ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนเพื่อมุ่งสู่การเป็น Smart Farmer กรณีศึกษา: การเพาะเลี้ยงปลาสลิด อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
Social return on investment to become Smart Farmer A Case Study: the snakeskin gourami (Plasalid) Farming Bang Bo District, Samut Prakan Province.
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนของการเพาะเลี้ยงปลาสลิดรูปแบบการเลี้ยงแบบกึ่งพัฒนา ประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนการเพาะเลี้ยงปลาสลิด ประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกก่อนและคาดการณ์หลังการเพาะเลี้ยงแบบ Smart Farmer จากการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 165 ครัวเรือนในแต่ละหมู่บ้านและใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตาเป็นสัดส่วน ผลการศึกษาพบว่าระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทาง Smart Farmer ของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาสลิดในพื้นที่ อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย 0.45 ทัศนคติเกี่ยวกับแนวคิด Smart Farmer อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ย 2.82 พฤติกรรมที่สอดคล้องต่อแนวทาง Smart Farmer ของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาสลิดอยู่ในระดับน้อย โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 2.12 จากการทดสอบสมมุติฐานพบว่า อาชีพหลัก รายได้เฉลี่ยจากการเพาะเลี้ยงปลาสลิด สมาชิกในครัวเรือนที่ทำงานในบ่อเลี้ยงปลาสลิด ที่ต่างกันจะมีความรู้ความเข้าใจด้านแนวทาง Smart Farmer ที่แตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) อีกทั้งเพศ อายุ ระดับการศึกษา ที่ต่างกันจะมีทัศนคติต่อแนวทาง Smart Farmer ที่แตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพหลัก รายได้จากการเพาะเลี้ยงปลาสลิด ที่ต่างกันจะมีพฤติกรรมด้านแนวทาง Smart Farmer ที่แตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) โดย ความรู้ และพฤติกรรม มีความสัมพันธ์กันในทางบวกทางสถิติ (P<0.01) การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการเพาะเลี้ยงปลาสลิดก่อนและคาดการณ์หลังการเพาะเลี้ยงแบบ Smart Farmer พบว่าการดำเนินการเพาะเลี้ยงในปัจจุบันมีค่าผลตอบแทนทางสังคมจากการเพาะเลี้ยงปลาสลิดเท่ากับ 1.90 ต้นทุนในการเพาะเลี้ยงแบ่งออกเป็น 3 กระบวนการหลัก ได้แก่ การเตรียมบ่อ การเพาะเลี้ยง การเก็บเกี่ยว และมีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกก่อนการนำแนวทาง Smart Farmer มาประยุกต์รวมทั้งสิ้น 2.038 KgCO2eq /รอบ/ไร่การเพาะเลี้ยง และผลตอบแทนทางสังคมหลังการคาดการณ์มีค่าผลตอบแทนทางสังคมจากการเพาะเลี้ยงปลาสลิดเท่ากับ 2.43 และมีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งสิ้น 1.660 KgCO2eq /รอบ/ไร่การเพาะเลี้ยง สำหรับการนำแนวทาง Smart Farmer มาประยุกต์ใช้ ได้แก่ การเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องการเพาะเลี้ยงปลาสลิด การนำข้อมูล ความรู้ มาใช้การประกอบการตัดสินใจในแก้ไขปัญหาและพัฒนาอาชีพ เพื่อคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภค การลดต้นทุนจากการเพาะเลี้ยงปลาสลิด การจัดการของเหลือจากการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ การคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมโดยการเปลี่ยนแปลงพลังงานเชื้อเพลิง จากน้ำมันดีเซลมาใช้ biodiesel บ่งชี้ได้ว่าการนำแนวทาง Smart Farmer มาประยุกต์ใช้จะสามารถเพิ่มผลตอบแทนทางสังคมสูงขึ้นร้อยละ 27.89 สามารถช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงถึงร้อยละ 18.55
This study aimed to study the process of snakeskin gourami (Plasalid) Farming, the pattern of semi-intensive farming, the evaluation of Social Return on Investment (SROI) of snakeskin gourami (Plasalid) Farming, and CO2 equivalent emission before and after forecasts of Smart Farmer concepts. Data were collected by questionnaire from 165 households in 23 villages using the proportion quota sampling method. The results showed that the level of knowledge about the Smart Farmer approach of snakeskin gourami (Plasalid) Farmers in the area was at moderate level, with an average score of 0.45. The attitude about the Smart Farmer concept was at moderate level, with an average score of 2.82. The behavior consistent with the Smart Farmer approach of snakeskin gourami (Plasalid) Farmers was at low level, with an average score of 2.12. Based on the hypothesis testing, it was found that the difference in occupation, average income from snakeskin gourami (Plasalid) farming, and family members working in snakeskin gourami ponds had statistically significant differences in knowledge of the Smart Farmer approach (p <0.05). The difference in gender, age, and education level had statistically significant differences in attitudes of the Smart Farmer approach (p <0.05). Moreover, the difference in highest education level, occupation, and income from snakeskin gourami (Plasalid) farming had statistically significant differences in behaviors of the Smart Farmer approach (p <0.05). Knowledge and behavior were statistically positive related (p <0.01). Assessment of SROI in snakeskin gourami (Plasalid)farming before and after applying of Smart Farmer concepts were 1.90 and 2.43 respectively the cost of farming was divided into three main processes, which were pond preparation, farming, and harvesting. CO2 equivalent emission before applying the Smart Farmer approach was a total of 2.038 KgCO2eq /crop/Rai and when after applying, CO2 equivalent emission was 1.660 KgCO2eq / crop / Rai. As far as a forcasting of the implementation of Smart Farmer concepts there are increasing knowledge about snakeskin gourami (Plasalid) Farming, applying knowledge to decision making in solving the problems, career development for product quality and consumer safety, and reduce the main cost of snakeskin gourami Farming. Also, the management of waste from production increases economic value and consider environmental responsibility by changing the fuel energy from diesel to biodiesel. It indicates that the implementation of Smart Farmer concepts to snakeskin gourami (Plasalid) farming can increase social returns on investmen by 27.89% and can help reduce CO2 equivalent emission by 18.55%.