การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการประมาณค่าคุณภาพน้ำ กรณีศึกษาอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง จังหวัดปราจีนบุรี
Application of Geographic Information System for Water Quality Estimation. Huai Samong Reservoir Prachinburi Province
การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการประมาณค่าคุณภาพน้ำ กรณีศึกษาอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง จังหวัดปราจีนบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพน้ำระยะก่อนก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ในช่วงปี พ.ศ. 2550 และระยะหลังก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ในช่วงปี พ.ศ. 2561 – 2563 ศึกษาผลกระทบต่อคุณภาพน้ำจากการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการประมาณค่าเชิงพื้นที่ ด้วยวิธี Inverse Distance Weighting (IDW) การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพน้ำ พบว่า ดัชนีคุณภาพน้ำระยะก่อนและหลังก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (ความคลาดเคลื่อน 0.05) และดัชนีคุณภาพน้ำที่มีค่าเฉลี่ยเกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน จำนวน 7 ดัชนี คือ อุณหภูมิ ปริมาณของแข็งแขวนลอย ความสกปรกในรูปบีโอดี เหล็ก แคดเมียม โคลิฟอร์มทั้งหมด ฟีคอลโคลิฟอร์ม โดยบางดัชนีคุณภาพน้ำมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงในทางลบ คือ อุณหภูมิ ปริมาณของแข็งแขวนลอย ความสกปรกในรูปบีโอดี เหล็ก และแคดเมียม ในพื้นที่และช่วงฤดูกาลแตกต่างกัน และบางดัชนีคุณภาพน้ำ มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงในทางบวก คือ โคลิฟอร์มทั้งหมด และฟีคอลโคลิฟอร์ม จากกรณีศึกษาอ่างเก็บน้ำห้วยโสมง จังหวัดปราจีนบุรี สามารถแสดงข้อมูลแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำจากการสร้างอ่างเก็บน้ำ สามารถประเมินพื้นที่และช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงจากปัญหาคุณภาพน้ำ ทั้งนี้ในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำจึงควรมีมาตรการป้องกันแก้ไข และติดตามเฝ้าระวัง ตั้งแต่ในช่วงเริ่มเก็บกักน้ำ เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนป้องกันปัญหาคุณภาพน้ำจากการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำได้
Application of Geographic Information System for water quality estimation. Huai Samong Reservoir, Prachinburi Province. The study aimed to compare the water quality in Huai Samong stream between pre-construction and post-construction of Huai Samong Reservoir, to interpolate the water quality in Huai Samong stream by Inverse Distance Weighting (IDW) and its impacts. A comparative study of water quality showed that the water quality index before and after the construction of the reservoir were different significantly (tolerances 0.05) sevenaverage water quality index exceededsurface water quality standards which were temperature, suspended solids, BOD, iron, cadmium, total coliform bacteriaand fecal coliform bacteria. Temperature, suspended solids, BOD, iron and cadmium in different areas and seasons have negative trend of changes. Incontrary, total coliform bacteria, fecal coliform bacteria have positive trend of changes. According to a case study of HuaiSamong Reservoir, Prachinburi Province, The study can state water quality changes from reservoir construction and assess areas and periods at risk from water quality problems. In the construction of the reservoir, preventive measures should be taken and monitored from the beginning for planning to prevent water quality problems from the construction of the reservoir.