Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ตำบลวังเหนือ อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
Title
Public Participation of Solid Waste Management in Wangnuea subdistrict, Bandan district, Buriram
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ข่าวสาร ความเข้าใจ และทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน และระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน รวมถึงปัจจัยเสริมที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ตำบล วังเหนือ อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ จากประชากรครัวเรือนละ 1 คน จำนวนทั้งสิ้น 980 ครัวเรือน โดยใช้สูตรของยามาเนหากลุ่มตัวอย่างได้ จำนวน 285 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ในการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-Test, F-Test และค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนค่อนข้างบ่อย (3-4 สัปดาห์/ครั้ง) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอยู่ในระดับสูง มีทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนของประชาชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่แตกต่างกันมีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนไม่แตกต่างกัน อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การรับรู้ข่าวสารมีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ส่วนความรู้ความเข้าใจและทัศนคติไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Abstract
The objective of this study is to study the extent of information received, their knowledge understanding and attitude on solid waste management. And the public participation of solid waste management, as well as to their factors affecting public participation in waste management in Wangnuea subdistrict, Bandan district, Buriram. From the population totally 980 families, samples of 285 were derived from Taro Yamane calculation method. The instrument used in collecting data was questionnaire. The statistical procedures used in analyzing data were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-Test, F-Test and Pearson's product-moment correlation. The survey data reveals that the samples received information about solid waste management quite often (3-4 weeks/time). Their knowledge understanding on solid waste management were high. Their attitude on solid waste management was moderate. And the public participation of solid waste management was moderate. The hypothesis test found that People with gender, age, education, occupation, monthly income and living period in the community differently, the public participation of solid waste management did not have any effect at a .05 level of significance. Factors significantly influence people’s public participation of solid waste management are received information about solid waste management. But the knowledge understanding and attitude on solid waste management did not have any effect the public participation of solid waste management at a .05 level of significance.