แนวทางการเลือกหลักเกณฑ์การออกแบบอาคารสุขภาวะ ประเภทอาคารสำนักงานที่เหมาะสมในประเทศไทย
Guidelines of design criteria for health office building in Thailand
แนวทางการเลือกหลักเกณฑ์การออกแบบอาคารสุขภาวะ ประเภทอาคารสำนักงานที่เหมาะสมในประเทศไทย มนชนก จุ้ยหมื่นไวย1 วิชชุดา สร้างเอี่ยม2 1คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ บทคัดย่อ การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อศึกษาเกณฑ์การออกแบบอาคารสุขภาวะตามมาตรฐาน WELL 2. เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์การออกแบบอาคารสุขภาวะที่เหมาะสมกับผู้ใช้อาคารสำนักงานในประเทศไทย 3.เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงหลักเกณฑ์การออกแบบอาคารสุขภาวะที่เหมาะสมเพื่อนำมาใช้ในประเทศไทย โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตรวจสอบแบบสามเส้าเชิงคุณภาพ Triangulation จากการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง จากการศึกษาพบว่า เกณฑ์มาตรฐาน WELL 10 หมวดมี 6 หมวดที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย ประกอบไปด้วย หมวดน้ำ หมวดอาหาร หมวดอุณหภูมิ หมวดเสียง หมวดจิตใจ และหมวดชุมชน และมี 4 หมวดที่ไม่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย ประกอบไปด้วย หมวดอากาศในเรื่องความชื้นที่สภาพภูมิอากาศของประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้นซึ่งแตกต่างกับบริบทของมาตรฐานที่เป็นสภาพอากาศแบบอบอุ่น หมวดแสงสว่างพบว่าเรื่องค่า EML Equivalent Melaponic Lux :EML ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบ รวมถึงไม่สอดคล้องกับข้อกฎหมายในปัจจุบัน ส่วนในหมวดการเคลื่อนไหวนั้นพบว่าบริบทของประเภทอาคารที่แตกต่างกันมีผลต่อความต้องการที่แตกต่างกัน และหมวดวัสดุที่ในปัจจุบันวัสดุหลายอย่างยังไม่มีการผลิตในประเทศ ทำให้มีค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการจัดหาที่มากขึ้นจนอาจจะส่งผลกระทบต่อการก่อสร้างหรือปรับปรุงอาคาร ซึ่งจากการศึกษาได้กำหนดแนวทางในการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยดังนี้ 1.ควรมีการศึกษาและกำหนดหลักเกณฑ์ในหมวดอากาศให้สอดคล้องกับบริบทของสภาพภูมิอากาศในเขตร้อนชื้น 2.ควรแสดงความชัดเจนในการคำนวณค่า EML Equivalent Melaponic Lux :EML และจะต้องมีการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการออกแบบให้แก่ผู้เกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นในวงกว้าง 3.หมวดการเคลื่อนไหวควรจะมีการออกแบบให้สอดคล้องกับประเภทของอาคาร และ 4. ในหมวดวัสดุควรมีการกำหนดวัสดุเทียบเคียง เพื่อให้สามารถใช้ทดแทนวัสดุที่ไม่สามารถหาได้ในประเทศไทย
Guidelines of design criteria for health office building in Thailand Manachanok Juymuenwai1 Witchuda Srang-iam2 1Graduate School of Environmental Development and Administration, National Institute of Development Administration Abstract This study Intended to 1. To study the design criteria for building health in accordance with the WELL standard 2. To study the criteria for building health design suitable for office building users in Thailand. 3. To propose guidelines for improving the design criteria for suitable health buildings for use in Thailand by analyzing data with qualitative triangular examination from semi-structured interviews From the study, it was found that the 10 criteria within the WELL standard there were 6 categories which were in line with the context of Thailand, comprising of water, food, temperature, sound ,mental health and the community. Thailand being tropical country the weather is extremely difference to that a warm country humidity a high factor there for standard in the WELL document have to adjusted. To suite the topical climate of Thailand. The lighting category found that the EML value Equivalent Melaponic Lux: EML However currently the lack of experts in this category is hindering the implementation of this standard. Including not complying with current laws. Within the movement category, it was found that different buildings have different needs,and materials that at present, are not produce in Thailand. Resulting in higher costs and more time to procure that will affect the construction or renovation of buildings. According to the study, guidelines for improving the standard criteria are consistent within the context of Thailand, as follows. 1. Should study and determine the criteria in the air category to be consistent with the tropical climate 2.Should clearly show the calculation of EML Equivalent Melaponic Lux: EML and must be conveyed to the government for the purpose of gaining more experts in this field. 3.The movement category should be designed to be consistent with the type of building 4.The material category should have comparable materials In order to be able to substitute materials that cannot be found in Thailand.