Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
แนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการกากของเสียตามหลักเกณฑ์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม สำหรับโรงงานรีไซเคิลถังภาชนะบรรจุภัณฑ์ กรณีศึกษา บริษัท สุธีค้าถัง 2499 จำกัด
Title
Guidelines for the operation of waste management According to the regulations of the Department of Industrial Works for consisted of container recycling, case study Sutee Kar Tank 2499 Company Limited
บทคัดย่อ
การพัฒนาของภาคอุตสาหกรรม มีการใช้ทรัพยากรในกระบวนการผลิตสูง ส่งผลให้เกิดปัญหามลพิษและกากของเสีย รวมทั้งโรงงานรับจัดการกากของเสียที่ได้มาตรฐานมีไม่เพียงพอทำให้เกิดการลักลอบทิ้งกากของเสียตามที่สาธารณะ และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการกากของเสีย ตามหลักเกณฑ์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม 2) เพื่อประเมินสมรรถนะขององค์กรและเปรียบเทียบข้อแตกต่างกับข้อกำหนด (Gap Analysis) และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานวิธีการปฏิบัติงานที่ดีอย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และดำเนินการศึกษาภายในบริษัท สุธีค้าถัง 2499 จำกัด ซึ่งประกอบกิจการรีไซเคิลถังภาชนะบรรจุภัณฑ์ ทั้งนี้ ได้ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหาร หัวหน้างาน พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า บริษัทฯ ยังปฏิบัติไม่สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมหลายประการ ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสม ดังนี้ 1) ต้องแจ้งขออนุญาตครอบครองสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตามแบบ สก.1 2) ต้องมีบุคลากรเฉพาะรับผิดชอบความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายประจำสถานที่จัดเก็บ (บฉ.3) 3) จัดทำมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันฝุ่นละออง ประกายไฟ และไอระเหยของสารเคมีจากการปฏิบัติงาน 4) จัดเตรียมพื้นที่เฉพาะให้เหมาะสมในทุกขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยง 5) ติดตั้งระบบรวบรวมไอระเหยสารเคมีไปบำบัดด้วยระบบบำบัดที่มีประสิทธิภาพ 6) จัดทำคู่มือ เอกสาร หลักฐานและบันทึกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดอย่างเป็นระบบ 7) จัดให้พนักงานได้รับการฝึกซ้อมตามแผนฉุกเฉินกรณีเกิดเหตุสารเคมีหกรั่วไหลประจำปี และ 8) จัดให้พนักงานได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีตามปัจจัยเสี่ยง นอกจากนี้ ได้ทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร โดยใช้ SWOT Analysis และใช้ TOWS Matrix เพื่อประเมินกลยุทธ์ทางเลือกที่เหมาะสมในการนำไปปรับปรุงองค์กรให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยผลการวิเคราะห์ SWOT Analysis พบว่า บริษัทฯ มีจุดด้อยด้านการขาดบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ในการวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับพนักงานที่ปฏิบัติงาน ทำให้การเริ่มต้นการพัฒนาด้านการจัดการกากของเสียยังมีแนวทางที่ไม่เหมาะสม และผลการประเมินกลยุทธ์ทางเลือก (TOWS Matrix) ที่นำเสนอ คือ กลยุทธ์เชิงรุก (SO- Strategies)โดยการสนับสนุนให้บริษัทฯ เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการนำใช้ระบบมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สูงขึ้น ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขวิธีการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับข้อกำหนดฯ และประยุกต์ใช้ระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม หรือระบบมาตรฐานการจัดการกากของเสีย เพื่อทบทวน ข้อกฎหมายและจัดลำดับความสำคัญของปัญหาเพื่อให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่อง
Abstract
High amount of natural resources are required for the industrial development in which consequently resulting in pollution and industrial waste problems. Standard waste management facilities are inadequate causing illegal dumping in public spaces and affect the environment. The objective of this study consisted of 1) To study the model of waste management according to the approved guideline of the Department of Industrial Works, 2) to analyze the gap between the organization performance with the guideline, and 3) to propose the model to be complied to the best practices guideline. This research is a qualitative research conducted in Sutee Kar Tang 2499 Company Limited, a container recycling industry. Moreover, semi-structured questionnaire was used as a tool to acquire data from management, leaders, operators and involved key stakeholders. From the result, it was found that the company industrial process is not compiled with the guideline of the Department of Industrial Works. Therefore, there are some recommendations to ward good practices such as 1) permission for waste handling according to Sor Kor 1, 2) must have a specialized personal who is responsible for hazardous material handling in accordance with Bor Chor 3, 3) have effective measures to prevent dust, fire and chemical vapor from the recycling process, 4) prepare the specific areas to suit with possible risk, 5) install a vapor collecting system to be treated efficiently, 6) system atically preparea relevant operation manual, documents, evidences and records, 7) arrange a drill according to the emergency plan in the case of chemical spillage 8) provide an annual personal medical check based on risk of activities. Moreover, the company’s performance was analyzed using SWOT analysis and TOWS matrix to set up a suitable strategic plan for continuous development of the business. Weaknesses of the company were identified from the SWOT analysis, include lacking of personal with knowledge and experiences to analyze and rank the significant problems to prevent and mitigate environmental impacts as well as hazards to the operators. Therefore, the development of waste management is not suitable. From TOWS matrix, the suggested aggressive strategic (S/O - strategies) plan is encouraging the company to participate in an operational enhancing project. Furthermore, the company should improve the operation to comply with the guideline by applying the environmental management standard or the waste management standard to identify the gap and to prioritize the problems towards continual improvement.