แนวทางการจัดการน้ำเสียในอุทยานแห่งชาติอย่างยั่งยืน
A proposed guideline for Sustainability of Wastewater Management in National Parks.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการน้ำเสียในอุทยานแห่งชาติของประเทศไทย และเพื่อศึกษาทางเลือกการจัดการน้ำเสียสำหรับอุทยานแห่งชาติที่มีลักษณะแตกต่างกัน โดยกรณีศึกษาจากอุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด และอุทยานแห่งชาติเอราวัณ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์และสังเกตการณ์ภาคสนาม ผลการศึกษาพบว่าปริมาณน้ำเสียจากกิจกรรมท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติมีเพิ่มขึ้นทุกปี ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำทะเลและคุณภาพน้ำในแม่น้ำลำคลองเสื่อมโทรมลง แหล่งที่มาของน้ำเสียในอุทยานแห่งชาติส่วนใหญ่เกิดจากห้องน้ำสาธารณะ บ้านพักนักท่องเที่ยว ร้านอาหารและสถานประกอบการโดยรอบอุทยานฯ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดน้ำเสีย คือ น้ำจากการชำระล้างสิ่งปฏิกูล เศษอาหารและไขมัน ทั้งนี้ อุทยานแห่งชาติมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน อีกทั้งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและแหล่งน้ำใช้สอยในครัวเรือน เกษตรกรรม อุตสาหกรรมและพลังงาน จึงควรเร่งหามาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการน้ำเสียเพื่อรักษาสมดุลระบบนิเวศดั้งเดิมและเพื่อสามารถรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ โดยการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์และนโยบายที่มุ่งเน้นการจัดการน้ำเสียที่ชัดเจน การจัดสรรงบประมาณ รวมถึงการนำเอาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาน้ำเสีย โดยแนวทางการแก้ปัญหาน้ำเสียในอุทยานแห่งชาติ ได้แก่ การจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศแหล่งกำเนิดน้ำเสีย การจัดตั้งภาคีเครือข่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏและมหาวิทยาลัยราชมงคลทั่วประเทศเพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย การปรับปรุงห้องน้ำสาธารณะให้มีรูปแบบทันสมัย สะอาด สวยงาม และใช้เทคโนโลยีอิเลคทรอนิกส์และปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเป็นจุดสนใจและการสร้างการมีส่วนร่วมบำรุงรักษา ได้แก่ การจัดเก็บค่าบริการจากนักท่องเที่ยวเพื่อมาใช้จ่ายแก้ปัญหาน้ำเสีย และใช้จ่ายสำหรับงานวิจัยและพัฒนาและบำรุงรักษาทรัพย์สินของอุทยาน โดยติดตั้งเครื่องหยอดเหรียญบริเวณหน้าห้องน้ำสาธารณะ หรือรวมไว้กับค่าเข้าชมอุทยานที่มีอัตราสมเหตุสมผล รวมถึงการจัดตั้งคณะทำงานภาคีร่วมกับชุมชนและสถานประกอบการโดยรอบอุทยาน เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทสำคัญในการมีส่วนร่วมบริหารอุทยาน
This work is Qualitative research. The Case study of the Khao Laem Ya-Mu Ko Samet National Park and the Erawan National Park are representative of the marine’s National parks and inland's National parks in Thailand respectively were included in this study to reflecting at the wastewater management in Thailand’s National park and the alternative choices for disparities of the National park's wastewater sustainability guideline. The collected data were based on an informal interview conducted in the administrator or the officer's agencies in their National Park. In the work presented in the study, visitation to the National Park have increased dramatically every year. Tourism generates large quantities of wastewater and the management of this has become problematic. The wastewater is often discharged directly, insufficient wastewater facilities or leak into lagoons and bays as a result of pollution. Sources of wastewater in the National Park related activities around the area such as motels, restaurants, etc. The National Park has widely been acknowledged as a vital country development which the water source for human activities. For the Sustainability of Wastewater Management in National Park's success and keep the primary ecological system, The most important policies and vision framework from the administrator is the convention for the protection and sustainability development of the national park that provides the solution for wastewater management, the educational partnership with universities like Rajabhat University or Rajamangala University of Technology to research and development suitable technologies for wastewater treatment in each area such as the water pollution inventory data in term of GIS, the environmental capacity study for wastewater forecast in order to upgrade the wastewater-treatment facilities in the future, wastewater treatment facilities it would be appropriate to the type of National Parks with A.I., prescript for wastewater fee into the National Park’s toll, and empowerment of public participation around the National Park area is an important element of the planning process to Sustainable development.