ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการคัดแยกขยะในครัวเรือน ศึกษากรณี หมู่ที่ 2 บ้านขลอด ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
Factors Affecting Motivation of Municipal Solid Waste Separation of Households a Case Study of Moo 2 Bankhod, Phlu Taluang, Sattahip, Chon Buri
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน ของพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านขลอด ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ศึกษาความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ มาตรการรณรงค์ และประโยชน์ที่ได้รับจากการคัดแยกขยะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านขลอด ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จำนวน 330 ราย โดยวิธีการเลือก ตัวอย่างแบบ โควต้าเป็นสัดส่วน (Quota Selection) และการเลือก ตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Selection) ซึ่งเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและได้ทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาลหวง เจ้าหน้าที่หน่วยงานองค์การบริหารส่วนตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งก็มีส่วนในหน้าที่ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสาธารณสุข สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test, One-Way ANOVA (F-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ Pearson’s Correlation ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 สำหรับผลการสัมภาษณ์นำมาพรรณนาความและสรุปประเด็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 59.1 เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25-34 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 20.3 รองลงมามีอายุ 65 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 19.4 เกินกว่าครึ่งหนึ่งเป็นคนในพื้นที่ คิดเป็นร้อยละ 52.7 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่ามีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30.6 อาชีพพนักงานบริษัทมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 25.5 ส่วนการอบรมด้านสิ่งแวดล้อมเกิดกว่าครึ่งหนึ่งไม่เคยอบรมจำนวน 198 คน คิดเป็นร้อยละ 60 ในด้านความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะประชาชนมีความรู้ในระดับสูง ส่วนด้านทัศนคติในเรื่องการคัดแยกขยะประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการคัดแยกขยะมูลฝอย และในด้านประโยชน์ของการคัดแยกขยะมูลฝอยประชาชนก็เห็นด้วยอย่างยิ่งกับประโยชน์ที่ได้รับจากการคัดแยกขยะเช่นกัน ด้านมาตรการรณรงค์ประชาชนส่วนใหญ่จะรับรู้ในระดับปานกลาง ถึงมาตรการด้านการคัดแยกขยะในครัวเรือน ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการคัดแยกขยะ จะเป็นปัญหาจาก กลิ่นเหม็นของขยะอันตรายของขยะติดเชื้อกับขยะมีพิษที่จะทำให้ประชาชนสนใจในการคัดแยกขยะกันมากขึ้น เนื่องจากส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และจากการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจ คือ ภูมิลำเนา การอบรมหรือการสัมมนาด้านสิ่งแวดล้อม อายุ รายได้ อาชีพ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และความรู้ความเข้าใจ ประโยชน์ ทัศนคติและมาตรการรณรงค์การคัดแยกขยะมูลฝอยของหน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการตัดแยกขยะ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
The purposes of this study were to study knowledge and attitude toward MSW separation of household in Moo.2 Bankhod Phlu Taluang Chon Buri, to investigate factors affecting the motivation of MSW separation of household and to address guidelines for motivating household in MSW separation. The samples used in the study were 330 households in Moo. 2 Bankhod Phlu Taluang Chon Buri The sample selection used a quota selection and accidental selections the data was collected using a questionnaire. and accompanying by interviewing with Village Headman, Chief Executive of the Sub-district Administrative Organization (SAO) Phlu Taluang Sattahip Chon Buri who is responsible for environment and public health management. Descriptive statistics used are frequency, percentage, and average and inferential statistics used are t-tests, F-test at a statistical significance level of 0.05 and Pearson’s correlation at a statistical significance level of 0.01 The results showed that more than half or 59.1% of the sample is female, 20.3% are between 25-34 years old and more than a half are local people (52.7%) In addition 30.6% of them obtained bachelor’s degree and they are Company’s employee accounting for 25.5% as for environment training, more than a half (60%) have never been trained but their knowledge and understanding on MSW separation is high level. Regarding attitude and benefits on MSW separation, most people strongly agreed. In addition to the campaign measures, most people perceived at a medium level, in measures for separating household waste Factors affecting the motivation for MSW separation are problems from the foul, odor of waste and dangers of infectious waste, toxic waste which makes people more interested in MSW separation. Due to continuously affecting the environment and from the hypothesis testing, it was found that the factors that influence motivation are domicile, training or seminar on the environment, age, income, a career at a statistical significance level of 0.05, Knowledge, understanding and attitude on municipal MSW separation campaign measures have a relationship with MSW separation motivation at the statistical significance level of 0.01