การประเมินสถานภาพลุ่มน้ำหลักเพื่อหาแนวทางและมาตรการในการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำอย่างเหมาะสม กรณีศึกษา ลุ่มน้ำปิง วัง ยม และน่าน
Status assessment of Four Major watersheds and Its Management Guidelines: Ping, Wang, Yom and Nan Watersheds
การประเมินสถานภาพลุ่มน้ำ จัดทำขึ้นเพื่อจำแนกสถานภาพลุ่มน้ำในแต่ละลุ่มน้ำว่ามีสถานภาพเป็นอย่างไร โดยใช้วิธีการประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ร่วมกับการใช้เทคนิควิธีกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analysis Hierarchy Process) เพื่อคำนวณหาค่าน้ำหนักของปัจจัยและค่าคะแนนของแต่ละระดับของปัจจัย และเสนอแนวทางและมาตรการในการจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำได้อย่างเหมาะสม โดยการประเมินสถานภาพลุ่มน้ำ ประกอบด้วยปัจจัยที่มีผลต่อสถานภาพลุ่มน้ำ 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ด้านโครงสร้างลุ่มน้ำ ด้านหน้าที่ลุ่มน้ำ ด้านการใช้ประโยชน์ลุ่มน้ำ ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในลุ่มน้ำ เพื่อเสนอแนะการวางแผนพื้นที่ลุ่มน้ำอย่างเหมาะสมยั่งยืน โดยพื้นที่ศึกษาเป็นพื้นที่ต้นน้ำของประเทศ ประกอบด้วย ลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำวัง ลุ่มน้ำยม และลุ่มน้ำน่าน จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยความสำคัญที่มีผลต่อสถานภาพของลุ่มน้ำ คือ ด้านโครงสร้างลุ่มน้ำ มีค่าน้ำหนัก 0.309 ด้านหน้าที่ลุ่มน้ำ มีค่าน้ำหนัก 0.342 ด้านการใช้ประโยชน์ลุ่มน้ำ มีค่าน้ำหนัก 0.177 ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีค่าน้ำหนัก 0.173 และผลการประเมินสถานภาพลุ่มน้ำปิง วัง ยม และน่าน พบว่า ลุ่มน้ำน่าน อยู่ในระดับสมดุล และลุ่มน้ำปิง วัง และยม อยู่ในระดับเตือนภัย ซึ่งได้เสนอแนะแนวทางและมาตรการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้อย่างยั่งยืน เช่น จัดทำฐานข้อมูลที่ดินและแผนที่ขอบเขตที่ดิน เร่งรัดการปัญหาความขัดแย้งและการบุกรุกที่ดินในพื้นที่ป่าไม้ จัดตั้งเครือข่ายอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำลำธาร และการดูแลคุณภาพน้ำในพื้นที่เมือง ส่งเสริม สนับสนุน การวางแผนพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ดีของเมืองให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี เป็นต้น
Watershed status assessment was completed to classify the watershed status in study area with GIS. Techniques of Analytical Hierarchy Process (AHP) was applied to attain factor scores and weights and then to propose watershed management guideline relating to the study results. Concerned factors to assess watershed status included structure, function, use and natural resource management of watershed and study area covered main watersheds in the north of Thailand; Ping, Wand, Yom and Nan watershed. The study found that the significance weight of watershed status were structure, function, use and natural management of watershed which are 0.309, 0.342, 0.177 and 0.173 respectively. The status of these watersheds found that Nan watershed was in equilibrium stage, but the status of Ping, Wang and Yom watershed were in warning stage. The study recommended conservation and rehabilitation for these watershed management including establishing a soil and land ownership database; expediting the resolution of conflicts and forest encroachment; building of water resource and water quality network during the community; good urban planning; city good environment planning.