พฤติกรรมการจัดการหน้ากากอนามัยของประชากรในกรุงเทพมหานคร
Disposable mask management behavior of Bangkok’s people
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรม ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการหน้ากากอนามัยของประชากรในกรุงเทพมหานคร และเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการหน้ากากอนามัย โดยใช้การศึกษาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณประกอบด้วย การทบทวนนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้อง การใช้แบบสอบถามออนไลน์กับประชากรที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร รวมประชากรแฝง จำนวน 400 คน ในเดือนมีนาคม 2564 และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน อาทิ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ t-test F-test และ Correlation ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ใช้ SWOT Analysis เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ใช้ TOWS Matrix เพื่อกำหนดกลยุทธ์และเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการหน้ากากอนามัยของประชากรในกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่าประชากรกลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการหน้ากากอนามัยโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง และมีทัศนคติเกี่ยวกับการจัดการหน้ากากอนามัยในระดับปานกลาง และมีพฤติกรรมการจัดการหน้ากากอนามัยในระดับน้อย ทั้งนี้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์มากที่สุด และปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการหน้ากากอนามัยในกลุ่มตัวอย่างที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 คือ ลักษณะการอยู่อาศัยที่แตกต่างกัน โดยแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการจัดการขยะหน้ากากอนามัยของประชากรในกรุงเทพมหานคร คือ ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์เชิงรุกและต่อเนื่องเกี่ยวกับการจัดการหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธีและทิ้งให้ถูกที่ รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณการจัดการหน้ากากอนามัย และถังขยะรองรับหน้ากากอนามัยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
This purpose of this study is to analyze the behavior and factors affecting the disposable mask management behavior of Bangkok’s people and then to suggest ways to promote disposable mask management behavior. Review of relevant policies and plans related to mask management was carried out. Online questionnaire to resident living in Bangkok both registered and unregistered population of 400 was done. Data obtained was analyzed by using descriptive and inferential statistics such as mean, percentage, t-test, F-test, and correlation at the statistical significance level of 0.05. The content analysis was conducted in the overall result, in which, SWOT Analysis was used to assess strength, weakness, opportunity, and threat; TOWS Matrix was then used to identify strategies and to provide recommendations on how to promote the disposable mask management behavior of Bangkok’s population. The result reveals that the respondents have a high level of knowledge of disposable mask management, a moderate level of attitude about the disposable mask, and a low level of disposable mask management behavior. The study found that the most of respondents perceive disposable mask management information through online media channels and the factors affecting the behavior of the disposable mask management in the sample group at the statistical significance level of 0.05 were different living characteristics. The guidelines for promoting the disposable mask management behavior of Bangkok’s population are to increase proactive and continuous online publicity about the proper handling of disposable masks and disposing of them in the right places, as well as supporting the budget for disposable mask management and garbage bins supporting disposable masks to cover all areas.