ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จต่อการดำเนินกิจกรรมอุตสาหกรรมสีเขียว กรณีศึกษา บริษัท ธนากรผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช จำกัด
Success factors affecting green industrial activities: a case study of Thanakorn Vegetable Oil Products Co., Ltd.
การศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินกิจกรรมอุตสาหกรรมสีเขียว ปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมอุตสาหกรรมสีเขียว และแนวทางการดำเนินงานที่ส่งผลสำเร็จต่อการดำเนินกิจกรรมอุตสาหกรรมสีเขียวของบริษัท ธนากรผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช จำกัด การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ซึ่งมีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interviews) กับ ผู้บริหารระดับสูง พนักงานที่ปฏิบัติงาน และกลุ่มผู้ส่วนได้ส่วนเสียจากการดำเนินงานกิจกรรมอุตสาหกรรมสีเขียวของบริษัทฯ โดยประยุกต์แนวคิด Balanced Scorecard โดยจะศึกษาปัจจัยในการดำเนินงาน 4 มิติ คือ ด้านประสิทธิผล ด้านผู้ส่วนได้ส่วนเสีย ด้านการบริหารจัดการ และด้านการเรียนรู้และพัฒนาร่วม รวมทั้งค้นคว้างานวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ประมวลผล และสรุปผลการศึกษา ผลการศึกษาพบว่าการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท ธนากรผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช จำกัด มีความมุ่งมั่นที่ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรและมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ จริยธรรมทางธุรกิจ และนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดตั้งคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ความสัมพันธ์ต่อลูกค้า ผู้บริโภคและคู่ค้า รวมทั้งการจัดทำแผนร่วมกับชุมชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ส่งผลให้บริษัทฯ เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เกิดความน่าเชื่อถือ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อบริษัทฯ รวมทั้งเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน สำหรับปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมอุตสาหกรรมสีเขียว พบว่า ในด้านการบริหาร มีการจัดทำนโยบาย และการกำหนดผู้รับผิดชอบโดยการแต่งตั้งคณะทำงาน รวมทั้งมีการจัดสรรงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน พร้อมทั้งมีการติดตาม ตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทฯ สำหรับในด้านผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้น มีการอบรมให้ความรู้และสร้างความตระหนักด้านด้านสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และความเข้าใจต่อผลิตภัณฑ์ หรือต่อการบริโภคอย่างปลอดภัย และยั่งยืน ให้กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม รวมทั้งสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มตามความคาดหวังและความต้องการ พร้อมทั้งมีการสำรวจความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่งผลให้บริษัทฯกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าใจกันมากยิ่งขึ้น และสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันได้อย่างราบรื่น และในด้านการเรียนรู้และการพัฒนานั้น บริษัทฯ มีการพัฒนาบุคลากรด้านความรู้ และความสามารถของพนักงานปฏิบัติงาน และมีการปรับปรุงกระบวนการทำงาน ส่งผลให้มีการปรับปรุง แก้ไข และป้องกัน ในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และด้านประสิทธิผล บริษัทฯ มีการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ตั้งไว้ ส่งผลให้มีการดำเนินงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 5 ที่สำคัญ คือ การปฏิบัติตามเกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียวเขียว โดยข้อกำหนดต้องมีการส่งเสริมให้โซ่อุปทาน (Supply Chain) ซึ่งบางครั้งผู้ผลิตวัตถุดิบ ไม่สามารถดำเนินการในการขอการรับรองรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 2 ส่งผลให้ต้องจัดหาผู้ผลิตวัตถุดิบ และคัดกรองโดยใช้เกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ และการบริหารจัดการภาครัฐในการส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียวของสถานประกอบการขาดสิทธิประโยชน์หรือผลตอบแทนในรูปแบบการลดหย่อนภาษี ส่งผลให้สามารถดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมให้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องได้ แนวทางการดำเนินงานที่ส่งผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมอุตสาหกรรมสีเขียวของบริษัท ธนากรผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช จำกัด สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรอื่น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบายต้องแสดงให้เห็นถึงความมั่งมั่นที่จะรับผิดชอบต่อด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 2) การกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน 3) การจัดสรรงบประมาณ 4) การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการ 5) การพัฒนาความรู้ และความสามารถของพนักงานปฏิบัติงาน 6) การปรับปรุงกระบวนการทำงาน 7) การพัฒนาความรู้และความตระหนักของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 8) การชี้บ่งและจัดทำทะเบียนผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม รวมถึงทำการประเมินผลประโยชน์และผลกระทบ และจัดลำดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ 9) การส่งเสริมให้ห่วงโซ่อุปทาน เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จขององค์กรได้
