บทบาทของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม กรณีศึกษา ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนนิติบุคคลผู้ให้บริการด้านสิ่งแวดล้อม
The Role of a Private Laboratory, A Juristic Person Registered with the Department of Industrial Works: A Case Study of Private Laboratories, Juristic Persons Who are Environmental Service Providers.
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลแนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนนิติบุคคลผู้ให้บริการด้านสิ่งแวดล้อมที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม และเสนอแนวทางในการจัดการห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนนิติบุคคลผู้ให้บริการด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยทำการศึกษาจากแหล่งข้อมูลเป็น 2 ประเภท คือ 1.ข้อมูลปฐมภูมิ คือ การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3 กลุ่ม ได้แก่ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนนิติบุคคลผู้ให้บริการด้านสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่ให้การรับรอง (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) และผู้ใช้บริการห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนนิติบุคคลผู้ให้บริการด้านสิ่งแวดล้อม 2.ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ข้อมูลทางธุรกิจของห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนนิติบุคคลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติเชิงพรรณนาบรรยายข้อมูลทางธุรกิจจากกราฟและนำเสนอแนวทางการจัดการจากข้อมูลการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน รวมทั้งสรุปผลการศึกษาด้วยการนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาด้วย Balance Scorecards (BSC) ผลการศึกษาพบว่าแนวโน้มห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนนิติบุคคลผู้ให้บริการด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันจะเป็นบริษัทธุรกิจขนาดเล็กที่ประกอบกิจการตรวจวัดและวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อมมากกว่าธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยคิดเป็นร้อยละ 83, 11 และ 6 ตามลำดับ โดยปีที่ได้รับความนิยมในการลงทุนมากที่สุดคือ ปี 2543 และสินทรัพย์มากที่สุดจะเป็นบริษัทที่จดทะเบียนปี 2537 ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดใหญ่เกี่ยวกับการบำบัดและกำจัดของเสียที่มีคู่แข่งน้อยกว่าธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมประเภทอื่นๆ และพบว่าธุรกิจห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนผู้ให้บริการด้านสิ่งแวดล้อมนี้ มีแนวโน้มของการขยายตัวสูงกว่า Real GDP ของประเทศไทยอยู่มาก จากผลการศึกษาผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการพัฒนาห้องปฏิบัติการวิเคราะห์เอกชนนิติบุคคลผู้ให้บริการด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้ 4 มุมมองตามหลักการ BSC ประกอบด้วย 1. มุมมองด้านการเงิน ได้แก่ การวางแผนลงทุนเพื่อพัฒนาธุรกิจให้ตรงความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 2. มุมมองด้านลูกค้า ได้แก่ การมุ่งเน้นงานบริการที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายด้วย 3. มุมมองด้านกระบวนการภายใน ได้แก่ การมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรและวิธีการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับข้อกำหนดและกฎหมาย 4. มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนา ได้แก่ การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ของหน่วยงานที่กำกับดูแลให้เหมาะสมกับภาวการณ์ปัจจุบัน โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น และลดการเกิดของเสียจากกระบวนการวิเคราะห์
The objectives of this research are to study the business growth trends of private laboratories for environmental services and propose guidelines for managing private laboratories for environmental services to meet the needs of stakeholders. By studying from 2 sources: 1) Primary data were interviews with 3 stakeholders including Laboratory analysis of private laboratories for environmental services, Authorized agencies (DIW) and customers who use private laboratories for environmental services2) Secondary data is private laboratory analysis data, juristic person registered from the Department of Industrial and business information of private laboratories from Department of Business Development (DBD). By using the data obtained to analyze descriptive statistical data, describe business data from graphs and present management guidelines based on interviews with stakeholders in all sectors Including the conclusion of the study by presenting the development strategy with Balance Scorecards (BSC) The results showed that the trend of private laboratories for environmental services, at present is a small business company that engages in environmental quality measurement and analysis rather than medium and large businesses, accounting for 83%, 11% and 6% respectively. The most popular year of investment is the year 2000 and the most assets will be listed companies in 1994 and which is a large business about the treatment and disposal of waste that is less competitive than other types of environmental businesses and found that the private laboratory analytical business, this environmental service provider There is a tendency of expansion higher than Real GDP of Thailand. Based on the results of the study, the researcher proposed guidelines for the development of private analytical laboratories, environmental service providers under 4 perspectives based on BSC principles consisted of 1) Financial perspective: Investment planning for business development to meet the needs of target customers. 2) Customer perspective: focus on services that meet the needs of target customers. 3) The internal process perspective and a focus on personal development and operation practices comply with laws and regulations and 4) Learning and development perspectives, including the development of analytical methods of agencies that are supervised to suit the current situation by using more relevant technology and reduce the generation of waste from the analysis process.