Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
คุณลักษณะของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 และ PM2.5 และความสัมพันธ์ของโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4
Title
PM10 and PM2.5 Characterization and the Relationship of Diseases related to Air Pollution in the area of the 4th health zone
บทคัดย่อ
การศึกษาคุณลักษณะของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 และ PM2.5 และความสัมพันธ์ของ โรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4 เป็นการศึกษาข้อมูลคุณลักษณะของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 และ PM2.5 ระยะเวลา 10 ปี ระหว่างปี 2553-2562 โดยใช้ข้อมูลผลการตรวจวัดจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติของกรมควบคุมมลพิษมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยรายปี ค่าเฉลี่ยรายเดือน ค่าเฉลี่ยรายชั่วโมง ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ร้อยละสัดส่วน PM2.5 ใน PM10 ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยฝุ่นละอองตามฤดูกาล และความสัมพันธ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 และ PM2.5 กับกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4 โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากระบบฐานข้อมูลสุขภาพ (HDC) ของกระทรวงสาธารณสุข 3 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบเรื้อรังทางเดินหายใจส่วนล่าง และโรคหัวใจขาดเลือด ระหว่างปี 2558-2562 คุณลักษณะของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM10 และ PM2.5 จะมีความจำเพาะกับแหล่งกำเนิดมลพิษในพื้นที่ ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละสถานีตรวจวัดโดยสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) แหล่งกำเนิดมลพิษจากการประกอบกิจการโรงโม่ บด และย่อยหิน และการประกอบกิจการเหมืองหินในพื้นที่ ได้แก่ บริเวณจังหวัดสระบุรี และ (2) แหล่งกำเนิดมลพิษจากการจราจรขนส่ง การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากควันของรถยนต์ ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี โดยแหล่งกำเนิดกลุ่มที่ (1) จะมีค่าเฉลี่ยรายปี รายเดือน และรายชั่วโมงสูงกว่ากลุ่มที่ (2) เนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดแบบอยู่กับที่ แต่กลุ่มที่ 2 จะมีค่าร้อยละสัดส่วน PM2.5 ใน PM10 มากกว่า โดยภาพรวม PM10 และ PM2.5 จะมีค่าสูงในช่วงฤดูหนาว ลดลงในช่วงฤดูร้อน และมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในช่วงฤดูฝนเนื่องจากเกิดจากการชะล้างของน้ำฝน ค่าเฉลี่ยรายชั่วโมงของสถานีตรวจวัดส่วนใหญ่จะมีค่าสูงขึ้นในช่วงเช้า และช่วงค่ำ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราป่วยรายกลุ่มโรค รายเดือน แต่ละจังหวัด และ ค่าเฉลี่ยรายเดือนของฝุ่น PM10 และ PM2.5 แต่ละสถานี พบว่า ไม่สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ได้เนื่องจากการหาความสัมพันธ์ของค่าเฉลี่ยรายเดือน PM10 และ PM2.5 และอัตราป่วยรายเดือน ในแต่ละปีลักษณะความสัมพันธ์ทั้งแบบแปรผันตรง คือ ค่าเฉลี่ยฝุ่นละอองเพิ่มขึ้น อัตราป่วยเพิ่มขึ้น ควบคู่กับลักษณะแบบแปรผกผัน คือ ค่าเฉลี่ยฝุ่นละอองเพิ่มขึ้น อัตราป่วยลดลง จึงทำให้ไม่สามารถสรุปทิศทางความความสัมพันธ์ระหว่างค่าเฉลี่ยรายเดือนของ PM10 และ PM2.5 กับอัตราป่วยของโรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบเรื้อรังทางเดินหายใจส่วนล่าง และโรคหัวใจขาดเลือด ในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงเส้นได้ (Linear Regression) ได้
Abstract
This research entitled “PM10 and PM2.5 Characterization and the Relationship of Diseases related to Air Pollution in the area of the 4th health zone” aimed to investigate the characterization of PM10 and PM2.5 over ten years (2010-2019). The data on the monitoring results from Automatic Ambient Air Monitoring Stations of Pollution Control Department was analyzed to find an annual average, a monthly average, an hourly average, the lowest value, the highest value, and percentage of PM2.5 in PM10, difference in the average seasonal particulate matters, and the relationship between fine particulate matter PM10 and PM2.5 and diseases related to air pollution in the area of the 4th health zone. The secondary data (2015-2019) of the Health Database System of the Ministry of Public Ministry on three groups of diseases (i.e., respiratory disease, chronic lower respiratory tract disease, and ischemic heart disease) was used to carry out the research. PM10 and PM2.5 characterization are specific to the sources of pollution but vary in different locations of Automatic Ambient Air Monitoring Stations classified into 2 sources of the pollution: (1) The sources of pollution originate from rock crushing plants and quarry business properties in the areas of Saraburi Province; and (2) The sources of pollution originate from traffic and car exhaust from fuel combustion in Pathum Thani Province, Nonthaburi Province, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province, and Saraburi Province. The 1st source of pollution had a higher annual, monthly, and hourly average than the 2nd source of the pollution due to the 1st being immovable. The percentage of PM2.5 in PM10 was reportedly higher in the 2nd source of pollution instead. PM2.5 and PM10 overall peaked during winter, plummeted in summer, and had the lowest average in rainy seasons due to rainwater leaching. The hourly-average data of most Automatic Ambient Air Monitoring Solutions was higher during daytime and evening. The study of the relationship between morbidity rates by a group of diseases and month in each month and a monthly average PM10 and PM2.5 at each station showed the correlation could not be analyzed due to the direct variable relationship between monthly average PM10 and PM2.5 and monthly morbidity rates. In each year, the characterization of the direct variable relationship means an increase in average particulate matter results in an increasing morbidity rate. In addition, the inverse variation means an increase in average particulate matter lowers the morbidity rate. Therefore, it was unfeasible to infer the direction of the relationship between the monthly average PM10 and PM2.5 and the morbidity rate of respiratory disease, chronic lower respiratory tract disease, and ischemic heart disease in the form of a linear relationship