Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม : กรณีศึกษา บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด
Title
Critical success factors for Corporate Social Responsibility (CSR) of Ratchaburi Electricity Generating Co., Ltd.
บทคัดย่อ
การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR เป็นรูปธรรมมากขึ้นในประเทศไทย และยังได้ถูกผนวกให้เป็นแนวปฏิบัติที่เข้ากับการดำเนินธุรกิจ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด ซึ่งเป็นองค์กรธุรกิจหนึ่งที่ได้นำหลักการความรับผิดชอบต่อสังคมมาเป็นกรอบแนวคิดในการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ปัญหา และอุปสรรคของการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยโครงการ CSR IN SCHOOL และเพื่อเสนอแนวทาง หรือวิธีการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมให้แก่หน่วยงานอื่นนำไปประยุกต์ใช้ และเสนอแนวทางในการพัฒนาต่อยอดกิจกรรมแก่บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด ต่อไป โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องได้แก่ ภาคเอกชน ภาครัฐ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ ร่วมกับการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) โดยข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์และประเมินผลงานวิจัยโดยใช้หลักการประเมินผลโครงการแบบ CIPP-I Model ผลการศึกษาพบว่า บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด มีรูปแบบในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมตามพันธกิจ กลยุทธ์การพัฒนา และสร้างเป็นรูปแบบการดำเนินงานให้มีการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนในลักษณะการเป็นเพื่อนบ้านที่ดี ให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการพัฒนาศักยภาพความสามารถของพนักงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรให้บรรลุเป้าหมาย สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการ CSR IN SCHOOL ตามหลักการประเมินแบบ CIPP-I Model ประกอบด้วย 5 ด้าน คือปัจจัยด้านบริบท (Contexts) พบว่า บริบทภายนอก คือ การดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องตามแนวทางการดำเนินการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตอบสนองต่อนโยบาย วิสัยทัศน์ของกลุ่มบริษัท บริบทภายในคือ ความมุ่งมั่นของผู้บริหารเป็นปัจจัยที่จะก่อให้เกิดผลในการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม ปัจจัยนำเข้า (Input) พบว่า บุคลากรมีความสำคัญในด้านนี้ ซึ่งเป็นผลความสำเร็จสืบเนื่องจากปัจจัยด้านบริบท เมื่อบุคลากรได้รับค่านิยม กรอบแนวคิด และแนวทางปฏิบัติให้การสามารถดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ รวมถึงปัจจัยด้านกระบวนการ (Process) พบว่า การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นอีกปัจจัยที่มีความสำคัญในการประสบความสำเร็จของโครงการ ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่เน้นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นการมีส่วนร่วมในลักษณะของการนำไปสู่การปฏิบัติจริง ส่งผลให้เกิด ผลลัพธ์ (Product) ของโครงการคือ การการบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของของผู้จัดกิจกรรม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ร่วมทั้งยังเกิดผลลัพธ์จากการดำเนินกิจกรรมในการได้รับโอกาสและต่อยอดกิจกรรมโครงการได้ เกิดเป็นผลกระทบ (Impact) จากการดำเนินโครงการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถเข้าใจและต่อยอดการดำเนินการโครงการได้จริงและเห็นผลในเชิงประจักษ์ ทั้งการเกิดกลุ่มอาชีพ การเป็นศูนย์การเรียนรู้ และการต่อยอดนวัตกรรมต่าง ๆ เป็นต้น โดยแนวทางการแก้ปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินการคือ 1) ปัญหาด้านการสื่อสารต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ 2) การสร้างความสัมพันธ์ ต้องสร้างความสม่ำเสมอ และความวางใจให้เกิดขึ้น 3) การสร้างเป้าหมายร่วมกันในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สำหรับแนวทางหรือวิธีการที่เสนอให้แก่หน่วยงานอื่นนำไปประยุกต์ใช้ คือ ให้ความสำคัญกับความต้องการ และบริบทของชุมชนเป็นหลัก สร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้รู้สึกถึงการเป็นเจ้าของร่วมกันผ่านกิจกรรมต่าง ๆ และสร้างผลลัพธ์ในการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนแนวทางในการพัฒนาต่อยอดกิจกรรม คือ การสื่อสารให้โครงการ CSR IN SCHOOL เป็นที่รู้จักในวงกว้างผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ปรับกิจกรรมให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน สร้างกิจกรรมให้ผ่านรูปแบบออนไลน์ การแลกเปลี่ยนระหว่างบุคลากรของแต่ละโรงเรียนที่มีความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ปัจจัยแห่งความสำเร็จทั้งหมดที่กล่าวมานั้นได้เกิดขึ้นในการดำเนินโครงการ CSR IN SCHOOL ของโรงไฟฟ้าราชบุรีย่อมส่งผลต่อการเกิดผลลัพธ์ และผลกระทบที่เป็นรูปธรรมแก่โรงไฟฟ้าราชบุรี และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง และพร้อมพัฒนาต่อยอดจากการดำเนินงานโครงการให้เกิดผลในระยะยาวอย่างสมดุลต่อไป ทั้งนี้ผลจากการดำเนินโครงการนี้ ไม่อาจสร้างความสมดุลในด้านเศรฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้ในระยะเวลาอันสั้น หรือเพียงอาศัยการดำเนินงานจากโรงไฟฟ้าราชบุรีเพียงลำพัง หากแต่ต้องมีกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างกลุ่มโรงเรียนรอบโรงไฟฟ้าและชุมชน หรือองค์กรอื่น ๆ ในการร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการให้เกิดผลและการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ในที่สุด
