บทเรียนความสำเร็จในการจัดการขยะของประชาชน บ้านโรงวัว ตำบลคู้สลอด อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Lessons learned from Successful Waste Management of People in Ban Rong Wua, Koosalod Subdistrict, Lat Bua Luang District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
รายงานการค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์และความเป็นมาในการจัดการขยะของประชาชน บ้านโรงวัว ตำบลคู้สลอด อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อถอดบทเรียนความสำเร็จในการจัดการขยะของประชาชนในชุมชนดังกล่าว เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้นำชุมชุน และประชาชนในพื้นที่ และการทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ใช้กรอบแนวคิด CIPP-I Model ประกอบด้วย 5 มิติ ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อมของระบบ (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) และด้านผลกระทบจากระบบ (Impact) ในการประเมินการจัดการขยะของประชาชนในพื้นที่ ร่วมกับเทคนิคการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (SWOT Analysis) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses) โอกาส (Opportunities) และข้อจำกัด (Threats) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้การจัดการประสบความสำเร็จคือ ผู้นำชุมชนที่มีความเข้มแข็งปฏิบัติตนให้เห็นเป็นแบบอย่าง และการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนอุปนิสัยของผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ที่รักความสะอาด การคัดแยกขยะที่ต้นทางตามหลัก 3Rs ได้แก่ Reduce, Reuse, Recycle การใช้วงจร PDCA และดำเนินวิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อทำให้เหลือขยะที่จะนำไปกำจัดด้วยวิธีการเผาให้น้อยที่สุด ปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินการจัดการขยะมีความยั่งยืนยิ่งขึ้น ได้แก่ การสนับสนุนและส่งเสริม โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และหน่วยงานภายนอก/นักวิชาการ และการให้ความรู้ความตระหนักแก่ประชาชน แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีข้อจำกัด ได้แก่ การใช้วัสดุจากพลาสติกจำนวนมาก ยานพาหนะ และสถานที่ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมระหว่างรอขนส่งขยะตามโครงการ กลไกราคาตลาด และประชาชนภายนอกพื้นที่ที่เข้ามา ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการขอความร่วมมือชุมชน และยังมีจุดอ่อนที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงวิธีการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชน ด้วยวิธีการเผาในพื้นที่โล่งแจ้งได้
The objectives of this Independent Study were: 1) to study the situation and background of waste management of people at Ban Rong Wua, Koosalod Subdistrict, Lat Bua Luang District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province; 2) to study lessons learned from successful waste management of people in that community. Data were collected from interviews with key informants which were community leaders and people in the area and literature review and related researches. The study adopted CIPP-I Model consisting of 5 dimensions: Context, Input, Process, Product and Impact for evaluating waste management of people in the area together with SWOT Analysis i.e., Strengths, Weaknesses, Opportunities and Threats to analyze factors affecting the waste management. It was found that the main factors that contribute to successful waste management are strong community leaders who acted as a role model, public participation, characteristics of community leaders and people in the area who loved cleanliness, adoption of waste separation at source according to the 3Rs principle, i.e., Reduce, Reuse, Recycle, using the PDCA cycle and living a life according to the sufficiency economy principle to minimize waste to be disposed by incineration. Subsequently, the factors contributing to more sustainable waste management include support and promotion by a local administration and external agencies/academics, and building knowledge and awareness of the people. However, there are threats on the use of plastic materials in the area, limited vehicle and the place used for collecting while waiting for the waste to be transported, market price mechanism, and people from outside causing a limitation in asking for cooperation from the community. In addition, there is a weakness of method of community solid waste disposal by burning in the open space.