ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ในตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
Factors affecting farmers’ behavior concerning pesticide use in Chom Bueng Subdistrict, Chom Bueng District, Ratchaburi Province
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร 2. วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรดังกล่าว โดยกลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาคือเกษตรกรในเขตตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี จำนวน 100 คน สุ่มตัวอย่างแบบโควต้าสัดส่วนโดยวิธีบังเอิญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ t-test, F-test, หาค่าความแตกต่างของคู่ LSD และ Pearson’s Correlation ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรที่มีรายได้ที่แตกต่างกันและมีการอบรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชแตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ในส่วนของปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระยะเวลาการทำเกษตร และระยะเวลาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เกษตรกรที่มีจำนวนครั้งของการอบรมวิธีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและความถี่ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่แตกต่างกัน และพบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้แก่ ความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ความรู้เกี่ยวกับฉลากวัตถุอันตรายทางการเกษตรและทัศนคติเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงพฤติกรรมของการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ได้แก่ 1.หน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่นกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ควรเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้อง 2.หน่วยงานภาครัฐควรให้การสนับสนุนและจัดให้มีหน่วยงานเคลื่อนที่เพื่ออธิบายข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับฉลาก วิธีการใช้ พิษของสารเคมี การปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับเกษตรกร 3. หน่วยงานภาครัฐและเอกชนควรร่วมมือกันให้ความรู้ความเข้าใจในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างจริงจังแก่เกษตรกร 4. ควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการเรียนรู้การใช้ระบบกำจัดศัตรูพืชผสมผสาน Integrated Pest Management เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
The objectives of this study are 1. to study the behavior of pesticide use among farmers; and 2. to analyze factors affecting the use of pesticide of such farmers. The sampled group were 100 farmers selected by quota accidental sampling in Chom Bueng Subdistrict, Chom Bueng District, Ratchaburi Province. Data were analyzed using descriptive statistics including frequency, percentage, mean and standard deviation and the hypotheses were tested by t-test , F-test, LSD and Pearson’s Correlation. The results showed that farmers with different income and training on the use of pesticide had different pesticide use behavior at the significant level of 0.05. On the other hand, personal factors such as sex, age, marital status, education level, duration of agriculture practice and period of pesticide use did not affect the use of pesticide. Farmers with different training on pesticide use and the frequency of receiving information about the use of pesticide had different behavior of using pesticide. In addition, it was found that factors related to pesticide use behavior were knowledge and understanding about the use of pesticide, knowledge about health in the use of pesticide, knowledge of agricultural hazardous substance labels, and attitudes about the use of pesticide. Suggestions to improve the behavior of pesticide use among farmers including 1. responsible agencies such as Department of Agriculture, Department of Agricultural Extension should disseminate knowledge and understanding to farmers about the use of pesticide correctly; 2. government agencies should support and arrange a mobile unit to explain various information about the label, methods of using toxic chemicals, and first aid for farmers; 3. government and private agencies should cooperate to provide knowledge and understanding on the use of pesticides seriously for farmers; and 4. encourage farmers to participate in learning how to use integrated pest control systems Integrated Pest Management for a sustainable environment.