Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
ทัศนคติของประชาชนต่อการลดมลภาวะด้วยการใช้รถไฟฟ้า MRT ในยุค New Normal กรณีศึกษาประชากรในแขวงจตุจักร
Title
People's attitudes towards reducing pollution by using MRT in the New Normal era Case study of population in Chatuchak sub-district
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของประชาชนต่อการลดมลภาวะด้วยการใช้รถไฟฟ้า MRT ในยุค New Normal กรณีศึกษาประชากรในแขวงจตุจักร เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติการลดมลภาวะด้วยการใช้รถไฟฟ้า MRT ในยุค New Normal และเพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมทัศนคติต่อการลดมลภาวะ ด้วยการใช้รถไฟฟ้า MRT ในยุค New Normal มีวิธีการศึกษา โดยการทบทวนนโยบายที่เกี่ยวข้อง เช่น นโยบายระดับนานาชาติเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน นโยบายระดับชาติเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี การใช้แบบสอบถามออนไลน์กับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT ในแขวงจตุจักร จำนวน 400 ตัวอย่าง ด้วยการสุ่มเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญในลักษณะที่พบผู้ที่สามารถจะให้ข้อมูลได้ ณ เวลานั้น และการสัมภาษณ์ออนไลน์ผู้ให้ข้อมูลหลักจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน เช่น ค่าเฉลี่ย ร้อยละ t-test F-test และ Correlation ที่ระดับนัยสำคัญ ทางสถิติ 0.05 และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหาด้วย SWOT Analysis เพื่อวิเคราะห์หาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ใช้ TOW Matrix เพื่อกำหนดกลยุทธ์ เสนอแนวทางในการส่งเสริมทัศนคติต่อการลดมลภาวะด้วยการใช้รถไฟฟ้า MRT ในยุค New Normal ผลการศึกษาพบว่าประชากรมีทัศนคติต่อการลดมลภาวะ ด้วยการใช้รถไฟฟ้า MRT ในยุค New Normal ในภาพรวมระดับมาก โดยอาชีพ และความถี่ในการใช้บริการรถไฟฟ้า MRT เป็นปัจจัยส่วนบุคคลสองอย่างที่มีผล ทำให้ทัศนคติแตกต่างกัน ส่วนปัจจัยอื่นๆ พบว่าทั้งการใช้บริการรถไฟฟ้า MRT การได้รับรู้ข่าวสาร ความรู้ความเข้าใจในการลดมลภาวะด้วยการใช้รถไฟฟ้า MRT และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID - 19 ล้วนมีความสัมพันธ์กับทัศนคติของประชาชนต่อการลดมลภาวะด้วยการใช้รถไฟฟ้า MRT ในยุค New Normal ดังนั้นแนวทาง ได้แก่ การส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้บริการรถไฟฟ้า MRT มากยิ่งขึ้น ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการรับมลภาวะจากท้องถนน และยังช่วยแก้ปัญหา การจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล
Abstract
The objective of this study were to study people's attitudes towards reducing pollution by using the MRT in the New Normal era a Case study of population in Chatuchak sub-district, to study the factors affecting the attitude on reducing pollution by using the MRT in the New Normal era and as a result, to propose guidelines promoting attitudes towards reducing pollution by using the MRT in the New Normal era. Documentary reviewing on the relevant policies such as international policies on the Sustainable Development Goals. National Policy on the 20 - Year National Strategy was done. In addition, online questionnaire using 400 samples who used the MRT in Chatuchak sub-district with random sampling in such a way that people were able to provide information at that time and online interviewing with key informants from the Mass Rapid Transit Authority of Thailand we're carried out. The data was analyzed using descriptive and inferential statistics, such as mean, percentage, t-test, F-test and Correlation at the statistical significance level of 0.05. The content analysis was conducted in which, SWOT analysis was used to assess strength, weakness, opportunity, and threat. TOW Matrix was then used to identify strategies and provide recommendations on how to promote attitudes towards reducing pollution by using MRT in the New Normal era. The results showed that the population's attitude towards reducing pollution by using the MRT in the New Normal era was at a high level. The occupation and the frequency of using the MRT were two personal factors that resulted in different attitudes. Other factors were i.e. the use of the MRT service, the knowledge of news Knowledge and understanding of reducing pollution by using MRT, and the situation of the COVID - 19 epidemic were all related to people's attitude towards reducing pollution by using MRT in the New Normal era. Therefore, the guidelines include encouraging more people to use the MRT service, which reduces the risk of road pollution. It also helps to solve traffic problems in Bangkok Metropolitan Region.