Menu
กลับสู่หน้าหลัก
ปีที่เผยแพร่
หมวดหมู่
ผู้แต่ง
Author
ชื่อเรื่อง
การประเมินโครงการ Green Bangkok 2030 ของกรุงเทพมหานคร
Title
Assessment of Bangkok's Green Bangkok 2030 Project
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ ชื่อรายงานการค้นคว้าอิสระ การประเมินโครงการ Green Bangkok 2030 ของกรุงเทพมหานคร ชื่อผู้เขียน นางสาวดวงใจ วรรณมณี ชื่อปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) ปีการศึกษา 2563 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการ Green Bangkok 2030 ของกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร สอดคล้องตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556 - 2575) เพื่อเสนอแนวทางการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร สามารถนำไปขยายผล ผลักดันปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ ในปัจจุบัน โดยข้อมูลในการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ การรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประเมินผลนโยบายการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร ทำการศึกษาสวนสาธารณะของกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1) สวนสันติพร พื้นที่เขตพระนคร 2) สวนปิยะภิรมย์ พื้นที่เขตบางกะปิ และ 3) สวนวนาภิรมย์ร่มเกล้า พื้นที่เขตลาดกระบัง ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ผู้ศึกษาให้เป็นตัวแทนของเขตพื้นที่ ชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ตามลำดับ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตการณ์เป็นเครื่องมือในการศึกษา นำข้อมูลเหล่านี้มาประเมินผลโครงการ Green Bangkok 2030 ของกรุงเทพมหานคร การประเมินผลได้ประยุกต์กรอบการประเมินของ Balanced Scorecard: BSC ครอบคลุม 4 มิติ ได้แก่ มิติด้านประสิทธิผลมิติด้านผู้มีส่วนได้เสีย มิติด้านกระบวนการภายใน และมิติด้านการเรียนรู้และพัฒนา พร้อมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อนโยบายการเพิ่มพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพมหานคร โดยใช้เทคนิค SWOT Analysis และ TOWS Matrix ผลการศึกษาพบว่า 1) มิติด้านประสิทธิผล ประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด จำนวน 3 ตัวชี้วัด ตามสัดส่วนค่าถ่วงน้ำหนัก พบว่า จำนวนพื้นที่สีเขียวต่อประชากรของกรุงเทพมหานคร มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และพื้นที่สีเขียวนำร่องกระจายครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากเป็นพื้นที่นำร่อง เพียง 11 โครงการ จึงยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 50 เขต ผลการประเมิน จึงจัดอยู่ในระดับน้อย ทั้งนี้การดำเนินการก่อสร้างสวนสาธารณะโครงการนำร่องเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด และผลการประเมินจึงจัดอยู่ในระดับมาก ซึ่งผลการประเมินภาพรวมทั้งมิติอยู่ในระดับดี 2) มิติด้านผู้มีส่วนได้เสีย ผลการประเมินอยู่ในระดับดี 3) มิติด้านกระบวนการภายใน ผลการประเมินอยู่ในระดับดี และ 4) มิติด้านการเรียนรู้และพัฒนา ผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก จุดแข็งของการดำเนินการคือ ผู้บริหารทุกระดับของกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญกับการเพิ่มพื้นที่สีเขียว มีการจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้างสวนสาธารณะใหม่ บุคลากรมีความรู้ความสามารถ จุดอ่อน คือ ขาดการกำหนดวิธีการทำงานไปยังผู้ปฏิบัติงานในระดับสำนักงานเขตที่ชัดเจน บุคลากรและวัสดุอุปกรณ์ในการดูแลบำรุงรักษาไม่เพียงพอต่อจำนวนสวนสาธารณะที่เพิ่มขึ้น โอกาส ควรผลักดันให้รัฐบาลออกนโยบายด้านการสนับสนุนการเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยตรงเช่น การกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ อุปสรรค คือ การไล่ผู้รุกออกจากพื้นที่ทำได้ยากใช้เวลานาน ดังนั้นจึงควรมี การประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว เร่งดำเนินการก่อสร้างสวนสาธารณะนำร่องให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนด ให้เห็นผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น ส่งผลกระตุ้นให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เห็นความสำคัญของพื้นที่สีเขียว เชิญชวนมอบพื้นที่ว่างเปล่าเข้าร่วมโครงการ Green Bangkok 2030 ของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้เกิดสวนสาธารณะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องคลอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร
Abstract
ABSTRACT Title of Independent Study Assessment of Bangkok's Green Bangkok 2030 Project Author Miss Duangjai Wannamanee Degree Master of Science (Environmental Management) Year 2020 The purposes of this study were to evaluate the implementation of the Green Bangkok 2030 project in Bangkok by studying the efficiency and effectiveness of the operation to increase the green area of Bangkok in accordance with the 20-year Bangkok Development Plan (2013-2032) and to propose guidelines for increasing the green area of Bangkok. Literature review related to the evaluation of the policy to increase the green area of Bangkok was conducted. Three public parks in Bangkok, namely 1) Santiphon Park, Phra Nakhon area, 2) Piyaphirom Park. Bangkapi area and 3) Wanapirom Romklao Park Lat Krabang Area which is a representative of the inner, middle and outer areas, respectively were surveyed, Interview and observation forms are used as tools for this study. Balanced Scorecard: BSC was employed which has four dimensions: The Effectiveness, Stakeholder, Internal Process and Learning and development dimensions. The factors affecting the policy of increasing the green area of Bangkok by using SWOT Analysis and TOWS Matrix Techniques were analyzed. The results of the study showed that 1) the effectiveness consisting of three indicators, proportional weight, showed that the number of green areas per population of Bangkok eleven is at a high level. The pilot green areas spread over the Bangkok area however it is only eleven pilot areas which do not cover all 50 districts, so the assessment result is at a low level. However, the construction of the pilot project park is within the specified period. therefore, the assessment result is rated at a high level. The overall dimensional assessment results were at a good level 2) The assessment of stakeholder dimension is at a good level. 3) The assessment of internal process dimension is at a good level and 4) The assessment of learning and development dimension is at a very good level. Which are executives at all levels of Bangkok who pay attention to increases green areas. the budget was allocated for the construction of a new park. personnel are knowledgeable and competent. Weakness have a lack of a clearly defined work method for operators at the district office level, inadequate maintenance equipment for the increasing number of parks. The government interfere should push to policies to support the increase of green spaces, such as making it a national agenda. The obstacle is to fire the intruders. Which it is very difficult and take a long time. Public relations to government agencies, the private sector and the public sector should take part in increasing green areas, accelerate the construction of pilot parks to complete according to the specified goal to see more concrete results as a result, it encourages government agencies, the private sector and the public sector play much attention to the importance of green spaces, invite to donate empty spaces to join the Bangkok's Green Bangkok 2030 project and create a park for continuously covering the Bangkok area.