แนวทางการใช้ประโยชน์จากนํ้ากากส่าจากการผลิตสุราสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการใช้ประโยชน์จากนํ้ากากส่าในเชิงพลังงานและเชิงเกษตรกรรม เปรียบเทียบผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) และผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมจากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 equivalent) ตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์การใช้ประโยชน์จากนํ้ากากส่าในเชิงพลังงานและเชิงเกษตรกรรม และเสนอแนวทางการใช้ประโยชน์จากนํ้ากากส่าในเชิงพลังงานและเชิงเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการนํ้ากากส่าของโรงงานการผลิตสุราทั้งทางเชิงพลังงานและเชิงเกษตรกรรม และเกษตรกรที่เพาะปลูกอ้อยโดยใช้นํ้ากากส่าในเชิงเกษตรกรรม แบบสำรวจกิจกรรมและแบบบันทึกปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 equivalent) ตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ การวิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 2 ลักษณะ คือการวิเคราะห์เชิงพรรณนา สภาพทั่วไปทางด้านการใช้ประโยชน์จากนํ้ากากส่า และการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนและวิเคราะห์ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 equivalent) ตลอดวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ของการใช้ประโยชน์นํ้ากากส่าทั้ง 2 วิธี ผลการศึกษาพบว่า นํ้ากากส่าเป็นผลพลอยได้ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตสุราจะต้องผ่านการบำบัดและสามารถการนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆได้ หนึ่งในการใช้ประโยชน์คือใช้ในเชิงพลังงานและเชิงเกษตรกรรม โดยมีผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนมีค่าเท่ากับ 2.96 และ 22.28 ตามลำดับ เนื่องจากการใช้ประโยชน์นํ้ากากส่าเชิงพลังงานมีต้นทุนการลงทุนในเทคโนโลยีระบบสูงและผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นกับโรงงานสุรา แต่การใช้ประโยชน์นํ้ากากส่าเชิงเกษตรกรรมมีต้นทุนการลงทุนในการปรับสภาพนํ้ากากส่าน้อยและผลตอบแทนที่ได้จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรที่ใช้ประโยชน์จากนํ้ากากส่า และยังเป็นการสร้างคุณค่าให้กับโรงงานสุราซึ่งเป็นกิจกรรมแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 equivalent) ตลอดวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ พบว่า การเพาะปลูกอ้อยมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงที่สุด 0.3349 Ton CO2e / ไร่การเพาะปลูกอ้อย รองลงมาคือการใช้ประโยชน์ในเชิงพลังงานเท่ากับ 0.2960 Ton CO2e /ไอนํ้า 1 ตัน และการใช้ประโยชน์เชิงเกษตรกรรมปลดปล่อยน้อยที่สุดคือ 0.0224 Ton CO2e / 1 รอบการขนส่ง ดังนั้นแนวทางในการใช้ประโยชน์จากนํ้ากากส่า โรงงานสุราควรเลือกแหล่งพื้นที่การเกษตรที่เหมาะสมคืออยู่ในพื้นที่ดอน ห่างไกลระบบชลประทาน เพื่อให้เกษตรกรใช้นํ้ากากส่าเพาะปลูกแทนการขุดเจาะบ่อบาดาล และต้องสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรเรื่องผลกระทบที่จะเกิดหลังจากการใช้ประโยชน์นํ้ากากส่า และการใช้ประโยชน์เชิงพลังงานจะเป็นแหล่งเรียนรู้เทคโนโลยีสะอาดในการกำจัดของเสียที่ได้จากการผลิตสุรา เกิดการสร้างคุณค่าให้โรงงานผลิตสุราซึ่งเป็นกิจกรรมแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงงานลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง
This study aimed to study the utilization of distillery slop in term of energy and agricultural, to compare of the social return on investment (SROI), the environmental impact i.e. CO2 equivalent emission throughout the product life cycle, utilization of distillery slop, and to suggest guidelines for utilization of distillery slop in term of energy utilization and sustainable agriculture. Interviewing to the experts of liquor factory on both energy and agricultural of distillery slop management, the farmers who grow sugarcane and using distillery slop in agricultural was conducted. In addition, survey form of distillery slop utilization, and data-recorded forms of the CO2 equivalent emission were also use data analysis include, descriptive analysis, related to distillery slop utilization and quantitative analysis, analysis of the social return on investment and analysis of the CO2 equivalent emission throughout the products life cycle of utilization of distillery slop in both methods. The results showed that distillery slop is a by-product from the liquor-production process. It must be treated and can be utilized. One of the utilizations is for energy and agricultural purposes, with social returns on investments of 2.96 and 22.28 respectively. Due to the utilization of distillery slop it has high cost because of technology and operation costs. However, the utilization of distillery slop in agricultural has low cost in which, not only the return will occur to farmers who use the distillery slop but also create value for the liquor factory, which the social responsibility activity. The CO2 equivalent emission found that the sugarcane cultivation has the highest CO2 equivalent emission of 0.3349 Ton CO2e /Rai, followed by the energy utilization 0.2960 Ton CO2e /1ton of steam. The lowest CO2 equivalent emission in agricultural utilization is 0.0224 Ton CO2e / 1 transportation cycle. For the guidelines to utilize distillery slop, the liquor factory should choose the appropriate agricultural area, which is located in uplands and far away from the irrigation system, in order for farmers to use distillery slop in agriculture instead of groundwater drilling. Moreover, it there should be confidence for farmers in the effects that will occur after using distillery slop. Also, energy utilization will be a learning source of clean technology for the elimination of waste from liquor production and the value creation value for the liquor factory. It is a social responsibility activity of the factory which reduces environmental problems that will occur to the community nearby.