Abstract
In Thailand, Corporate Social Responsibility (CSR) operations are becoming more concrete and common these days. It has also been incorporated into practice guidelines, which are compatible with business operations. Ratchaburi Electricity Generating Co., Ltd. is a business organization that has successfully employed CSR principles as a business framework for business operations. The purpose of this research was to study the model of Corporate Social Responsibility operations, analyze factors affecting the success, and identify problems and obstacles of CSR implementation by utilizing the CSR IN SCHOOL project. In addition, this research aimed to lay out guidelines of how to perform Corporate Social Responsibility for other companies and propose guidelines for further development for Ratchaburi Electricity Generating Co., Ltd. The research was conducted by using qualitative approach. Data were collected through Semi-structured interviews with relevant stakeholders, including private sectors, public sectors, local government organizations, and communities participating in project activities, accompanied with Documentary Research. The data were analyzed and evaluated by using the CIPP-I Model project evaluation principles. The results of the study revealed that Ratchaburi Electricity Generating Company Limited performed their Corporate Social Responsibility in accordance with its missions and development strategy and developed a model of operation to promote the participation of the community and related stakeholders to be able to coexist with the community as a good neighbor. The company concentrated on building relationships with stakeholders and improving employees' potential to support the operations of the organization to achieve its goals. To identify factors contributing to success of CSR IN SCHOOL project, the CIPP-I Model assessment investigated 5 aspects. First in regard to contexts, it was found that external contexts were operations in accordance with the guidelines of the Stock Exchange of Thailand and responses to policies Group vision. Furthermore, internal context was the commitment of the executives, which was a factor that will bring about concrete results of operations. Secondly regarding Input, it exhibited that personnel were significant in this area, and this was successful due to context factors. When personnel were given the values, conceptual frameworks and practices, they could achieve goals and objectives. Moreover, in Process factor, it was found that the participation of the stakeholder groups was another important factor in the success of the project. This was in accordance with the Corporate Social Responsibility operation model that focuses on building good relationships with stakeholders as participatory in the manner of bringing to practice, resulting in the results (Product) of the project. The product was achievement of objectives and the goals of both activity organizers and all stakeholders. It also created opportunities and extended project activities, resulting in an impact from the project implementation. For stakeholders, they could be able to understand, bring the project implementation to practice, and see the empirical results, such as creating professional group, learning center, and various innovations. The solutions to problems of CSR implementations were tackling communication problems, which must be carried out on a regular basis. Besides, building relationships with consistency was also crucial to build trust. Lastly, creating mutual goals among stakeholders was also important. For guidelines or methods proposed to other companies to apply, it was necessary to focus on the needs and community context, build good relationships with a sense of shared ownership through activities, and produce tangible results. As for the development guidelines for further activities, it needed more communication to promote the CSR IN SCHOOL project to be widely known through social media. Moreover, it was essential to adjust activities to suit the current situation and generate activities through online formats as well as exchange staff from different schools with different expertise to create diverse knowledge.