The objectives of this study were to study implementation of green industry activities, success factors of green industrial activities and operational guidelines that contribute to success of the green industrial activities of Thanakorn Vegetable Oil Products Co., Ltd. This study is a qualitative research. Data were collected through semi-structured interviews with executives, operational staffs and stakeholders of the implementation of the Company's green industrial activities. The study adopted Balanced Scorecard concept and scrutinized 4 dimensions of operational factors, namely effectiveness, stakeholders, management and learning and joint development including documentary research to analyze, process and summarize data to obtain the study results. The results showed that, regarding environmental and social responsibilities, Thanakorn Vegetable Oil Products Co., Ltd. has been committing to conduct business with accountability for both internal and external stakeholders and environmental conservation, emphasizing on business continuity management which is in line with sustainable development. The Company has determined its vision, mission, business ethics and environmental policy, established an environmental and social responsibility working group, and created corporate culture to strengthen relationship with customers, consumers and business partners, including collaborate with communities or all groups of stakeholders to prepare implementation plans. As a result, the Company has been able to create on-going development, credibility, positive image as well as good relationships with all groups of stakeholders, leading to sustainable development. Regarding the success factors of the green industrial activities, it was found that, in term of management, the Company has formulated policy and determined a responsible working group and allocated budgets for the implementations. The Company has been monitoring, auditing and evaluating its performance on environmental and social responsibilities. Regarding stakeholders, the Company has provided trainings to educate and raise awareness on environmental and social responsibilities, product understanding, safe and sustainable consumption for stakeholders, promoted engagement of all groups of stakeholders in accordance with their expectations and needs. In addition, the Company has conducted stakeholder satisfaction survey to have better understanding of the stakeholders and able to carry out activities together smoothly. In terms of learning and development, the Company has conducted personnel development in order to enhance knowledge and ability of operational staffs and improve work processes resulting in continuous improvements, corrections and prevention of the operations. In term of effectiveness, the Company has been emphasizing on achieving its objectives and specified goals for good and efficient operation. The major obstacles in the implementation of the green industry level 5 were incompliance with the criteria for the green industry which required promotion of supply chain because, sometimes, raw material producers are unable to apply for green industry level 2 certification, as a result, operators have to screen and procure raw material manufacturers under new environmental criteria; ineffective government administration to promote implementation of green industry; lack of benefits or rewards in the form of tax deduction. The obstacles must be addressed to allow operators to implement their operations under social and environmental responsibilities successful. Guidelines for the successful implementation of green industrial activities of Thanakorn Vegetable Oil Products Co., Ltd. that can be adopted by other agencies or organizations in the implementation of social and environmental responsibilities are 1) Demonstration of commitment on social and environmental responsibilities in the Company's policy, 2) Determination of responsible persons, 3) Budget allocation, 4) Monitoring, auditing and evaluating results of the implementations, 5) Knowledge and ability enhancement of operational staffs, 6) Work process improvement, 7) Develop knowledge and raise awareness among stakeholders, 8) Identification and registration of all groups of stakeholders including assessing the benefits and impacts and prioritize stakeholders and 9) Promotion of supply chain to contribute to successful operation of the organization.