การผลิตปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ของศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุชสู่การตลาดสีเขียว ของกรุงเทพมหานคร
Compost Production from Organic Wastes of On Nut Solid Waste Facility to Green Marketing in Bangkok
ขยะเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาแนวทางการจัดการขยะของชุมชน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสีเขียวและ สำรวจความต้องการปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกต้นไม้ของคนในพื้นที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช ซึ่งจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล และทัศนคติเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงขยะสดจากพื้นที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช ซึ่งจะพัฒนาให้เป็นชุมชนที่สะอาด ด้วยการผลิตปุ๋ยอินทรีย์สู่ตลาดสีเขียว การหมักปุ๋ยชีวภาพจากขยะสดเป็นกระบวนการที่มาช่วย ในการย่อยขยะอินทรีย์ซึ่งเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยนี้เป็นการจัดการขยะเพื่อเปลี่ยนขยะให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า จากการศึกษารายงานครั้งนี้เป็นการจัดการขยะอินทรีย์ที่เหลือใช้จากขยะสดต่างๆและ วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งปุ๋ยหมักชีวภาพเหล่านี้มาจากขยะสดในพื้นที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช กรุงเทพมหานคร โดยการศึกษาคุณภาพของปุ๋ยหมักชีวภาพ จากขยะอินทรีย์ จะใช้เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสีเขียวและความต้องการปุ๋ยอินทรีย์ในการปลูกต้นไม้ของคนในพื้นที่ โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจที่ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ 1.ความต้องการปุ๋ยแต่ละประเภทในการปลูกต้นไม้ ได้แก่ ปุ๋ยอัดเม็ดปุ๋ยผสม ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยมูลไส้เดือน ปุ๋ยเคมี และ ปุ๋ยคอก 2.ปัจจัยด้านทัศนคติในการรักษาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ มุมมองต่อสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อม มุมมองในการใช้พลังงานทางสิ่งแวดล้อมและ การรับรู้แนวโน้มการจัดการขยะให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม3.ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสีเขียว แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องการจัดจำหน่ายและ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดและ 5.คุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด สถานภาพ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และประเภทที่อยู่อาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติเชิงอนุมาน ที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มที่เป็นอิสระกัน คือ t-test สำหรับทดสอบสมมติฐานความแตกต่างของค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป จะใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ด้วยสถิติ F และ การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference) การศึกษาเรื่อง การผลิตปุ๋ยหมักจากขยะอินทรีย์ของศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุชสู่การตลาดสีเขียวของกรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจัยด้านทัศนคติเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทัศนคติเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ทั้ง 3 ด้าน นั้นถูกจัดไว้ในกลุ่มสะดวกกรีนมากที่สุด นั่นคือ มองเห็นความจำเป็นใน เรื่องของการปกป้องสิ่งแวดล้อม เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษา พบว่า ด้านความต้องการปุ๋ยแต่ละประเภทในการปลูกต้นไม้ กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีความต้องการปุ๋ยทุกประเภทในระดับปานกลาง โดยที่มีความต้องการปุ๋ยคอกมากที่สุด ซึ่งมีการมองเห็นประโยชน์ของปุ๋ยคอก นั่นคือช่วยปรับสภาพแวดล้อม และการประหยัดค่าใช้จ่าย แถมยังช่วยปรับระบบนิเวศน์ในการปลูกต้นไม้ให้มีคุณภาพมากขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่ด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสีเขียว พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการส่งเสริมการตลาดในระดับมาก โดยในด้านผลิตภัณฑ์จะมีความคิดเห็นในเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายง่ายและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด นอกจากนี้ในด้านการส่งเสริมการตลาด กลุ่มตัวอย่าง จะมีความคิดเห็นมากที่สุดเกี่ยวกับปัจจัยด้านราคา และปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย จากการศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยด้านทัศคติเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม กับความต้องการปุ๋ยแต่ละประเภทในการปลูกต้นไม้ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสีเขียว พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยด้านทัศคติเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน จะมีความต้องการปุ๋ยผสม และปุ๋ยเคมี แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.001 ตามลำดับ ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มีปัจจัยด้านทัศนคติเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน จะมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01)
Wastes are the problem affecting community areas and environment. This study aimed to explore the guidelines on community-based waste management, green marketing mix, and the need for organic fertilizers for tree planting among local inhabitants in the area of On Nut Solid Waste Facility. The samples were classified by personal characteristics and attitudes toward environmental maintenance as well as garbage from the area of On Nut Solid Waste Facility, which will be developed to be a clean community with organic fertilizer production to green market. Biofertilizer composting from garbage is a process that helps organic waste digestion. This compost production technology is waste management to turn wastes into valuable products. According to the study, this report was the management of organic wastes from garbage and agricultural waste materials. Biofertilizers were composted from garbage from the area of On Nut Solid Waste Facility, Bangkok. The quality of biofertilizers from organic wastes was studied in order to explore green marketing mix and the need for organic fertilizers for tree planting among local inhabitants. This is a survey research using a questionnaire for data collection from the local samples and for data analysis. The instrument was divided into 4 parts, i.e., 1) the need for each type of fertilizers for tree planting, namely, pelleted fertilizers, mixed fertilizers, biofertilizers, earthworm manure, chemical fertilizers, and manure; 2) attitudes toward environmental maintenance, namely, viewpoints toward eco-friendly products, viewpoints toward the use of environmental energy, and perceived likelihood of eco-friendly waste management; 3) green marketing mix were divided into 4 parts, namely, product, price, place, and promotion; and 4) personal characteristics, namely, gender, age, highest educational level, marital status, occupation, monthly income, and type of housing. The descriptive statistics were used for data analysis, i.e., frequency, percentage, mean, and Standard deviation. T-test was an inferential statistic used for hypothesis testing on the differences of means between the 2 independent groups. One-way ANOVA (F-test) was used for hypothesis testing on the differences of means among 3 or multiple groups. LSD (Least Significant Difference) was used for post-hoc test. According to the study on compost production from organic wastes of on nut solid waste facility to green marketing in Bangkok, it was found that in term of attitudes toward environmental maintenance, most samples had attitudes toward all 3 aspects of environmental maintenance. Therefore, they were most classified as green consumers. To clarify, they viewed environmental protection as necessary and chose to purchase products with eco-friendly symbols. The findings revealed as follows. For the need for each type of fertilizers for tree planting, most samples moderately need all types of fertilizers. Manure was needed most, with perceived usefulness as to help adjusting environmental conditions, saving cost, and adjusting better quality ecosystem for tree planting. For green marketing mix, it was found that most samples had high viewpoints toward product and promotion. In the aspect of product, their viewpoints toward biodegradable and eco-friendly packages were highest, followed by organic fertilizers produced from the useful nature, and properties of soil maintenance as well as plant nutrition; which are all good for the environment. According to the study on the differences between attitudes toward environmental maintenance on the need for each type of fertilizers for tree planting, and green marketing mix, it was found that different attitudes toward environmental maintenance caused the significant differences of the need for mixed and chemical fertilizers respectively (p 0.05 and 0.001). Likewise, different attitudes toward environmental maintenance caused the significant differences of attitudes toward product (p < 0.01).