Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษาตลาดน้าบางน้าผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ
Title
Factors Affecting The Tourists’s Decision of Ecotourism : A Case Study of Bang Nam Phueng Floating Market in Samut Prakan
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษาตลาดน้าบางน้าผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวในตลาดน้าบางน้าผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศในตลาดน้าบางน้าผึ้ง จาแนกตามลักษณะประชากรและพฤติกรรม เพื่อเสนอแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของตลาดน้าบางน้าผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ ในเชิงนโยบายและเชิงปฏิบัติ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้ใช้บริการได้มากขึ้น รวมถึงแนวทางการศึกษาวิจัยในอนาคต งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลโดยแจกแบบสอบถามให้กับกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยการสุ่มแบบสะดวก และทาการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent t–test และ One–Way ANOVA โดยกาหนดนัยสาคัญทางสถิติอยู่ที่ 0.05 หากพบความแตกต่างได้ทาการทดสอบหาความแตกต่างรายคู่ด้วยการวิเคราะห์ Post Hoc แบบ LSD ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง Generation Y อายุ 24-41 ปี (พ.ศ. 2523-2540) การศึกษาระดับปริญญาตรี/สูงกว่ามากที่สุด อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน รายได้ต่อเดือนระหว่าง 10,000 – 20,000 ในส่วนของพฤติกรรมพบว่าส่วนใหญ่ มีจุดประสงค์หลักในการเดินทางมาท่องเที่ยวตลาดน้าบางน้าผึ้ง เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และหลีกหนีความวุ่นวาย ครอบครัวและญาติมีส่วนร่วมในการตัดสินใจท่องเที่ยว และเดินทางมาด้วยตนเองโดยใช้รถยนต์ส่วนตัว และจานวนครั้งที่มาท่องเที่ยวเพียง 1 ครั้ง และได้รับข้อมูลในการตัดสินใจมาท่องเที่ยวผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ (เฟสบุค,เว็บไซต์, อินสตาแกรม, ทวิตเตอร์) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยวกรณีศึกษาตลาดน้าบางน้าผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ ด้านกิจกรรมและกระบวนการ ในหัวข้อมีกระบวนการสร้างรายได้และสร้างอาชีพให้แก่ชุมชนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน การเปรียบเทียบการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศกรณีศึกษาตลาดน้าบางน้าผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงนิเวศของนักท่องเที่ยว กรณีศึกษาตลาดน้าบางน้าผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการไม่แตกต่างกัน ปัจจัยด้านพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว จุดประสงค์หลัก จานวนครั้งในการใช้บริการ ช่องทางการรับรู้ข่าวสาร แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจไม่แตกต่างกัน ส่วนบุคคลร่วมเดินทาง รูปแบบการเดินทาง ส่งผลต่อการตัดสินใจแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยสามารถนาไปช่วยปรับปรุงและส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวภายในตลาดน้าให้มากขึ้นให้ รวมถึงปรับเพิ่มด้านการบริการให้สามารถเป็นประโยชน์ต่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอื่นๆเพิ่มมากขึ้น
Abstract
The objectives of this research are to 1) factors affecting the tourists’s decision of ecotourism of Bang Nam Phueng Floating Market in Samut Prakan 2) To compare factors affecting the tourists’s decision of ecotourism of Bang Nam Phueng Floating Market in Samut Prakan by Personal Data and Behavior 3) To provide policy and practical recommendation of Ecotourism Management of Bang Nam Phueng Floating Market in Samut Prakan. This research used questionnaires to collect the data from 400 tourists who travel on Ecotourism in Bang Nam Phueng Floating Market in Samut Prakan. The data were analyzed by both descriptive and inferential statistics such as frequency, percentage, mean, and standard deviation. Independent T–test and One-Way ANOVA statistic were used to test the variance of the two variables at the statistical significance level of 0.05. The results showed that most of the tourists were female. They are in Generation Y between 24-41 years old (2523-2540). The majority of the samples in this study educated as Bachelor’s degree or higher and working as employee with monthly income is 10,000 – 20,000 Baht. In terms of travel behavior, the main purpose is to escape and need of some recreation, traveling with relatives or family, visiting the floating market by their own car, ever been only 1 time and mostly derived from social media. The result of the study found that the overall and each aspect of factor affecting decision of ecotourism of Bang Nam Phueng Floating Market in Samut Prakan were at high level and the highest aspect is activities and processes with the process of generating income and creating a career for the local community. The hypothesis test represented that the comparison of factor affecting decision of personal by sex, age, education, occupation income were not difference. Different behavioral factors (main purpose, frequency of traveling and Social media channel) did not affect the different tourist decisions but different travel companion and commute affect the different tourist decisions with statistical significance at the level of 0.05. These results can be used as guidelines for improving and encourage more local people to participate in the management of tourism within the floating market and also improving services that would be useful for the management of other ecotourism sites.