กระบวนการฟื้นฟูป่าชายเลนโดยชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนบ้านปากคลอง ตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
Community-based Mangrove Forest Restoration: A Case Study of Ban Pak Khlong, Khlong Tamru Sub-district, Mueang District, Chonburi Province
การศึกษาเรื่องกระบวนการฟื้นฟูป่าชายเลนโดยชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนบ้านปากคลอง ตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของพื้นที่ป่าชายเลนชุมชนบ้านปากคลอง เพื่อศึกษากระบวนการฟื้นฟูป่าชายเลนโดยชุมชน ข้อดี-ข้อจำกัดของกระบวนการฟื้นฟูป่าชายเลนโดยชุมชน และเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการฟื้นฟูป่าชายเลนของชุมชนบ้านปากคลอง ตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้แบบสังเกตการณ์ และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ป่าชายเลนของชุมชนบ้านปากคลองเป็นป่าชายเลนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ผสมผสานกับป่าชายเลนที่เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนร่วมกันปลูกขึ้นมา ในภาพรวมของชุมชนบ้านปากคลองสภาพการณ์พื้นที่โดยส่วนใหญ่อยู่ในสภาพอุดมสมบูรณ์ จะมีเพียงพื้นที่บางส่วนเท่านั้นที่มีสภาพเสื่อมโทรม เนื่องจากการถูกนำพื้นที่ไปทำประโยชน์อย่างอื่น ด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรป่าชายเลนของชุมชน มี 3 รูปแบบ ได้แก่การใช้ประโยชน์จากสัตว์น้ำ การใช้ประโยชน์จากพืชพันธุ์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ สภาพปัญหาของทรัพยากรป่าชายเลนในชุมชนพบว่ามี 2 รูปแบบคือ การลดลงของพื้นที่ป่าชายเลนเนื่องจากถูกกัดเซาะและปัญหาขยะชายฝั่ง ชุมชนบ้านปากคลองมีกระบวนการฟื้นฟูป่าชายเลน ซึ่งชุมชนสามารถสำรวจและประเมินความเสียหายของทรัพยากรป่าชายเลนได้ด้วยตัวเองจากการสังเกต แล้วนำปัญหามาประชุมวางแผนและเตรียมการเพื่อให้มีความพร้อมทั้งด้านองค์ความรู้ และการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ โดยชุมชนได้มีกระบวนการฟื้นฟูป่าชายเลน 3 วิธีหลักๆ คือ การดำเนินโครงการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยการปักไม้ไผ่ การดำเนินโครงการธนาคารกล้าไม้ป่าชายเลน และกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ซึ่งเมื่อดำเนินการไปแล้วชุมชนจะมีการติดตามและดูแลรักษา เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการฟื้นฟูป่าชายเลนนั้นมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาสามารถวิเคราะห์ข้อดีของกระบวนการฟื้นฟูป่าชายเลนโดยชุมชนคือ เป็นกระบวนการที่ชุมชนสามารถดำเนินการได้เองโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน แต่ก็ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญคือต้องอาศัยแรงงาน และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูง ซึ่งแนวทางในการฟื้นฟูป่าชายเลนต่อไปในอนาคต สิ่งสำคัญคือการให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุด การเสริมสร้างองค์ความรู้และจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านป่าชายเลนอย่างเป็นรูปธรรม การสร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการจัดการป่าชายเลน เพื่อนำมาปรับใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาทรัพยากรป่า-ชายเลนต่อไปอย่างยั่งยืน
The objectives of the study, “Community-based Mangrove Forest Restoration: A Case Study of Ban Pak Khlong, Khlong Tamru Sub-district, Mueang District, Chonburi Province”, are to examine the current condition of the Ban Pak Khlong Mangrove Forest area, to study the mangrove forest restoration process by the community, to analyze advantages and limitations of community-based mangrove forest restoration, and to propose appropriate guidelines for the restoration of mangrove forests in Ban Pak Khlong community Khlong Tamru Sub-district, Mueang District, Chonburi Province. The study applied qualitative research methodology, which used observation and in-depth interview as a tool for data collection. The results show that the mangrove area of Ban Pak Khlong community is mostly mangrove forests that grew naturally in combination with mangrove forests grown by the cooperation of all sectors in the area. In the overall of Ban Pak Khlong community, most of the area is in abundant condition. There will be only some areas that have deteriorated, because of some land utilization. The utilization of mangrove forest resources by the community can be categorized into 3 types, namely: utilization of aquatic animals, utilization of mangrove vegetation, and eco-tourism attraction. There are 2 types of problem regarding deterioration of mangrove forest resources in the community, coastal erosion and waste and sewage problems. Ban Pak Khlong community have has mangrove forest restoration through which the community can explore and assess the damage of mangrove resources by themselves from observation, then bring the problem to the meeting, plan and prepare to be ready for knowledge and allocating resources. The community has restored the mangrove forests using three main methods, namely: the implementation of the project to prevent coastal erosion using bamboo embroidery, the implementation of the Mangrove Forest Planting Bank Project, and mangrove forest planting activities. The community has monitored and maintained to ensure that the community restoration process of various mangrove forests have sustained in an efficient way. One of the advantages of community-based mangrove forest restoration, is a process by which the community can operate by themselves using folk wisdom. But there are also important limitations are many labor who cooperate and high operation cost. Some important guidelines for the restoration of mangrove forests in the future are encouraging the community to participate as much as possible, strengthening knowledge and establishing a concrete mangrove learning center, creating a network for exchange of knowledge and experience in mangrove forest management in order to solve problems and sustain mangrove forest resources.