แนวทางการจัดการที่มีผลต่อการคงสถานะเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล กรณีศึกษา พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช
Management Guidelines Having Effect on Maintaining the Status of the Biosphere Reserve: Case Study on Sakaerat Biosphere Reserve.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่สงวนชีวมณฑล 2. เพื่อศึกษาถึงปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยด้านการบริหารจัดการที่มีผลกระทบต่อการคงสถานะต่อการเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล โดยพื้นที่ที่เลือกศึกษาในครั้งนี้คือ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร วารสาร หรือบทความทางวิชาการ และการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้อำนวยการและบุคลากรของสถานีฯ โดยผู้วิจัยกำหนดคุณสมบัติของบุคลากรผู้ให้ข้อมูลโดยเลือกจากผู้มีระยะเวลาการทำงานกับสถานีฯ ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 5 ปี และมากกว่า 5 ปีขึ้นไป เพื่อต้องการทราบถึงการรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่สงวนชีวมณฑล ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรของสถานีฯ ไม่ทราบว่าการปฏิบัติหน้าที่ในแต่ละวันถือเป็นปัจจัยในการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์จากการมอบหมายหน้าที่โดยผู้อำนวยการสถานีฯ แต่มีความเข้าใจบทบาทสำคัญของการเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลเป็นอย่างดีทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการอนุรักษ์ ด้านการพัฒนา และด้านการสนับสนุนทางการวิจัยและการศึกษา ซึ่งมีการกำหนดนโยบายและเป้าหมายในการดำเนินงานโดยมีการสื่อสารแก่บุคลากร โดยบุคลากรรับทราบนโยบายการทำงานของสถานีฯ เป็นอย่างดี นอกจากนี้สถานีฯ ยังมีเครือข่ายการทำงานที่สำคัญในการประสานงานระหว่างประเทศและด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายที่ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานด้านการจัดการดูแลพื้นที่สงวนชีวมณฑล และสำหรับศักยภาพในการดูแลจัดการพื้นที่ พบว่า งบประมาณสนับสนุนที่ได้รับในปัจจุบันมีความเพียงพอ และบุคลากรได้รับปริมาณงานที่เหมาะสม สำหรับปัจจัยที่มีความเสี่ยงสำคัญต่อการไม่ได้เป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล คือ การป้องกันรักษาพื้นที่ป่า การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการมีปฏิสัมพันธ์ต่อชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งทำให้ขัดต่อวัตุประสงค์ของโครงการมนุษย์กับชีวมณฑล ที่ต้องการสร้างให้พื้นที่สงวนชีวมณฑลเป็นรากฐานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นพื้นที่สำหรับศึกษาวิจัยการอยู่ร่วมกันของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการคาดการณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ที่มีผลมาจากการกระทำในวันนี้ ทำให้สามารถจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อคุณภาพของทุกชีวิตทั้งประชากรมนุษย์และสิ่งแวดล้อม สำหรับปัญหาที่พบและข้อเสนอแนะ พบว่า ในปัจจุบันอุปกรณ์และเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้ามาใช้พื้นที่มีความทรุดโทรมไม่พร้อมแก่การใช้งาน ซึ่งหากได้รับงบประมาณสนับสนุนจะช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และข้อเสนอแนะที่พบระหว่างการศึกษาได้แก่ การติดตามเฝ้าระวังศักยภาพในการดูแลจัดการพื้นที่ และติดตามผลอย่างสม่ำเสมอเพื่อทวนสอบการทำงานอย่างเป็นระบบ และควรมีนโยบายการสนับสนุนให้บุคลากรภายในองค์กรทำงานวิจัยในพื้นที่ให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันสถานีฯ ไม่ได้ทำงานวิจัยในพื้นที่แต่เป็นหน่วยสนับสนุนและอำนวยความสะดวกแก่การเข้ามาทำงานวิจัยจากบุคคลภายนอก
The objective of this research is 1. To study the guidelines on the management of Biosphere Reserve, 2. To study the risk factors and the administrative factors having effect on maintaining the status of Biosphere Reserve. The area chosen for this study is Sakaerat Environmental Research Station, Nakhon Ratchasima Province; using the method of data collections by means of studying documents, journals or academic articles, and semi-structured interviews with the Director and personnel of the Station. In this respect, the Researcher defines qualifications of the informational personnel by selecting personnel from those who have working period with the station of less than, or equal to 5 years, and more than 5 years in order to get to know the perceptions and understanding on the criteria classified to be a Biosphere Reserve and the participations in the Biosphere Reserve management. It is found, as a result of the study, that personnel of the Station have not realized that their routine duty performances are considered the operational factors in accordance with the criteria assigned by their Station Director. However, they are well understandable on the important role of being a Biosphere Reserve in all 3 aspects which are conservation, development, and research and educational supports in which the policy and the operational goals are defined and communicated to the personnel, which, in this connection, the personnel are well aware of the Station’s working policy. In addition, the Station has the important network for international coordination and land utilizations pursuant to the law that help support the management of Biosphere Reserve. Respective to the area management potentials, it is found that the supported budget currently received is sufficient and the quantity of work received by the personnel to handle is reasonably suitable. Where the important risk factor for not being a Biosphere Reserve is the forest protection, biodiversity conservation and interactions with the communities in nearby areas which constitute a contradiction to the objectives of the Human and Biosphere Project that tends to create a Biosphere Reserve to be a foundation and a means of exchange of knowledge in and learning on Science and Social Science, in being a space for researching human coexistence with the environment including the prediction on the impact to occur tomorrow consequently as a result from today’s action which will enable us to manage natural resources and the environment more efficiently for the quality of all living things, both human populations and the environments. On the problems discovered and the potential suggestions, it is found that, at present, the equipment and tools for facilitating the users are deteriorated and not ready to be put to use. If any supported budget should be allocated, it will help the operations to become more efficient. The suggestions found during the study include the monitoring of potentials on the area management and the regular follow-ups to verify the systematic operations. In addition, there should be a policy to support more personnel in the organization to conduct the research in the area due to the current station that the Station has not conducted any research in the area, but, just being a unit to provide supports and facilitations to the third party in entering to conduct research work.