Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
แนวทางการกำหนดแก้ไขเกณฑ์ค่าพีเอช (pH) น้ำใต้ดิน ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ของจังหวัดระยอง
Title
The Guidelines for Editing The Potential of Hydrogen (pH) Criteria for Underground water as per The Announcement of The Ministry of Industry in Rayong.
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อจัดทำข้อมูลพื้นฐานค่าพีเอช (pH) ของน้ำใต้ดินระดับตื้นในพื้นที่จังหวัดระยอง และนำข้อมูลพื้นฐานค่าพีเอช (pH) ในพื้นที่จังหวัดระยองไปเสนอความเห็นในการทบทวนความเหมาะสมของเกณฑ์มาตรฐานค่าพีเอช (pH) ให้มีความสอดคล้องกับพื้นที่ที่กฎหมายบังคับใช้ ทำให้เห็นว่ากฎหมายต้องมีการกำกับดูแลอย่างเข้มงวดและสามารถใช้งานในทางปฏิบัติได้ โดยการศึกษาวิจัยนี้จะศึกษาข้อมูลในขอบเขตจังหวัดระยอง ได้แก่ พิกัดจุดเก็บตัวอย่างของบ่อสังเกตการณ์น้ำใต้ดินภายในบริเวณโรงงาน ค่าพีเอช (pH) ในน้ำใต้ดิน ปี พ.ศ. 2563 ข้อมูลชุดดินในพื้นที่จังหวัดระยอง ปี 2561 ข้อมูลโรงงานในพื้นที่จังหวัดระยอง และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาข้อมูลในเชิงพื้นที่สามารถคาดการณ์หรือประมาณค่าพีเอช (pH) ของน้ำใต้ดิน ทำให้เห็นว่าสภาพพื้นที่ของจังหวัดระยองนั้นมีค่าพีเอช (pH) ที่ต่ำ ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานโดยที่ค่าน้อยกว่า 6.5 และจากการศึกษาข้อมูลชุดดินได้ให้ผลลัพธ์ไปทางเดียวกัน คือดินมีค่าความเป็นกรด เมื่อฝนตกสามารถทำให้เกิดการชะล้างสารละลายลงสู่น้ำใต้ดิน ส่งผลให้น้ำใต้ดินมีค่าเป็นกรดเช่นกัน ซึ่งสอดคล้องผลการตรวจวัดคุณภาพในน้ำใต้ดินของโรงงานในพื้นที่จังหวัดระยองเกือบครึ่งหนึ่ง เป็นจำนวน 45% ของโรงงานทั้งหมด มีค่าพีเอช (pH) ในน้ำใต้ดินไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่มาตรฐานกำหนด อีกทั้งผลจากการดำเนินการตามมาตรการควบคุมการปนเปื้อนในดินและน้ำใต้ดินซึ่งต้องมีการสรุปหาแหล่งที่มาของการปนเปื้อน โดยผู้ประกอบกิจการใช้ข้อมูลพื้นที่เป็นข้อมูลอ้างอิงของการมีค่าปนเปื้อนอยู่เดิม และตรวจสอบพื้นที่ที่มีศักยภาพที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน ทำให้ กฎหมายไม่สามารถบังคับใช้เพื่อให้ผู้ประกอบการรับผิดได้และค่าพีเอช (pH) ของน้ำใต้ดินยังคงต่ำไม่ได้รับการเยียวยา จึงเสนอแก้ไขปรับปรุงค่าพีเอชของกฎหมายควบคุมการปนเปื้อนดินและน้ำใต้ดินภายในบริเวณโรงงานให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรติดตามการกำกับดูแลการประกอบกิจการให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การดูแลควบคุมโรงงานเป็นไปตามกฎหมาย มีส่งรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพดินและน้ำใต้ดินภายในบริเวณโรงงานที่ครบถ้วน ซึ่งจะเกิดประโยชน์ในการรวบรวมสร้างฐานข้อมูลได้อย่างครบถ้วนมาวิเคราะห์หาสาเหตุของของปัญหาที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการของโรงงาน หรือจากช่องโหว่ของกฎหมายที่ทำให้ประสิทธิภาพของกฎหมายด้อยลงให้ได้รับการแก้ไขต่อไป
Abstract
This research aims to provide basic information on the pH of Unconfined Aquifer, Underground water in Rayong and bring the data of pH in Rayong to present an opinion in reviewing the suitability of the pH criteria to be consistent with the area where the law is applicable. It shows that the law must be rigorously regulated and can be used in practice. This research study about data in Rayong, the coordinates of the monitoring well within the factory area, the pH in the groundwater year 2020, the soil series data in Rayong 2018, the factory data in Rayong and the law relevant From the study of spatial data, it is possible to predict or estimate the pH of underground water show that the property in Rayong has a low pH value which is not according to the standard as pH value is less than 6.5 and from the soil series data. It is also found that the soil is acidic. When it rains, it can cause leaching of solution into underground water to make underground water become acid as well. This corresponds to the results of the groundwater quality measurements of almost half of the factories in Rayong, representing 45% of all factories whose pH value of underground water does not meet the criteria set by the standard. In addition, as a result of the implementation of soil and underground water contamination control measures, the source of contamination must be concluded. The operator uses the area information as a reference for the existing contaminant and inspecting potential areas for contamination, the law cannot be enforced to hold operators accountable and the pH of underground water remains acidic and do not heal. Therefore, it is proposed to amend the pH according to the law on soil and groundwater contamination control in the factory area to suit the conditions of the area. And relevant agencies should strictly monitor the supervision of business operations in accordance with the law. Proper supervision and control of the factory in accordance with the law to provide a complete report on soil and groundwater quality inspection within the factory area which will be useful in collecting and creating a complete database for finding the cause of problems that may arise from the factory's operations or loopholes in the law that impair the effectiveness of the law to be corrected further.
คำสำคัญ
น้ำใต้ดิน, ค่าพีเอช, การปนเปื้อน, กฎหมายควบคุมการปนเปื้อน, จังหวัดระยอง
Keywords
underground water, pH, contaminated, contamination control law, rayong