Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
แนวทางการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน กรณีศึกษาปลาหมอคางดำ ในพื้นที่ตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Title
Guidelines for managing invasive alien species Case study of Sarotherodon melanotheron in the area of Rai Kao Sub-district Sam Roi Yot District Prachuap Khiri Khan Province
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานหรือการจัดการแนวทางการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน กรณีศึกษาปลาหมอคางดำ ในพื้นที่ตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค และนำเสนอข้อเสนอแนะหรือแนวทางที่เหมาะสมสำหรับการจัดการปลาหมอคางดำ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน กรณีศึกษาปลาหมอคางดำ ในพื้นที่ที่มีบริบทใกล้เคียงกับพื้นที่ศึกษาต่อไป งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน กรณีศึกษาปลาหมอคางดำ ร่วมกับการศึกษาเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง โดยได้ประยุกต์หลักการประเมินผลแบบ CIPP-I Model ซึ่งพิจารณาประเด็นหลัก 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านบริบท ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลกระทบ ผลการศึกษาพบว่า ในด้านบริบท การจัดการกับชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน (ปลาหมอคางดำ) มีการดำเนินงานตามนโยบายภาครัฐ โดยมีการรับซื้อ และนำไปแปรรูป รวมทั้งมีการศึกษาวิจัยการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด แต่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องไม่สามารถดำเนินการได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ จึงไม่สามารถให้คำแนะนำในการกำจัด และการนำไปใช้ประโยชน์ให้กับคนในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง ส่วนในด้านปัจจัย การจัดการกับปลาหมอคางดำในพื้นที่นั้นยังขาดทั้งในด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ รวมถึงงบประมาณที่ยังไม่เพียงพอต่อการจัดการกับปลาหมอคางดำในพื้นที่ ด้านกระบวนการ กรมประมงได้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดจากปลาหมอคางดำ โดยการปล่อยปลากะพงขาวไปในธรรมชาติเพื่อกินปลาหมอคางดำ ส่งผลให้ปริมาณปลาหมอคางดำลดลงได้ในระดับหนึ่ง รวมถึงมีการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วน แต่หลังจากที่ปลากะพงขาวโดนชาวประมงในพื้นที่จับไป ทำให้ปลาหมอคางดำกลับมาเพิ่มจำนวนเหมือนเดิม ด้านผลผลิต การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในพื้นที่ตำบลไร่เก่า ยังคงมีอยู่ และหน่วยงานรัฐมีการจัดทำองค์ความรู้ และคู่มือการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานในพื้นที่ เพื่อที่จะเผยแพร่ให้กับหน่วยงาน รวมถึงประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และกลุ่มที่ทำประมงในพื้นที่ให้ความร่วมมือในการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และในด้านผลกระทบ ปลาหมอคางดำที่แพร่กระจายในระบบนิเวศส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำในท้องถิ่น และสร้างความเสียหายต่อเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งปลาหมอคางดำมีโอกาสที่จะกลายเป็นชนิดพันธุ์เด่นในพื้นที่ ส่งผลให้ให้รายได้ของเกษตรกรลดลง และมีต้นทุนที่สูงขึ้นเนื่องจากต้องมีการกรองน้ำก่อนเข้าบ่อ รวมถึงต้องซื้อพันธุ์สัตว์น้ำมาปล่อยทดแทน และอาจต้องซื้ออาหารมาเสริมเพื่อทดแทนอาหารที่เคยได้รับจากธรรมชาติ ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ ภาครัฐต้องกำหนดหน่วยงานควบคุม ดูแล และตรวจสอบสถานภาพของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น และส่งเสริมการใช้ชนิดพันธุ์พื้นเมืองหรือชนิดพันธุ์ที่ไม่แสดงลักษณะที่รุกรานต่อระบบนิเวศ รวมถึงต้องกำหนดให้มีกฎหมายหรือกฎระเบียบบังคับใช้ ให้มีแนวทางการจัดการชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานตั้งแต่ต้นทาง ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ และต้องมีการบูรณาการการดำเนินการร่วมกันระหว่างภาครัฐ นักวิชาการ และประชาชน รวมทั้งเสริมสร้างความตระหนักและให้ความรู้เกี่ยวกับชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ตลอดจนผลกระทบที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศตามธรรมชาติ และชนิดพันธุ์พื้นเมืองให้กับประชาชนทั่วไป
Abstract
The purposes of this research were to study the practical approach or management of invasive alien species, case study of Sarotherodon melanotheron, in Rai Khao Sub-district, Sam Roi Yot District, Prachuap Khiri Khan Province to identify problems, obstacles and present recommendations or suitable approach for management of Sarotherodon melanotheron. The study results would be used as guideline for management of invasive alien species, case study of Sarotherodon melanotheron, in an area with context similar to the area under this study. This research is a qualitative research. Data were collected by interviews with stakeholders involved in the management of invasive alien species, case study of Sarotherodon melanotheron, and related academic journals. The study adopted CIPP-I Model evaluation principles, consisting of 5 main issues, namely contexts, factors, processes, productivities, and impacts The results showed that the management approaches of invasive alien species (Sarotherodon melanotheron) were in accordance with the government policy. Sarotherodon melanotheron were being purchased and processed. In addition, studies on the spreading of Sarotherodon melanotheron in the prone areas were conducted. Nonetheless, the relevant government agencies were unable to cover all areas and, therefore, were unable to provide advice on termination and exploitation approaches to people in all the area thoroughly. In term of management factors for Sarotherodon melanotheron in the area, there was lacking of personnel with expertise. As a result, number of Sarotherodon melanotheron could only be reduced to certain level. In addition, studies were conducted to solve urgent problems. However, after more number of sea bass were caught by local fishermen, Sarotherodon melanotheron began to thrive and resume their number. Regarding productivity, problems of Sarotherodon melanotheron invasion in Rai Khao Sub-district were still unsolved. Moreover, government agencies have prepared manual on management of invasive alien species in the area to be distributed to the local authorities and people, especially the aquaculture operators and fishermen in the area, and requested them for cooperation to process Sarotherodon melanotheron into various products. In terms of impact, the Sarotherodon melanotheron affected local aquatic life and caused damages to aquaculture farmers. Sarotherodon melanotheron has the potential to become the predominant species in the area. As a result, farmers’ incomes were reduced and bore higher costs. It was because the water must be filtered before entering the breeding well. In addition, farmers had to purchase aquatic species and may have to buy food supplements to replace natural food which were depleted. The study suggested that the government must assign an agency to control, supervise and inspect the status of alien species and promote the use of native or non-invasive species in the ecosystem. as well as to issue laws or regulations to provide guidelines for managing invasive alien species from upstream under same standard nationwide. Furthermore, there must be collaboration of joint implementation between the government, experts and people, raise awareness and provide knowledge on alien species and their impacts on biodiversity, natural ecosystem and native species to the general public.