Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
ต้นแบบการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของบุคลากรสวนสามพราน
Title
Role Model of Environmental Friendly Lifestyle : Suan Samphran Personnel
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเสนอแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากรสวนสามพรานในการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลกับ ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่าย/แผนก และพนักงาน จำนวน 161 ตัวอย่าง โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญตามแผนกที่กำหนดจนครบ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติพรรณนา คือ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน คือ t-test, F-test และสหสัมพันธ์ และทำการสัมภาษณ์ผู้บริหาร หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนนโยบายทางด้านสิ่งแวดล้อม ทำการสรุปประเด็นสัมภาษณ์โดยการพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับคะแนนปานกลาง ถึงสูง โดยพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มีคะแนนสูงเป็นพฤติกรรมทั้งที่กระทำในขณะที่ปฏิบัติงาน และขณะการดำเนินชีวิตทั่วไป อาทิ “การปิดไฟ และเครื่องปรับอากาศทุกครั้งเมื่อไม่มีใครอยู่ในห้องทำงาน หรือในบ้าน” “การคัดแยกขยะ” และ “การตักอาหารแต่พอรับประทาน และไม่รับประทานอาหารให้เหลือทิ้ง” เป็นต้น ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรที่มีพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงที่สุด ได้แก่ บุคลากรที่มีการศึกษาในระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น , บุคลากรที่มีช่วงอายุ 41- 50 ปี และบุคลากรที่อยู่ในแผนกสวน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจทั่วไปในปัญหาสิ่งแวดล้อม, ทัศนคติในการสร้างแนวคิดการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, ความตระหนักในการสร้างแนวคิดการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการสร้างการมีส่วนร่วมให้กับบุคลากรภายในองค์กร จากปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ได้กล่าวในข้างต้น สามารถนำไปขยายขอบข่ายจากภายในสวนสามพราน สู่ภายนอกสวนสามพราน เช่น ชุมชนที่อยู่รอบข้าง กลุ่มเกษตรกรเครือข่าย และองค์กรอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งอาจเน้นไปในด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจ การสร้างความตระหนัก และการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
Abstract
This research aims to study factors affecting environmental friendly living behavior and to suggest guidelines for supporting the participation of Suan Samphran personnel to have the environmental friendly living behaviors. Data collection by using interview questions with executives, head of department and by using questionnaire to employees of 161 samples using accidental sampling according to the designated department were carried out. Descriptive statistics i.e. frequency, percentage and mean and inferential statistics i.e. t-test, F-test and correlation were used to analyze data. Interviewing executives involved in environmental policy driven was described according to the interview issues. The study indicated that most of the personnel have environmental friendly living behaviors at a moderate to high level. Environmental friendly living behaviors with high scores are behavior that are already in daily living, both while doing in workplace and while generally living, such as "turning off lights and air conditioners every time when no one is in the office or house" , "waste sorting" and "Limited food to eat and do not eat leftovers"etc. For the highest score of the environmental friendly living behavior, it can be concluded that the personnel obtained lower than the lower secondary school have the highest behavior than other education, while the personnel between 41-50 years old have the highest behavior. In addition, the personnel in Garden department have the highest behavior Factors affecting the environmental friendly living behavior include general knowledge of environmental aspect, attitudes towards environmentally friendly living concept, awareness of environmentally friendly living concept and participation of personnel in the organization. From the factors mentioned above, they can be used to expand the scope from within Suan Samphran to the outside such as the surrounding community, network of farmer groups and other organizations, etc., which may focus on creating knowledge and understanding, raising awareness and creation of participation in order to create a sustainable and environmentally friendly living.