ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนโครงการไบโอแก๊สจากฟาร์มสุกร ภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Social Return on Investment of Bio-Gas Production from Pig Manure Project
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางบวก และทางลบที่มีต่อสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินโครงการไบโอแก๊สจากฟาร์มสุกรภายใต้การดำเนินงานตามแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน แนวทางการพัฒนาโครงการไบโอแก๊สอย่างยั่งยืนให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนของโครงการไบโอแก๊ส จากฟาร์มสุกรภายใต้การดำเนินงานตามแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะจงเฉพาะกลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลหลักจากผู้ดำเนินโครงการของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) เจ้าของฟาร์มสุกร และชาวบ้านในชุมชน 70 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ผลการตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน ประกอบกับเอกสารทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่าโครงการไบโอแก๊สจากฟาร์มสุกรสามารถสร้างผลกระทบทางบวกให้กับชุมชนทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยเกิดการจ้างงานในชุมชน ลดค่าไฟฟ้า ลดค่าใช้จ่ายก๊าซหุงต้ม (LPG) และลดกลิ่นเหม็นของมูลสุกรที่มาจากฟาร์มสุกร โดยผลกระทบทางลบที่ชัดเจนมีเพียงแค่เกิดความเสียหายบริเวณทางหรือหน้าดินที่มีการขุดเจาะเพื่อวางท่อก๊าซชีวภาพ และมีการดำเนินงานตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยการนำของเสียภายในฟาร์มนั่นคือมูลสุกร มาผ่านกระบวนการหมักทำให้เกิดเป็นพลังงานทดแทนหรือก๊าซชีวภาพ ซึ่งสามารถนำก๊าซชีวภาพที่ได้มาใช้ประโยชน์ภายในฟาร์มโดยนำมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าภายในฟาร์ม รวมทั้งยังสามารถใช้แทนก๊าซหุงต้ม (LPG) ได้อีกด้วย โดยเศษมูลสุกรที่เหลือจากกระบวนการหมักหรือกากตะกอนยังสามารถนำมาตากแห้ง แล้วนำมาใช้เป็นปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการเพาะปลูกพืชผักสวนครัว หรือต้นไม้ภายในฟาร์ม และยังสามารถนำไปขายเพื่อก่อให้เกิดรายได้ภายในฟาร์มอีกด้วย ซึ่งโครงการไบโอแก๊สจากฟาร์มสุกรก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรทั้งหมดภายในฟาร์มอย่างคุ้มค่า โดยไม่ปล่อยให้สูญเปล่า ทำให้เกิดประโยชน์จากการใช้ของเสียภายในฟาร์มอย่างสูงสุด ในส่วนของการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนในโครงการไบโอแก๊สจากฟาร์มสุกร ภายใต้แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีค่าเท่ากับ 2.4 บ่งชี้ว่าการลงทุนของโครงการไบโอแก๊สจากฟาร์มสุกรคุ้มค่า เมื่อเทียบกับต้นทุนที่ใช้ในการลงทุน โดยการลงทุนก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ ฟาร์มมีรายได้จากการขายปุ๋ยจากกากตะกอน 224,400 บาท/ปี ค่าไฟฟ้าของฟาร์มลดลง 780,000 บาท/ปี และลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานหุงต้มของชุมชน 305,244 บาท/ปี และผลประโยชน์ทางด้านสังคม ได้แก่ เกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อชุมชนรอบสถาบันวิทยสิริเมธีและโรงเรียนกำเนิดวิทย์ เกิดแหล่งเรียนรู้ทางด้านพลังงานทดแทนระดับชุมชนในภาคตะวันออก เกิดการจ้างงานในโครงการมูลค่า 144,000 บาท/ปี และร้านค้าในชุมชนขายของได้มากขึ้นประมาณ 144,400 บาท/ปี ตลอดจนผลประโยชน์ทางด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ลดกลิ่นเหม็นจากมูลสุกร ที่มาจากฟาร์มสุกร ลดปัญหาเรื่องแมลงที่อาจแพร่เชื้อโรคสู่สถาบันวิทยสิริเมธี รวมทั้งชุมชน และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมูลค่า 16,250 บาท/ปี
The objectives of this study were to study positive and negative effects of biogas project from pig farm under sustainable development model toward society, economy and environment. The biogas project under the sustainable development conceptual model lead to circular economy and social benefit from the project investment. The data were collected by interviewing specific group consisting of PTT and VISTEC personnel, Pig Farm owner and 70 villagers in the community. The purposive samplings were analyzed based on social benefit from the project investment. The study showed that Pig Farm Biogas Project created positive effect toward people in the community in various aspects namely social, economy and environment. The project led to employment in the community, reducing electricity and cooking gas (LPG) bill and reducing smell from the pig farm, whereas the only obvious negative effect was the damaged on the soil surface in the area where the biogas pipeline has been placed. In the aspect of circular economy, pigs’ dung was passed through fermentation and converted to energy or biogas which can be used to generate electricity for internal use in the farm. Moreover, the remains from the fermentation would be exposed to the sunlight and be used as biofertilizer in the farm and could be sold to generate income from them as well. It means Pig Farm Biogas Project optimized the resources in the farm no any waste left in vain. In the aspect of social benefit from the project investment, the value was 2.4 which could be interpreted that the project was worth investment. Economically, it generated income from selling fertilizers 224,400 baht per annum, electricity bill in the farm reduced around 780,000 baht per annum and villagers in the surrounding communities saved money for cooking gas bill around 305,244 baht per annum. This project triggered the Renewable Energy Learning Center in Energy in the community. It also created positive image in the communities, new employment valued 144,000 baht per annum and various shop owners in the area generated more income around 144,400 baht per annum. Furthermore, in the aspect of environmental benefit, the project helped reduce smell from pig’s dung, reduced insect problems that might carry disease to VISTEC and villagers in the surrounding community and more important the project helped save the world by reducing the greenhouse gas emission.