แนวทางการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพในอาคารสำนักงานพาณิชย์จังหวัดลพบุรีโดยใช้เทคโนโลยีสะอาด
Guidelines for efficiently use of resources in the office of Provincial Commerce, Lopburi, by applying Clean Technology
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรในอาคารสำนักงานพาณิชย์จังหวัดลพบุรี ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ทรัพยากรในอาคารสำนักงานพาณิชย์จังหวัดลพบุรี และเสนอมาตรการการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรในอาคารสำนักงานพาณิชย์จังหวัดลพบุรีอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้เทคโนโลยีสะอาด โดยการสัมภาษณ์ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน จำนวนรวม 12 คน และสำรวจกิจกรรมการใช้ทรัพยากรในอาคารสำนักงาน นำมาสู่ทางเลือกการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและนำทางเลือกการใช้ทรัพยากรมาเปรียบเทียบโดยการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนให้คลอบคลุมทั้งประเด็นเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ผลการศึกษาพบว่า การนำข้อมูลมาคำนวณผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการกำหนดนโยบายทั้งหมด 4 มาตรการ ได้แก่ มาตรการสำนักงานสีเขียว, มาตรการประหยัดน้ำ, มาตรการประหยัดไฟฟ้า, มาตรการลดการใช้กระดาษ โดยมีผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน เท่ากับ 7.35, 0.86, 0.97 และ 1.55 ตามลำดับ และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 2.74, 0.13, 3.07 และ 0.35 ตามลำดับ โดยผลลัพธ์ด้านสังคมทำให้เกิดการจ้างงาน เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคลากรในสำนักงานและภายนอก ด้านเศรษฐกิจ ทำให้ประหยัดค่ารายจ่ายต่างๆ ของภาครัฐ และด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ ลดการใช้หรือใช้น้อยเท่าที่จำเป็น เกิดการใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ สามารถช่วยลดปริมาณขยะ ลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานของอาคารสำนักงานพาณิชย์จังหวัดลพบุรีที่สำคัญที่สุด คือ จิตสำนึกและความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากร การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด ลำดับรองลงมาคือ การกำหนดนโยบายการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นมาตรการและแนวทางในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และเรื่องของการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกคนในหน่วยงาน รวมถึงงบประมาณในการจัดสรรทรัพยากรและสนับสนุนอย่างจริงจัง นอกจากนี้มีปัจจัยอื่นๆ เช่น ความทันสมัยของอุปกรณ์ต่างๆของสำนักงาน สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงและไม่แน่นอน และการติดตามการปฏิบัติตามนโยบายในการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ
The purposes of this study were to survey and analyze the use of the office resources in the building of Provincial Commerce, Lopburi, to examine factors related to the use of resources in the building and to address measures for encouraging the efficient use of resources in the building. Interviews to the Top Management (One) and Officers (Eleven) in totaling of 12 interviewers were conducted. Data was analyzed by summarizing interview results. Social Return on Investment (SROI) on economic, social and environmental perspectives and CO2 emission assessment were used to analyze in order to address measures for optimizing and efficiently using resources. The results of the study found that there should be improvement for the use of resources based on Clean Technology in order to optimize and maximize the limited resources. Social Return on Investment (SROI) and Greenhouse gases emission were calculated to compare four measures which are Green Office, Water Saving, Energy Saving and Paper Saving. SROI of the four measures are 7.35, 0.02, 0.97 and 1.55 and the CO2 emission are 2.74, 0.13, 3.07 and 0.35 respectively. From the result of SROI, the benefits obtained were sharing of both human and material resources with external organizations, reducing expenditures, efficient use of resources by 3Rs – reduce reuse and recycle. For factors affecting the efficient use of resources are 1) awareness and conscious on efficient use of resources of officers, 2) policy implementation, 3) participation and support from stakeholders and saving resource technology.