แนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะร่วมกับชุมชน เพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) ในพื้นที่โครงการแก้มลิง ตามแนวพระราชดำริบึงกุ่ม
Public Spaces Development Guidelines with Community to Encourage Smart Living in the Area of Bung Kum Retarding Basin (Kaem Ling Project)
การค้นคว้าอิสระแนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะร่วมกับชุมชน เพื่อส่งเสริมการดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) ในพื้นที่โครงการแก้มลิงตามแนวพระราชดำริบึงกุ่ม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค ในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้เกิดประโยชน์กับประชาชนและสิ่งแวดล้อม 3) เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกที่ส่งเสริมการดำรงชีวิตอัจฉริยะ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ได้ทำการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ จากหน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชน รวมทั้งสิ้น 10 ท่าน ร่วมกับการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participation) รวมถึงศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มาวิเคราะห์สภาพปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาพื้นที่ ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความสำเร็จและความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ และแนวทางการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์กับชุมชน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันมีประชาชนเข้าไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่น้อยมาก ทั้งประชาชนในชุมชนรอบ ๆ โครงการ หรือประชาชนจากภายนอก กิจกรรมส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในพื้นที่คือการจับสัตว์น้ำไปบริโภค และกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจของครอบครัวที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ เนื่องจากบริเวณสวนป่ารอบโครงการแก้มลิงตามแนวพระราชดำริบึงกุ่มยังไม่ได้รับการพัฒนาเป็นสวนสาธารณะที่มีระบบความปลอดภัย และมีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานที่เหมาะสมกับการออกกำลังกายและทำกิจกรรมนันทนาการ ประกอบกับมีชุมชนบุกรุกเข้าไปอยู่อาศัยในพื้นที่ ทำให้ประชาชนที่ต้องการเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกิดความกังวลในเรื่องความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาพื้นที่มีอยู่ 3 ประเด็นหลัก คือ 1) เข้าถึงพื้นที่ได้ยาก และขาดสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสม 2) การจัดการพื้นที่ที่ถูกบุกรุกและครอบครอง เพื่อการอยู่อาศัย และ 3) ขาดนโยบายที่ชัดเจน และงบประมาณสนับสนุน ดังนั้นแนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน ประการแรกควรสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและคนในชุมชนก่อน ถัดมาจึงเป็นเรื่องการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา และเส้นทางสัญจร เป็นต้น อย่างไรก็ตามการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกที่ส่งเสริมการดำรงชีวิตอัจฉริยะ ควรคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมในอนาคต ซึ่งสามารถดำเนินการควบคู่ไปกับการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน เช่น การติดตั้งเสาไฟฟ้าโซล่าเซลล์ การออกแบบทางเดินตามหลักอารยสถาปัตย์ที่เหมาะสมกับคนทุกวัย โดยเฉพาะเด็ก ผู้พิการ และผู้สูงอายุ เพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยที่กำลังเพิ่มมากขึ้น ก็จะเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่และประชาชนในอนาคต
The objectives of the independent study entitled “Public Spaces Development Guidelines with Community to Encourage Smart Living in the Area of Bung Kum Retarding Basin (Kaem Ling Project)” were 1) to study problems and obstacles in the development of public spaces 2) to study the guidelines for public spaces development to benefit the people and the environment 3) to find ways to develop facilities that encourage smart living. This study is qualitative research. The data was collected through interviews with stakeholders in the area, including government agencies and the public sector for ten people, together with non-participant observation and studying related documents and research. The results were analyzed based on the problems and obstacles, the contributing factors to success and cooperation, and guidelines for the area development to benefit the community. The results showed very few people who use the public space in the study area, either people in the surrounding community or people from outside. Most of the activities that occur in the area are catching fish for consumption and recreational activities for families who live in the area. The area around the Bung Kum Retarding Basin (Kaem Ling Project) has not been developed into a public park with a safety system and lack of basic facilities suitable for exercise and recreational activities. In addition, there were invading communities to live in the area, causing people who want to use the place to be concerned about safety in life and property. There are three major problems and obstacles in the development of the study area: 1) difficult access to the area and lack of appropriate facilities, 2) management of compromised and occupied areas for residential purposes, and 3) lack of clear policies and support budget. Therefore, the public areas development guidelines for the most significant benefit to the community should start with the cooperation between government agencies and people living in the community. Next, there is the development of various facilities that are the basis for living, such as electricity, water supply, roads, etc. However, the development of facilities that support smart living should be considered the changes in social conditions in the future. This can be done in parallel with the construction of basic facilities, for example, the installation of photovoltaic poles, the design of corridors according to civilization principles that are suitable for all, especially children, disabled persons, and elders, to support the increase of the aging society, which will benefit the area and people in the future.