ท่าทีของประเทศไทยในการพิจารณาบรรจุสาร PFOA ภายใต้การประชุมรัฐภาคีแห่งอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ
Thailand’ Position on the listing of PFOA in Convention on the Meeting of the Conference of the Parties to the Rotterdam Convention
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาหลักการ แนวคิด ในการควบคุมสารเคมี วัตถุอันตราย และหลักการ แนวคิด เกี่ยวกับการควบคุมสารเคมีภายใต้อนุสัญญารอตเตอร์ดัม ศึกษาการดำเนินการให้บรรลุผลของพันธกรณีตามอนุสัญญารอตเตอร์ดัมของประเทศไทย ในประเด็นกฎหมายและกระบวนการพิจารณาขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสาร PFOA วิเคราะห์ความสอดคล้องของกฎหมายไทย ตลอดจนกระบวนการพิจารณาขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับหลักการและแนวคิดตามอนุสัญญารอตเตอร์ดัม ในประเด็นการควบคุมสาร PFOA เพื่อเสนอร่างท่าทีไทยในการพิจารณาบรรจุรายชื่อสาร PFOA ภายใต้การประชุมรัฐภาคีแห่งอนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ โดยใช้การวิจัยเอกสารเป็นหลัก ซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้ ผู้วิจัยจะค้นคว้าและรวบรวมจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ อนุสัญญาสตอกโฮล์มอนุสัญญารอตเตอร์ดัมบทบัญญัติกฎหมายของประเทศไทย ทั้งระดับพระราชบัญญัติและกฎหมายลำดับรอง และจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ หนังสือ ตํารา บทความในวารสารวิชาการ เอกสารประกอบการประชุม รายงานการวิจัย เอกสารที่เผยแพร่อย่างเป็นทางการของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากเว็บไซต์ของหน่วยงานที่น่าเชื่อถือของประเทศไทยและต่างประเทศ นอกจากนี้ ผู้วิจัยจะดำเนินการเก็บข้อมูลสถานการณ์การควบคุมสาร PFOA ของประเทศไทย โดยใช้รูปแบบการเข้าร่วมประชุมในการประชุมคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาการควบคุมสาร PFOA ของประเทศไทย ผลจากการศึกษา พบว่า หลักการ แนวคิด ในการควบคุมสารเคมี วัตถุอันตราย คือ หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน หลักการระวังไว้ก่อน และหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งหลักการเหล่านี้ ได้ถูกนำมาใช้เป็นหลักการพื้นฐานในการควบคุมสารเคมี วัตถุอันตรายภายใต้การดำเนินงานตามพันธกรณีของอนุสัญญารอตเตอร์ดัมและกฎหมายภายในประเทศ คือ พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 โดยประเทศไทยในฐานะภาคีสมาชิกอนุสัญญารอตเตอร์ดัมใช้เป็นกฎหมายหลักในการดำเนินการตามพันธกรณีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมในการควบคุมสารเคมีอันตราย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยอยู่ระหว่างการดำเนินการควบคุมสาร PFOA ตามกระบวนการตัดสินใจของประเทศ ตามหลักการการมีส่วนร่วมของประชาชน นอกจากนี้ พบว่า ทิศทางการดำเนินงานในอนาคตของประเทศไทยที่จะบรรลุความสำเร็จในการดำเนินงานตามพันธกรณีอนุสัญญา ได้แก่ การเตรียมจัดทำท่าทีของประเทศไทยในพิจารณาบรรจุสาร PFOA ภายใต้การประชุมรัฐภาคีแห่งอนุสัญญารอตเตอร์ดัม สมัยที่ 10 ปี 2565 พัฒนาความพร้อมของประเทศเพื่อควบคุม ลด เลิก การใช้สาร PFOA และการแจ้งใช้มาตรการด้านกฎระเบียบขั้นสุดท้ายภายหลังที่ควบคุมสาร PFOA เป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 4 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 จากผลการศึกษา ผู้วิจัยขอเสนอร่างท่าทีของประเทศไทยในการพิจารณาบรรจุสาร PFOA ภายใต้การประชุมรัฐภาคีแห่งอนุสัญญารอตเตอร์ดัมที่สมควรตามการดำเนินการมาตรการด้านกฎหมายและด้านบริหารของประเทศไทย 3 รูปแบบ คือ ท่าทีชั่วคราว (อยู่ระหว่างการพิจารณาตัดสินใจควบคุม) ยินยอมให้นำเข้าแบบมีเงื่อนไข (วัตถุอันตรายชนิดที่ 3) และไม่ยินยอมให้นำเข้า(วัตถุอันตรายชนิดที่ 4) โดยประเทศไทยมีท่าทีสนับสนุนการบรรจุสาร PFOA ในภาคผนวก III ของอนุสัญญารอตเตอร์ดัม ตามที่คณะกรรมการ CRC พิจารณาตามหลักเกณฑ์การบรรจุสารเคมีของอนุสัญญา เพื่อให้สาร PFOA เข้าอยู่ในกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าเพื่อการควบคุมการนำเข้า การใช้สารให้มีความปลอดภัยต่อสุขภาพออนามัยและสิ่งแวดล้อม โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมควบคุมมลพิษ สามารถนำไปเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณากำหนดเป็นท่าทีของประเทศไทยในการประชุมรัฐภาคีแห่งอนุสัญญารอตเตอร์ดัมสมัยที่ 10 ปี 2565
