Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
บทบาทของโรงงานอุตสาหกรรมในด้านการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษา เขตประกอบการอุตสาหกรรมดับบลิว เอชเอ สระบุรี
Title
Roles of Industries in Environmental Quality Surveillance: A Case Study in WHA Saraburi Industrial Land.
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง บทบาทของโรงงานอุตสาหกรรมในด้านการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษา เขตประกอบการอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ สระบุรี มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ เพื่อศึกษาบทบาทของโรงงานอุตสาหกรรมในด้านการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม และเพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมบทบาทของโรงงานอุตสาหกรรมในด้านการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ สระบุรี ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 22 โรงงาน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ค่าสถิติ t – test, F – test, One Way ANOVA และ Pearson’s Correlation ผลการศึกษา พบว่า เจ้าของกิจการถือสัญชาติไทยมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 36.4 กลุ่มตัวอย่างประกอบกิจการประเภทกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิค และโลหะขั้นกลาง/ขั้นปลายมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 22.7 ส่วนใหญ่เป็นโรงงานขนาดใหญ่ (เงินทุนมากกว่า 200 ล้าน/คนงานมากกว่า 200 คน) คิดเป็นร้อยละ 50.0 ระยะเวลาของการดำเนินกิจการ มากกว่า 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 45.4 เป็นโรงงานที่มีนโยบายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 100 ส่วนใหญ่มีความพร้อมของบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 77.3 และโรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) คิดเป็นร้อยละ 81.8 เป็นโรงงานที่จัดให้มีระบบการจัดการมลพิษสิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 100 ส่วนใหญ่เคยรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเฝ้าระวังมลพิษสิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 86.4 ได้รับข้อมูลข่าวสารจากข่าวสารอิเลคทรอนิกส์ (E – mail) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 29.6 ในแต่ละครั้งจะใช้ระยะเวลา 1 เดือน คิดเป็นร้อยละ 68.4 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมาย หรือมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) การสนับสนุนภายในองค์กร ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบจากมลพิษสิ่งแวดล้อม ทัศนคติในการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม และบทบาทในด้านการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ความต่างกันของสัญชาติของเจ้าของกิจการ ประเภทโรงงานอุตสาหกรรม ระยะเวลาการดำเนินกิจการ ความพร้อมของบุคลากรด้านสิ่งแวดล้อม การได้รับมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 และการรับรู้ข่าวสารไม่ได้ส่งผลให้มีบทบาทในด้านการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่พบว่า ความต่างกันของขนาดโรงงาน มีผลต่อการมีบทบาทในด้านการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบมลพิษสิ่งแวดล้อมไม่มีความสัมพันธ์กับบทบาทในด้านการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนมาตรการทางกฎหมาย หรือมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) และการสนับสนุนภายในองค์กร มีความสัมพันธ์กับบทบาทในด้านการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และทัศนคติในการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์กับบทบาทในด้านการเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01
Abstract
This research was aimed to study the role of industries in environmental quality surveillance with a case study in WHA Saraburi Industrial Zone. The objectives of this study were to study the role of industrial factories in environmental quality surveillance, and to propose guidelines to promote the role of industrial plants in the field of environmental quality surveillance located in the WHA Saraburi Industrial Land. Data were collected by questionnaire from 22 sampled industries. Hypothesis testing was conducted by t – test, F – test One Way ANOVA and Pearson’s Correlation. From the research, the result showed that the most of business owners were Thai citizens at about 36.4 %. At 22.0 %, the most samples were in the category of ceramic industry, the semi – finished metal and finished metal. Most of them were large factories (assets are more than 200 million baht and more than 200 workers) at 50%, 45.4% of the samples have been running their business over 20 years. All 100% of these factories had an environmental management policies. The majority of them have readiness of their personnel in environmental matter at 77.3%, 81.8 % of the factories were certified with the Environmental Management System (ISO 14001). All 100% of the factories had an environmental pollution management system. Most of them had been received the information about the environmental pollution surveillance at 86.4%, 29.6% received information from electronic news (E – mail) the most, and 68.4% take one month each time to receive the information. The result showed the opinions about legal measures or environmental management standards (ISO 14001), internal support, knowledge and understanding about the impact of environmental pollution, attitude in environmental surveillance, and the role in environmental surveillance were at the high level. The result of hypothesis test showed that the nationality difference of the business owners, the industrial factory types, the duration of operation and the readiness of personnel in environmental matter. By receiving ISO 14001 environmental management standard and receiving the information did not effect much to the roles of environmental surveillance with statistical significance at the level of 0.05. Besides, the result showed that the factory sizes difference also effect on the role of environmental surveillance. There was a statistically significant at the level of 0.05. The cognitive effects of environmental pollution were not related to the role of industries in environmental quality surveillance, statistically significant at the 0.05 level. The compulsory legal or Environmental Management Systems (ISO 14001) and internal support corelated with the role of industries in environmental quality surveillance, statistically significant at the 0.05 level. Attitude in environmental surveillance corelated with the role of industries in environmental quality surveillance, statistically significant at the 0.01 level.