Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
ทรรศนะความยั่งยืนต่อการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมพลาสติกของประเทศไทย
Title
Sustainability Viewpoint on Circular Economy Applications in Thailand’s Plastic Industry
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน แนวคิดจากอู่สู่อู่ และแนวคิดการอัพไซเคิล เพื่อกำหนดเป็นกรอบแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ยั่งยืน สำหรับประเมินความยั่งยืนต่อการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมพลาสติกของประเทศไทย โดยการศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ในรูปแบบของกรณีศึกษา ที่คัดเลือกแบบเจาะจงจากบริษัทที่ประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในองค์กร ซึ่งเป็น 2 บริษัทใหญ่ต้นน้ำของอุตสาหกรรมพลาสติกและมีส่วนแบ่งทางตลาดมากที่สุด ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ หนังสือ บทความในวารสารวิชาการ เอกสารประกอบการประชุม รายงานการวิจัย เอกสารที่เผยแพร่อย่างเป็นทางการของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ข้อมูลจากเว็บไซต์ของหน่วยงานที่น่าเชื่อถือของประเทศไทยและต่างประเทศ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อกำหนดเป็นกรอบแนวคิดในการแสดงทรรศนะความยั่งยืนต่อกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่ามีโครงการและผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพเป็นการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจหมุน เวียนที่ยั่งยืน ได้แก่ (1) เม็ดพลาสติกหมุนเวียนคุณภาพสูง (2) เม็ดพลาสติกชีวภาพชนิด PLA (3) เม็ดพลาสติกชีวภาพชนิด PBS (4) Mono Material Packaging และ (5) Chemical Recycling ซึ่งสามารถลดการสกัดเม็ดพลาสติกจากปิโตรเลียมได้ เป็นการออกแบบให้สามารถนำทรัพยากรมาใช้หมุนเวียน ไม่สร้างของเสียแต่เป็นการสร้างวัตถุดิบให้กับการผลิตครั้งต่อไป สามารถแยกส่วนระหว่างวัสดุที่เป็นชีวภาพและเทคนิคออกจากกันได้ อีกทั้งยังสามารถนำเข้าสู่วงจรการผลิตอย่างต่อเนื่องโดยไม่ลดทอนคุณภาพและมูลค่าของวัสดุตั้งต้น แต่ยังไม่พบข้อมูลของระบบการจัดการหลังการใช้งานของผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิผล ซึ่งอาจจะทำให้เป็นการเพิ่มปริมาณขยะชนิดใหม่แทน และผลการศึกษายังพบว่ามีกรณีศึกษาที่เป็นเพียงการประยุกต์ใช้วงจรสุดท้ายของเศรษฐกิจหมุนเวียนเฉพาะการรีไซเคิลวัสดุใช้แล้ว ซึ่งยังไม่สามารถลดการใช้ทรัพยากรและลดการสกัดเม็ดพลาสติกจากปิโตรเลียม ได้แก่ (1) โครงการ Upcycling the Oceans, Thailand (2) โครงการภายใต้แนวคิด Circular Living (3) โครงการ Upcycling Plastic Waste Project (4) นวัตกรรมถนนพลาสติกรีไซเคิล (5) เงินทองจากกองขยะ และ (6) โครงการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์พลาสติก ดังนั้นเพื่อให้การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนมีความยั่งยืน ต้องมีระบบการจัดการและการคัดแยกวัสดุหลังการใช้งานโดยร่วมมือกันทั้ง ภาครัฐ ผู้ผลิต และผู้บริโภค ให้สามารถนำวัสดุกลับเข้าสู่วงจรการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง โดยภาครัฐควรออกข้อกำหนดหรือกฎหมายที่รองรับการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจหมุนเวียนให้เป็นรูปธรรม ออกแบบระบบการรวบรวมและจัดการขยะตามครัวเรือนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่วนภาคธุรกิจและการผลิตควรคำนึงถึงประสิทธิผลเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (ทำให้ดีขึ้น) มากกว่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (ทำสิ่งผิดให้น้อยลง) จึงจะทำให้เกิดเป็นโมเดลธุรกิจที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร ปัญหามลพิษ และปัญหาขยะ จนนำไปสู่ความยั่งยืนของอุตสาหกรรมพลาสติกในประเทศไทยได้จริง
Abstract
This study aimed to analyze the connection of three concepts namely circular economy, cradle to cradle and upcycling in order to conceptualize a sustainable circular economy for evaluation the sustainability of the circular economy applications in Thailand’s plastic industry. This study is a qualitative case study research. The case studies were specifically selected from companies where applied circular economy in the organizations. The selected companies were two big upstream plastic industry companies owning the largest market shares. The related documents were collected from secondary sources including books, articles in academic journals, meeting documents, research reports, official published documents from government and private sectors and websites of both Thai and international trusted sources. Then the data were analyzed by using content analysis to develop a conceptual framework for sustainability viewpoint on case studies. The results of the study showed that there were projects and products that had potentials to be the sustainable circular economy applications namely (1) High Quality Recycle Plastic Resins (2) PLA Bioplastic Resins (3) PBS Bioplastic Resins (4) Mono Material Packaging and (5) Chemical Recycling. The applications could reduce the petroleum resins extraction. They were designed to upcycle waste and create raw materials for the next production. Biological and technical materials could be separated and continuously remanufactured in the production cycle without reducing the quality and value of the raw material. However, there was no evidence on the effective post-consumer management system. This might lead to increasing waste and new type of waste instead. The study also revealed the case studies presenting the applications of the final cycle of the circular economy in which only employed the recycling materials that could not reduce the resources consumption and the extraction of plastic from petroleum. The applications were operated in the projects namely (1) Upcycling the Oceans, Thailand (2) Projects under the Concept of Circular Living (3) Upcycling Plastic Waste Project (4) Innovations on Recycled Plastic Road (5) Waste to Wealth and (6) Recycling Plastic Packaging Project. To achieve the sustainability of the circular economy applications, a system of handling and sorting of post-consumer waste should be created by collaborating with government, producers and consumers, so that materials could be brought back into the production cycle continuously. The government should issue regulations or laws that support the concrete applications of the circular economy and design an efficient and effective household waste collection and management system. In addition, the private and manufacturing sectors should consider the eco-effectiveness (Do More Good) rather than the eco-efficiency (Do Less Bad). This will lead to business model that does not affect the community and the environment. Then the shortage of resources, pollution and waste problems could be reduced. And finally, the plastics industry in Thailand will achieve the sustainability.