การศึกษาการประยุกต์การใช้ตารางระดับความเสี่ยงในการวิเคราะห์ข้อมูลความเสียหายของชิ้นงานที่ส่งมอบให้กับลูกค้า ของบริษัท ไทยแมกซ์เวล อินดัสเทรียล เซอร์วิส จำกัด
การค้นคว้านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการความเสี่ยงโดยวิธีการสร้างตารางบ่งชี้ความเสี่ยงของชิ้นงานที่ไม่ได้มาตรฐาน จากข้อมูลร้องเรียนของลูกค้า จากนั้นนา ข้อมูลไปวิเคราะห์และประเมินความสำ คัญและระดับความรุนแรงเพื่อจัดลำ ดับในการแก้ไขปัญหาตามระดับสี ดังนี้ สีแดง หมายถึง มีความเสี่ยงสูงมาก ต้องแก้ไขเป็นลำ ดับแรก สีน้ำตาล หมายถึง มีความเสี่ยงสูง ต้องแก้ไขเป็นลำ ดับที่ 2 สีเหลือง หมายถึง มีความเสี่ยงปานกลาง ต้องแก้ไขเป็นลำ ดับที่ 3 สีเขียว หมายถึง มีความเสี่ยงน้อย ต้องแก้ไขเป็นลำ ดับที่ 4 จากการดำเนินงาน พบว่าชิ้นงานที่ต้องแก้ไขเป็นลำดับแรก คือ ชิ้นงาน Column ซึ่งมีมูลค่า ความเสียหาย 12,000,000 บาท ชิ้นงานที่ต้องแก้ไขเป็นลำดับที่สอง คือ ชิ้นงาน Exchanger ซึ่งมีมูลค่าความเสียหาย 7,000,000 บาท ชิ้นงานที่ต้องแก้ไขเป็นลำดับที่สาม Fin Fan ซึ่งมีมูลค่า ความเสียหาย 1,200,000 บาท ชิ้นงานที่ต้องแก้ไขเป็นลำดับต่อมาคือ Vessel และ Drumn ผลจากการศึกษาและการประเมินผลในการใช้ Check list พบว่า การส่งมอบชิ้นงานให้กับลูกค้ามีประสิทธิภาพและได้ประสิทธิผลมากขึ้น มีความเสียหายของชิ้นงานลดน้อยลง ส่วนด้านปัญหาและอุปสรรคพบว่า พนักงานทีมปฏิบัติงานมีปัญหาในการติดต่อประสานงาน ไม่ทำงานตามขั้นตอนและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้างานของพนักงานบางกลุ่ม