Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
แนวการพัฒนาพื้นที่โล่งริมน้ำและเชื่อมต่อสวนสาธารณะเขตบึงกุ่ม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
Title
The development of open spaces along the waterfront and connecting to the Bueng Kum public park To encourage the development of the smart environment (Smart Environment)
บทคัดย่อ
เนื่องด้วยการขยายตัวของเมืองสู่เขตตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้เขตบึงกุ่มมีอัตราการเติบโตของเมืองและประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้พื้นที่โล่งว่างและพื้นที่สีเขียวในเมืองลดลง การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการความคิดเห็นของประชาชนและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาพื้นที่โล่งริมน้ำและสวนสาธารณะเขตบึงกุ่มในรูปแบบของSponge City เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ(Smart Environment) เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาประชาชนที่อาศัยรุกล้ำอยู่ในเขตพื้นที่ศึกษาโดยไม่เกิดความขัดแย้ง รวมถึงข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการพัฒนาพื้นที่ศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ได้ทำการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่และจากหน่วยงานรัฐ และภาคประชาชน รวมทั้งสิ้น 25 คนร่วมกับการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participation) รวมถึงศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มาวิเคราะห์เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาพื้นที่ศึกษาให้สอดคล้องกับปัญหาและสภาพปัจจุบัน โดยไม่ขัดแย้งกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและก่อให้เกิดความพึงพอใจและผลประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน ผลการศึกษาพบว่า บทบาทหน้าที่ของพื้นที่โล่งริมน้ำคลองกุ่ม และสวนสาธารณะในเขตบึงกุ่มนั้นถือเป็นพื้นที่สีเขียวกลางเมืองที่อยู่ในสภาวการณ์ของการขยายตัวของเมืองและประชากรอย่างรวดเร็ว ประชาชนในพื้นที่มีความต้องการเข้าถึงพื้นที่สีเขียวหรือสวนสาธารณะที่มีความร่มรื่น ปลอดภัย มีสิ่งอำนวยความสะดวก และส่งเสริมความเชื่อมโยงของโครงข่ายพื้นที่สีเขียว ในส่วนของการพัฒนาในรูปแบบ Sponge City นั้นได้รับความเห็นชอบจากทั้งประชาชนทั่วไปและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะการพัฒนาในรูปแบบนี้ ไม่ได้เป็นเพียงแค่การเพิ่มพื้นที่สีเขียวเท่านั้น แต่หากเป็นการลดการเกิดปัญหาน้ำท่วม และเป็นการบำบัดน้ำไปในตัว ซึ่งสอดคล้องกับกรณีศึกษาเมืองอู่ฮั่นที่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมขังในเมืองได้สำเร็จ การพัฒนาพื้นที่โล่งริมน้ำในรูปแบบของ Sponge City นอกจากการออกแบบพืชพรรณไม้ที่ใช้แล้ว ควรคำนึงบริเวณโดยรอบพื้นที่ว่ามีที่มาของน้ำจากคูคลองสาขาไหนบ้าง ถนนเส้นไหนที่ต้นเหตุของการขวางทางน้ำ ควรปรับปรุงถนนหรือคอนกรีตที่ขวางทางน้ำออกไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำ Sponge City แนวทางแก้ปัญหาประชาชนที่อาศัยรุกล้ำในเขตพื้นที่พัฒนาจะต้องทำการเวนคืนพื้นที่และจัดสรรที่อยู่ใหม่ให้กับประชาชนอยู่ห่างจากพื้นที่เดิมไม่เกิน 5 กิโลเมตร ทั้งนี้จะต้องหาหน่วยงานหลักเพื่อรับผิดชอบการจัดสรรงบประมาณ เนื่องจากการจัดสรรที่อยู่ต้องใช้งบจำนวนมาก สุดท้ายเพื่อให้โครงการเกิดโอกาสสำเร็จมากที่สุด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภาครัฐควรร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชน เพื่อให้เกิดความกระชับและการดำเนินการรวดเร็ว โดยมีรัฐบาลคอยควบคุมดูแลกำกับให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ของโครงการ และควรมีการระดมทุนการพัฒนาเมือง จากภาคธุรกิจเอกชนที่อาจมีส่วนได้รับประโยชน์จากโครงการพัฒนา ให้ลงทุนในการดำเนินงานภายใต้งบประมาณฝ่ายความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR)
Abstract
AbstractAs a consequence of expanding the urban area of Bangkok to the east, the growth rate and the population of Bueng Kum district has increased every year. Open areas and green spaces in the city have been decreased gradually as well. Hence, this study aims to examine how the people and authority in the area think about developing riverside areas and parks in Bueng Kum district by using the Sponge City model. Furthermore, the study aims to promote smart environment system. Also, it intends to compromisingly solve the problem that residents invade the area. The study was conducted in qualitative research means. The analyzed data were divided in two parts. The first part was opinions of people which were collected by interviewing 20 residents and 5 of authority in Bueng Kum district and were noted by non-participation observer. Another part was documents and related research. All of data were analyzed to find solutions that can develop the area in the way that involves in current problems, concerns satisfaction of people in the area, and brings most advantages to the community. The results of the study showed that the riverside open area at Kum canal and parks in Bueng Kum district were green spaces that could not meet the demand caused by the rapidly expanding of the town and population. People in such area needed more green spaces or shady parks which are safe and convenient, and support the Green Infrastructure. The process of using the Sponge City model to develop the area was agreed by both residents and authority in the area because this model is not only for increasing green spaces, but it is also for decreasing flood and wastewater treatment which conform to a case study that Wuhan in China could solve the flood in their city. Apart from selecting kind of plants that would be used in the area, using the Sponge City model to develop riverside open areas should concern about the surrounding areas. It should be considered that water comes from which sources or which roads obstruct the waterflow, then improve or remove the roads and concretes that obstruct the waterflow to enhance the efficiency of the process. The solutions for residents invading the area are that to expropriate the invaded areas and manage the new places for them which must not be further than 5 kilometers from the previous area. In addition, there must be the main institute to manage the budget because managing habitation involves in a big amount of budget. All in all, for the most possibility of success, related institutes from the government sector and private sector should work together to shorten the period of the process and work fast. At any rate, the process should be responsible to the government to reach the purpose of the project. Besides, there should be a city development fundraising from private sector which may receive advantages from the project, invite them to invest in the process of Corporate Social Responsibility (CSR).
คำสำคัญ
พื้นที่สีเขียว, เมืองฟองน้ำ, พื้นที่โล่งริมน้ำ, ผู้อาศัยรุกล้ำ