การถอดบทเรียนการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนกรณีศึกษา ชุมชนศูนย์การค้าหนองแขมหมู่ 2 เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร
Lessons of community waste reduction and separation: A case study of Soon Kan Kha Nong Khaem Moo 2, Nong Khaem District
การศึกษานี้ได้ถอดบทเรียนการดำเนินการลดและคัดแยกขยะมูลฝอย ตามแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน (Community – Based Solid Waste Mangment: CBM) ของชุมชนศูนย์การค้าหนองแขม หมู่ 2 โดยศึกษากระบวนการ ทั้งด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้ง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ปัญหาและอุปสรรค และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาดำเนินงาน รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการชุมชน และสมาชิกในชุมชน เอกสารของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร และการสังเกตการณ์ ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนศูนย์การค้าหนองแขมประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง จากการดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยตกค้างแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน (CBM) จึงทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยในชุมชนลดลงอย่างต่อเนื่องหลังจากเริ่มดำเนินงาน และชุมชนมีศักยภาพสามารถพัฒนาชุมชนให้เป็นต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเมืองได้อีกด้วย ปัจจัยที่ส่งผลให้ขยะมูลฝอยชุมชนลดลงมี ดังนี้ 1) กรุงเทพมหานครมีนโยบายและแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยที่ชัดเจน 2) การกำหนดรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมตามองค์ประกอบขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในชุมชน 3) ผู้นำชุมชน มีศักยภาพสูง มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความคิดสร้างสรรค์ 4) สมาชิกในชุมชนมีความตระหนักและได้รับความเดือดร้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และให้ความร่วมมือจัดการขยะมูลฝอย 5) การบังคับใช้กฎระเบียบ ข้อตกลงชุมชนที่เคร่งครัด 6) บุคลากรทำอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มต้น มีความตั้งใจแก้ปัญหา 7) มีการส่งเสริมให้ความรู้สมาชิกในชุมชนอย่างใกล้ชิด 8) มีการติดตามประเมินผลการทำงานอย่างสม่ำเสมอ 9) งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เพียงพอ 10) มีการประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกชุมชนรับทราบข้อมูลอย่างทั่วถึง
This study examined the lessons of waste reduction and separation according to the community - based solid waste management (CBM) of Soon Kan Kha Nong Khaem Moo 2 Community. The study covered context, input, process, output and impact on the economy, society and environment, factors affecting the community solid waste management, obstacles, and suggestions for development . Data were collected by interviews with an official responsible for the project, community committee and community members, document from the Environment Department of the Bangkok Metropolitan Administration, and observation. The study indicated that, overall, solid waste management of Soon Kan Kha Nong -Khaem Moo 2 achieved a certain level. From the solid waste management practiced by the CBM, the quantity of solid waste in the community decreased steadily after the start of operations. The community had the potential to develop to be a model community for solid waste management. Factors that contribute to waste reduction are: 1) BMA policy and approach to solid waste management was clear, 2) the practice of solid waste management was in accordance with the waste that occurs in the community, 3) the community leader had a high potential, vision and creativity, 4) community members were aware of the problem and had good cooperations, 5) strict enforcement of the community rules, 6) the officer worked continuously with willingness to solve the problem, 7) community members were educated closely, 8) good -monitoring of the practice, 9) budget and materials were sufficient, and 10) good public relation with community members.