ประสิทธิผลการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน: กรณีศึกษา บริษัทแห่งหนึ่ง ในจังหวัดระยอง
Effectiveness of Occupational Safety, Health and Environment Management: A Case Study of a Company in Rayong Province
การค้นคว้าอิสระฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน: กรณีศึกษา บริษัทแห่งหนึ่ง ในจังหวัดระยอง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลการศึกษาจากเอกสารและรายงานที่เกี่ยวข้อง และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจงโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของบริษัทกรณีศึกษา ประกอบไปด้วย ผู้จัดการสาขาระยอง จำนวน 1 คน วิศวกรโครงการ จำนวน 2 คน หัวหน้างาน จำนวน 2 คน ตัวแทนฝ่ายลูกจ้างในคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม จำนวน 1 คน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ จำนวน 2 คน และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค จำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้น 10 คน ผลการศึกษาและการประเมินประสิทธิผลการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของบริษัทกรณีศึกษา ตามตัวชี้วัดทั้ง 3 องค์ประกอบ คือ ปัจจัยเข้า (Input) ปัจจัยกระบวนการ (Process) และปัจจัยผลผลิต (Output) ได้คะแนนร้อยละ 100, 96.7 และ 66.7 ตามลำดับ ได้คะแนนรวม 89.0 คะแนนจาก 100 คะแนน จึงสรุปได้ว่า ผลการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของบริษัทกรณีศึกษา อยู่ในระดับ “ดี” ผลจากการวิเคราะห์ SWOT สำหรับปัจจัยภายใน พบว่า จุดแข็ง คือ ฝ่ายบริหารมีความมุ่งมั่น และให้ความสำคัญกับการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จุดอ่อน คือ หัวหน้างานและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยมีความรู้ไม่เพียงพอในกฎระเบียบด้านความปลอดภัย และขาดภาวะผู้นำในการควบคุมความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ด้านการกำกับดูแลพนักงานและผู้รับเหมาช่วงตามมาตรการป้องกันโควิด – 19 ควบคุมได้เฉพาะในพื้นที่ทำงาน ปัจจัยเชิงบวกจากสภาพแวดล้อมภายนอก ที่เป็นโอกาส คือ อัตราการเพิ่มกำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ทำให้มีการก่อสร้างและการปรับปรุงโรงงานมากขึ้น ส่วนอุปสรรคที่ไม่สามารถควบคุมได้ คือ การแพร่ระบาดของโควิด – 19 ทำให้บริษัทต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนมาตรการป้องกันพนักงานไม่ให้ติดเชื้อโควิด – 19 ผลการวิเคราะห์ TOWS Matrix (TOWS) ได้ข้อเสนอแนะเป็นแนวทางในการพัฒนา ปรับปรุงการจัดการด้านความปลอดภัย โดยมีกลยุทธ์เชิงรุก คือ สร้างเสริมระบบการจัดการด้านความปลอดภัยฯ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กลยุทธ์เชิงแก้ไข คือ อบรมเสริมทักษะในการควบคุมความปลอดภัยให้กับหัวหน้างาน และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย กลยุทธ์เชิงป้องกัน คือ จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอต่อการดำเนินมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด – 19 กำกับดูแลและควบคุมการปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด และกลยุทธ์เชิงรับ คือ จัดทำแผนฉุกเฉินกรณีพบพนักงานติดเชื้อ มีขั้นตอนการปฏิบัติ รวมถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว
The objective of this study was to find out the effectiveness of occupational safety, health and environment management: a case study of a company in Rayong province. It was qualitative research that collected data from related documents and reports. Interviewed people involved in the occupational safety, health environment management of company's case study consisted of one Rayong branch manager, two project engineers, two supervisors, one Occupational Safety, Health and Environment Committee employees representative, two safety officer at professional level and two safety officers at the technical level, a total of ten persons. This study found that the input, process, and output scores are 100, 96.7, and 66.7 percent; respectively. The total evaluated scores are 89.0 from 100. Which was that mean a good level. In addition, the results of this study found that the strength was determining occupational safety, health and environment management. The weakness was supervisors and safety officers who had insufficient knowledge of safety regulations; also, lack of leadership, which was uncontrollable into operating safety, supervision of employees, and subcontractor according to preventive measures COVID – 19 in the workplace. In term of external factors, an opportunity, was the rate of increasing capacity in the petrochemical industry construction and renovation of the factory increasingly. The obstacle was the pandemic of COVID – 19, which caused the company to allocate more budgets to support and prevent employees from contracting COVID – 19 situations. In conclusion, this study suggested a guideline for development and Improvement of the occupational safety, health and environment management. The proactive strategy strengthened the occupational safety, health and environment management system to be more efficient. The corrective strategy was safety control skill training with supervisors and safety officer. The preventive strategy was sufficient budget allocation to implement the pandemic of COVID – 19 situations. The passive strategy was an emergency plan prepared for employees, who were found detected. These consist of implementing and communicating procedures where an employee is infected to control the spread quickly.