The objectives of this research are to study the principles and concepts of the control of chemical and hazardous substance and the control of the chemical under the Rotterdam Convention; moreover, this research also aims to deal with the Thailand’s implementation of the Rotterdam Convention’s obligations on legal issues and procedural review related to the control of PFOA, which is supposed to be consistent with Thai’s law, as well as the organizational review related to the principles and concepts of the Rotterdam Convention. In order to seek for the PFOA control, this research finally plans to recommend a draft of Thailand’ Position on the listing of PFOA in Convention on the Meeting of the Conference of the Parties to the Rotterdam Convention. The research applies the documentary research collecting from primary sources such as the Stockholm Convention, the Rotterdam Convention, the legal provisions of Thailand, both at the statutory and secondary level and from secondary sources such as books, textbooks, articles in academic journals, the meeting documents and the research reports has official published documents of government and private sectors. as well as electronic data from the websites of reliable agencies in Thailand and abroad. In addition, the researcher will collect information on the situation of PFOA control in Thailand by using the form of attendance in the sub-committee meetings related to Thailand's the PFOA control considerations. According to the study, it is revealed that the principles and concepts of the control of chemical and hazardous substance are based upon sustainable development , precautionary principle , and public participation which have been used as a fundamental principle in chemical control hazardous substances under the implementation of the Rotterdam Convention and Thailand’s national law, the Hazardous Substances Act 1992. Thailand, as a state party to the Rotterdam Convention, has implemented the Hazardous Substances Act of 1992 in accordance with the Rotterdam Convention's obligations and also with the country's decision-making process. The Thailand’s future direction for proceeding to achieve any success in the implementation of the Convention’s obligations should begin with preparing Thailand's position at the tenth Meeting of the Conference of the Parties to the Rotterdam Convention in 2022 and improving the country’s availability to control, reduce, eliminate the use of PFOA and notification of final regulatory measures after the control of PFOA as a type 4 hazardous substance in accordance with the Hazardous Substance Act B.E. 2535 (1992) As found, the research provides some recommendations to prepare a draft of Thailand’ Position on the listing of PFOA in Convention on the Meeting of the Conference of the Parties to the Rotterdam Convention appropriately in order to implement three forms upon Thailand’s legal and administrative measures. Firstly, Thailand shall prepare its interim response, under consideration of the control decision, to give its consent to import only with special condition (Hazardous Substance Type 3), and also not to give its consent to import (Hazardous Substance Type 4). Thailand has supported the inclusion of PFOA in Annex III of the Rotterdam Convention, as the CRC committee considers with the criteria to allow PFOA to be included in the Prior Informed Consent Procedure for import controls and the use of substances is safe for health and environment. The Pollution Control Department shall finally play a role in presenting the Cabinet considerations of Thailand's position at the tenth Meeting of the Conference of the Parties to the Rotterdam Convention in 2022.