ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วของประชาชน ในกรุงเทพมหานคร : ศึกษากรณีเขตห้วยขวาง
Factors influencing behavior of Bangkok residents in reducing the use of plastic bag handles: A case study of Huai Khwang District
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ขยะถุงพลาสติกหูหิ้ว ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับถุงพลาสติกหูหิ้ว ความตระหนักด้านปัญหา ขยะถุงพลาสติกหูหิ้ว ความคิดเห็นต่อนโยบายภาครัฐในการลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว ศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมในการลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วของประชาชน ในกรุงเทพมหานคร รวมถึงเพื่อเสนอแนะแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมในการลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชนในเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร จำนวน 100 ตัวอย่าง แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ได้แก่ กลุ่มที่มีพฤติกรรมการลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว และกลุ่มที่ยังมีพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ t – Test, F – Test และ Pearson Correlation Coefficient ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ขยะถุงพลาสติกหูหิ้วอยู่ในระดับปานกลาง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับถุงพลาสติกหูหิ้วอยู่ในระดับสูง มีความตระหนักด้านปัญหาขยะถุงพลาสติกหูหิ้วอยู่ในระดับสูง มีความเห็นด้วยต่อมาตรการเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วอยู่ในระดับสูง มีความเห็นด้วยต่อมาตรการห้ามใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วอยู่ในระดับสูง มีความเห็นด้วยต่อมาตรการสมัครใจ (การรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว) อยู่ในระดับสูง และมีพฤติกรรมในการลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วอยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ประชาชนที่มีอาชีพแตกต่างกันมีพฤติกรรมในการลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วแตกต่างกันทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว ได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์ขยะถุงพลาสติกหูหิ้วมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก ระดับต่ำ ความตระหนักด้านปัญหาขยะถุงพลาสติกหูหิ้วมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก ระดับปานกลาง ความคิดเห็นที่มีต่อมาตรการเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก ระดับปานกลาง ความคิดเห็นต่อมาตรการห้ามใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก ระดับต่ำ และความคิดเห็นต่อมาตรการสมัครใจ (การรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว) มีความสัมพันธ์ในทิศทางบวก ระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ข้อเสนอแนะที่สำคัญ ได้แก่ ภาครัฐควรส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ดำเนินกิจกรรมในการลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว อย่างเป็นรูปธรรม สถานศึกษา หน่วยงานราชการ และห้างร้านต่างๆ ควรทำการสื่อสารประชาสัมพันธ์การลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วอย่างชัดเจน ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับกระบวนการสื่อสารสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักและร่วมมือในการลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว รวมถึงควรมีการดำเนินมาตรการทางกฎหมาย และมาตรการสมัครใจควบคู่กันไป
This research aims to study the extent of information received by Bangkok residents in relation to plastic bag handles, their knowledge and understanding on the issue, their awareness on the problem, their opinions toward the government’s policy on the reduction of plastic bag handle using, their behavior and factors influencing their behavior in reducing the use of plastic bag handles, as well as to provide recommendations on appropriate guidance and measures to reduce the use of plastic bag handles. The study conducted 100 questionnaire surveys to collect data from residents living in Huai Khwang District, Bangkok. The samples were divided into two groups using stratified sampling, whereas Group 1 represents a group of residents who had reduced the use of plastic bag handles and Group 2 represents a group of residents who continued using plastic bag handles. The data were then analyzed using descriptive and inferential statistics, comprising of t-Test, F-Test and Pearson Correlation Coefficient. The survey data reveals that the samples moderately received information on the situation of waste arising from plastic bag handles. Their knowledge and understanding on plastic bag handle were high. Their awareness on the problem of waste arising from plastic bag handle was high. Their supports on the application of tax or fee on the use of plastic bag handle were high. Their supports on measures to ban plastic bag handle were high. Their supports on the voluntary measures (promotion to reduce the use of plastic bag handle) were high. Finally, their behavior to reduce the use of plastic bag handle was moderate. The hypothesis test found that there is a significant difference of behavior of reducing the use of plastic bag handle among people with different occupations (p<0.05). Factors significantly influence people’s behavior in reducing the use of plastic bag handle are information about the situation of plastic bag handle (low positive correlation); awareness on the problem of waste generated from plastic bag handle (moderate positive correlation); opinion toward tax or fee measures in relation to the use of plastic bag handle (moderate positive correlation); opinion toward the ban of plastic bag handle (low positive correlation) and opinion toward voluntary measures (promotion to reduce the use of plastic bag handle) (low positive correlation) (p<0.01). The study suggests that the government should solidly promote and support private sectors, citizen, and related sectors to conduct activities in relation to the reduction of plastic bag handles. Schools and universities, government agencies, and department stores should clearly communicate its policy to reduce the use of plastic bag handles. Government should place priority to the process of public relations and communication to build public awareness and gain public support in reducing the use of plastic bag handles. Lastly, the government should, in parallel, impose the legal measures and promote voluntary measures on the reduction of plastic bag handles.