มาตรการบริหารจัดการน้ำทิ้งจากอาคารในประเทศไทย : ศึกษาแบบอย่างของประเทศญี่ปุ่น
Sewage Water Management in Thailand: A Case Study of Japan
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษามาตรการบริหารจัดการน้ำทิ้งจากอาคารในประเทศไทย โดยศึกษาแบบอย่างวิธีการและแนวทางการบริหารจัดการน้ำทิ้งจากอาคารประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากปัจจุบันปัญหามลพิษทางน้ำในประเทศไทยเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่ภาครัฐพยายามแก้ไขเนื่องจากการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมและการขยายตัวของชุนชนเมืองมากขึ้น ซึ่งเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดน้ำเสียที่ไม่ได้รับการบำบัดและถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อมตามมา โดยงานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากเอกสารเป็นหลัก เช่น บทกฎหมาย นโยบายของภาครัฐ บทความวิชาการ และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากเว็บไซต์ของหน่วยงานที่น่าเชื่อถือของไทยและต่างประเทศ การศึกษาพบว่า ในปัจจุบันประเทศไทยยังประสบปัญหาในการควบคุมน้ำทิ้งจากอาคารอยู่ โดยระบบรองรับน้ำเสียของไทยเป็นระบบท่อร่วม คือ มีการรวบรวมน้ำทิ้งและน้ำฝนในท่อเดียวกัน ก่อนเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียรวม ทำให้การบำบัดน้ำเสียไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้มีเพียงร้อยละ 33 ของปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นที่ได้รับการบำบัด ส่วนที่ไม่ได้รับการบำบัดจะไหลลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง สำหรับประเทศญี่ปุ่นในอดีตประสบปัญหาด้านมลพิษทางน้ำเช่นเดียวกับประเทศไทย แต่สามารถแก้ไขปัญหาได้ดีจนในปัจจุบันคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านคุณภาพน้ำดีมาก มีการแบ่งระบายน้ำชัดเจนระหว่างน้ำฝนและน้ำเสีย ประชาชนร้อยละ 90 เข้าถึงการใช้งานของระบบบำบัดน้ำเสีย นอกจากนี้ยังมีหน่วยงาน The Japan Sewage Works Agency ซึ่งเป็นองค์กรระดับประเทศ ที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อรวมศูนย์การดูแลน้ำเสีย ซึ่งช่วยให้การจัดการน้ำทิ้งของประเทศมีประสิทธิภาพ
This research has its objective of exploring and examining sewage water management in Thailand through a case study of Japan. As known, water pollution caused by industrial development and the expansion of urban communities in Thailand has become a critical issue long addressed by the government’s effort. Its major cause is derived from the discharge of wastewater into the environment without any appropriate water management which aims to maintain public health, society and environment. Thus, this research is applied by a qualitative approach which collects information from a variety of sources such as laws and regulations, governmental policies, academic journal articles and electronic materials from reliable websites from, both Thai and abroad entities. According to the study, Thailand has obviously confronted its ineffective treatment of wastewater emitted from buildings. The wastewater is still a manifold system meaning that the wastewater and rainwater are collected and go into the same pipe before entering to the wastewater treatment system. This provokes inefficiency of wastewater treatment. It is also found that only 33% of wastewater was treated while the remaining part was drained into public water bodies which deteriorate our environment. In terms of Japan, Japan has also suffered from water pollution. However, Japan is capable to address the pollution which is turned to a higher water quality. There is a distinguish division of drainage for rainwater and wastewater. Almost 90% of the population in Japan is presently protected by the wastewater treatment system. The Japan Sewage Works Agency, a national organization, has been established to centralize the treatment of wastewater promoting an effective wastewater management.