Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
มาตรการควบคุมและแนวทางในการดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกวัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม
Title
Control measure and guideline for the implementation of laws relating to import and export of hazardous substances in responsibility of Department of Industrial Works
บทคัดย่อ
การนำเข้าและส่งออกวัตถุอันตรายนั้น จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด วัตถุอันตรายถูกแบ่งให้หลายหน่วยงานควบคุมกำกับดูแลตามวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้ประโยชน์ การศึกษาสารนิพนธ์ เรื่อง มาตรการควบคุมและแนวทางในการดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออกวัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการควบคุมและกระบวนการนำเข้า-ส่งออก ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อหามาตรการหรือแนวทางในการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ ผู้ศึกษาได้กำหนดขอบเขตในการศึกษาเฉพาะวัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ที่มีทั้งการวิจัยเอกสารซึ่งเป็นข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสีย และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า การนำเข้า-ส่งออกสินค้าของประเทศไทยนั้นมีหน่วยงานรับผิดชอบที่สำคัญคือ การท่าเรือแห่งประเทศไทย และกรมศุลกากร ต่างมีมาตรการควบคุมดูแลตามอำนาจหน้าที่ของตน โดยการท่าเรือแห่งประเทศไทยทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลการขนถ่ายและการเก็บรักษาวัตถุอันตรายตามหลักเกณฑ์และระเบียบข้อบังคับขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ กรมศุลกากรทำหน้าที่ในการควบคุมและตรวจปล่อยวัตถุอันตราย โดยตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับใบอนุญาตการนำเข้า-ส่งออก จากหน่วยงานที่รับผิดชอบ ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหนึ่งที่รับผิดชอบในการควบคุมกำกับดูแลวัตถุอันตรายโดยการออกประกาศกระทรวงและระเบียบกรม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือและแนวทางการปฏิบัติทั้งของเจ้าหน้าที่ภาครัฐและผู้ประกอบการ กฎหมายวัตถุอันตรายของประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากข้อผูกพันสนธิสัญญาและข้อตกลงระหว่างประเทศต่างๆ ที่ประเทศไทยร่วมเป็นสมาชิก ดังนั้นถ้ามีการ(1)ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยบูรณาการข้อมูลวัตถุอันตรายได้ครบวงจร (2) อำนวยความสะดวกในขั้นตอนการดำเนินการต่างๆให้สามารถทำได้รวดเร็ว (3) ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ (4) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายวัตถุอันตรายที่ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติก่อนจะนำเข้า-ส่งออกวัตถุอันตราย (5) สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้มีส่วนได้เสียให้สามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้องเหมาะสม (6) การสนับสนุนส่งเสริมให้พนักงานเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตและการใช้ประโยชน์สารเคมี และควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้เป็นเครื่องมือใหม่ๆที่จะช่วยทำให้มาตรการของกรมโรงงานอุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด ทั้งยังเป็นการอำนวยความสะดวกและไม่เป็นอุปสรรคในการประกอบธุรกิจและการลงทุนในประเทศไทย
Abstract
Hazardous substances import or export need comply with strict regulations and law. They are divided to control by several government sector according to the purpose of use. The study of the thesis on the control measure and guideline for implementation of laws relating to import and export of hazardous substances in responsibility of Department of Industrial Works (DIW) objective is study control, import/export process, problem and threat to find effective measure and guideline. Scope for hazardous substances in responsibility of Department of Industrial Works is qualitative study includes both research documents which are secondary data, stakeholders interview primary data and participatory observation Study indicated Thailand goods import/export government are Port Authority of Thailand and Customs Department which measure to control and supervise their authority. Port Authority of Thailand monitor the handling and storage of hazardous materials in accordance with the rules and regulations of International Maritime Organization. Customs Department control and release hazardous substances by check accuracy of import/export license and license grantor data. Department of Industrial Works is one of agencies responsible for control hazardous substances by issue Ministry and Department Regulations as tools and guideline for both government and entrepreneurs Thai’s Hazardous Substance. Law is influenced by the treaty commitments and international agreement that Thailand is a member, so if there are: (1) Use information technology to integrate hazardous substances data. (2) Facilitate quick steps in various operation. (3) Collaborate between government agencies. (4) Enhance knowledge and understanding hazardous substances law that entrepreneurs need comply before import/export. (5) Knowledge creation and understanding for these involved in legal compliance appropriately. (6) Assistance providing to DIW officer educated and learn more about production technology and chemicals utilization and should have further studies on the application of information technology as new tool support measure of DIW to most effective and beneficial society. It also facilitates and doesn’t become a barrier to Thailand business and investment.