relations on waste management to the public in order to promote good behavior in waste management.